12-04-2015, 11:18 AM
การใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และสารปรับปรุงดิน เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน
พีรพงษ์ เชาวนพงษ์, สมบูรณ์ ประภาพรรณพงศ์, ศรีสุดา รื่นเจริญ, รัฐกร สืบคำ และทิวาพร ผดุง
กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
พีรพงษ์ เชาวนพงษ์, สมบูรณ์ ประภาพรรณพงศ์, ศรีสุดา รื่นเจริญ, รัฐกร สืบคำ และทิวาพร ผดุง
กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
ศึกษาการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และสารปรับปรุงดิน เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 7 กรรมวิธีคือ (1) ไม่มีการให้ปุ๋ย (2) ให้ปุ๋ย 20-5-5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) (3) ให้ปุ๋ยอินทรีย์ (1 ตัน/ไร่) (4) ให้ปุ๋ย 10-2.5-2.5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) + ปุ๋ยอินทรีย์ (500 กิโลกรัม/ไร่) (5) ให้ปุ๋ย 16-4-4 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) + ปุ๋ยอินทรีย์ (500 กิโลกรัม/ไร่) (6) ให้ปุ๋ย 20-0-5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) + ปุ๋ยชีวภาพจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต (7) ให้ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 20-5-5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) ที่แปลงเกษตรกรใน จ.กาญจนบุรี ผลการทดลองพบว่า การให้ปุ๋ย 20-0-5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) + ปุ๋ยชีวภาพจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต ให้น้ำหนักฝักอ่อนสดทั้งเปลือกสูงสุดเฉลี่ยเท่ากับ 2,735.2 กิโลกรัม/ไร่ แตกต่างทางสถิติกับไม่มีการให้ปุ๋ย ที่ให้น้ำหนักฝักอ่อนสดทั้งเปลือกต่ำสุดเฉลี่ยเท่ากับ 1,539.0 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับการใช้ปุ๋ย 16-4-4 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) + ปุ๋ยอินทรีย์ (500 กิโลกรัม/ไร่), 20-5-5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่), 10-2.5-2.5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) + ปุ๋ยอินทรีย์ (500 กิโลกรัม/ไร่) , ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 20-5-5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) และปุ๋ยอินทรีย์ (1 ตัน/ไร่) ให้น้ำหนักฝักอ่อนสดทั้งเปลือกเฉลี่ยเท่ากับ 2529.5, 2236.2, 2196.2, 2186.7 และ 1758.1 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ และมีแนวโน้มให้น้ำหนักฝักอ่อนสดปอกเปลือกสูงสุดเฉลี่ยเท่ากับ 341.0 กิโลกรัม/ไร่ รองลงมาคือ การให้ปุ๋ย 16-4-4 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) + ปุ๋ยอินทรีย์ (500 กิโลกรัม/ไร่), ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 20-5-5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่), 20-5-5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) , 10-2.5-2.5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) + ปุ๋ยอินทรีย์ (500 กิโลกรัม/ไร่), ปุ๋ยอินทรีย์ (1 ตัน/ไร่) และไม่มีการให้ปุ๋ย ให้น้ำหนักฝักอ่อนสดปอกเปลือกเฉลี่ยเท่ากับ 301.0, 293.3, 293.3, 281.9, 221.0 และ 198.1 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ
ด้านผลตอบแทนและความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจพบว่า การให้ปุ๋ย 20-0-5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) + ปุ๋ยชีวภาพจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต มีรายได้สุทธิสูงสุดเท่ากับ 7,478 บาท รองลงมาได้แก่ การให้ปุ๋ย 20-5-5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่), ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 20-5-5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่), ปุ๋ย 16-4-4 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) + ปุ๋ยอินทรีย์ (500 กิโลกรัม/ไร่), ไม่มีการให้ปุ๋ย, ปุ๋ย 10-2.5-2.5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) + ปุ๋ยอินทรีย์ (500 กิโลกรัม/ไร่) และปุ๋ยอินทรีย์ (1 ตัน/ไร่) มีรายได้สุทธิเท่ากับ 5,730, 5,454, 5,307, 4,617, 4,599 และ 2,274 บาท ตามลำดับ