10-12-2022, 10:40 AM
ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 3
อัจฉรา จอมสง่าวงศ์, อารดา มาสริ, เชาวนาถ พฤทธิเทพ, ชูชาติ บุญศักดิ์, ปวีณา ไชยวรรณ์, วิลัยรัตน์ แป้นแก้ว, ศมิษฐา แม้นเหมือน, กัญญรัตน์ จำปาทอง, เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง, นิภาภรณ์ พรรณรา, สุมนา จำปา, เบญจมาศ คำสืบ, ฉลอง เกิดศรี และจิราลักษณ์ ภูมิไธสง
ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท, สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบูรณ์, ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชเชียงใหม่, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา และศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น
คำหลัก: ถั่วเขียว ปรับปรุงพันธุ์ การกลายพันธุ์ เครือข่ายผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์
อัจฉรา จอมสง่าวงศ์, อารดา มาสริ, เชาวนาถ พฤทธิเทพ, ชูชาติ บุญศักดิ์, ปวีณา ไชยวรรณ์, วิลัยรัตน์ แป้นแก้ว, ศมิษฐา แม้นเหมือน, กัญญรัตน์ จำปาทอง, เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง, นิภาภรณ์ พรรณรา, สุมนา จำปา, เบญจมาศ คำสืบ, ฉลอง เกิดศรี และจิราลักษณ์ ภูมิไธสง
ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท, สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบูรณ์, ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชเชียงใหม่, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา และศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น
ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 3 เป็นถั่วเขียวผิวมันสายพันธุ์กลายที่คัดได้จากถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 36 ที่ผ่านการฉายรังสีแกมมาอัตรา 400 เกรย์ คัดเลือกและประเมินพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ระหว่างปี 2548 - 2561 เป็นถั่วเขียวผิวมันที่ให้ผลผลิตสูง มีขนาดเมล็ดใหญ่ ให้ผลผลิต 232 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 36 และชัยนาท 72 ร้อยละ 13 และ 6 ตามลำดับ น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 72.2 กรัม ผลผลิตและคุณภาพแป้งเหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นวุ้นเส้น โดยให้เปอร์เซ็นต์แป้ง 58.37 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 36 และชัยนาท 72 ร้อยละ 4 มีค่าความเหนียวหนืดของน้ำแป้งสุกเหนียวมาก เท่ากับ 925 B.U. วุ้นเส้นสดมีคุณภาพดี สีขาวใส และเหนียวนุ่ม ให้ผลผลิตถั่วงอกสูง อัตราการเพาะถั่วงอกเท่ากับ 1:5.7 ถั่วงอกมีคุณภาพดี รสชาติหวาน กรอบ และไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว นอกจากนี้ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 3 ยังมีลักษณะการสุกแก่ของฝักสม่ำเสมอใกล้เคียงกัน ทำให้เป็นที่ยอมรับของเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเขียว ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 3 ได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562 โดยในปี 2562 - 2564 ได้ขยายผลการใช้ประโยชน์ไปสู่เครือข่ายผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์และเกษตรกรสามารถนำไปปลูกในพื้นที่รวม 83,700 ไร่ ได้ผลผลิตถั่วเขียว จำนวน 11,878 ตัน สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร 297 ล้านบาท เป็นแนวทางให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเอง และเสริมสร้างระบบการผลิตที่ยั่งยืนต่อไป
คำหลัก: ถั่วเขียว ปรับปรุงพันธุ์ การกลายพันธุ์ เครือข่ายผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์