คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และสารปรับปรุงดิน - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: การใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และสารปรับปรุงดิน (/showthread.php?tid=676)



การใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และสารปรับปรุงดิน - doa - 12-04-2015

การใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และสารปรับปรุงดิน เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน
พีรพงษ์ เชาวนพงษ์, สมบูรณ์ ประภาพรรณพงศ์, ศรีสุดา รื่นเจริญ, รัฐกร สืบคำ และทิวาพร ผดุง
กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          ศึกษาการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และสารปรับปรุงดิน เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 7 กรรมวิธีคือ (1) ไม่มีการให้ปุ๋ย (2) ให้ปุ๋ย 20-5-5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) (3) ให้ปุ๋ยอินทรีย์ (1 ตัน/ไร่) (4) ให้ปุ๋ย 10-2.5-2.5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) + ปุ๋ยอินทรีย์ (500 กิโลกรัม/ไร่) (5) ให้ปุ๋ย 16-4-4 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) + ปุ๋ยอินทรีย์ (500 กิโลกรัม/ไร่) (6) ให้ปุ๋ย 20-0-5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) + ปุ๋ยชีวภาพจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต (7) ให้ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 20-5-5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) ที่แปลงเกษตรกรใน จ.กาญจนบุรี ผลการทดลองพบว่า การให้ปุ๋ย 20-0-5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) + ปุ๋ยชีวภาพจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต ให้น้ำหนักฝักอ่อนสดทั้งเปลือกสูงสุดเฉลี่ยเท่ากับ 2,735.2 กิโลกรัม/ไร่ แตกต่างทางสถิติกับไม่มีการให้ปุ๋ย ที่ให้น้ำหนักฝักอ่อนสดทั้งเปลือกต่ำสุดเฉลี่ยเท่ากับ 1,539.0 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับการใช้ปุ๋ย 16-4-4 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) + ปุ๋ยอินทรีย์ (500 กิโลกรัม/ไร่), 20-5-5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่), 10-2.5-2.5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) + ปุ๋ยอินทรีย์ (500 กิโลกรัม/ไร่) , ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 20-5-5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) และปุ๋ยอินทรีย์ (1 ตัน/ไร่) ให้น้ำหนักฝักอ่อนสดทั้งเปลือกเฉลี่ยเท่ากับ 2529.5, 2236.2, 2196.2, 2186.7 และ 1758.1 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ และมีแนวโน้มให้น้ำหนักฝักอ่อนสดปอกเปลือกสูงสุดเฉลี่ยเท่ากับ 341.0 กิโลกรัม/ไร่ รองลงมาคือ การให้ปุ๋ย 16-4-4 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) + ปุ๋ยอินทรีย์ (500 กิโลกรัม/ไร่), ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 20-5-5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่), 20-5-5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) , 10-2.5-2.5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) + ปุ๋ยอินทรีย์ (500 กิโลกรัม/ไร่), ปุ๋ยอินทรีย์ (1 ตัน/ไร่) และไม่มีการให้ปุ๋ย ให้น้ำหนักฝักอ่อนสดปอกเปลือกเฉลี่ยเท่ากับ 301.0, 293.3, 293.3, 281.9, 221.0 และ 198.1 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ

         ด้านผลตอบแทนและความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจพบว่า การให้ปุ๋ย 20-0-5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) + ปุ๋ยชีวภาพจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต มีรายได้สุทธิสูงสุดเท่ากับ 7,478 บาท รองลงมาได้แก่ การให้ปุ๋ย 20-5-5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่), ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 20-5-5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่), ปุ๋ย 16-4-4 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) + ปุ๋ยอินทรีย์ (500 กิโลกรัม/ไร่), ไม่มีการให้ปุ๋ย, ปุ๋ย 10-2.5-2.5 (N-P2O5-K2O กิโลกรัม/ไร่) + ปุ๋ยอินทรีย์ (500 กิโลกรัม/ไร่) และปุ๋ยอินทรีย์ (1 ตัน/ไร่) มีรายได้สุทธิเท่ากับ 5,730, 5,454, 5,307, 4,617, 4,599 และ 2,274 บาท ตามลำดับ