การวิจัยและพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
#1
การวิจัยและพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของไทย
สุธีรา ถาวรรัตน์, สุชาดา โภชาดม, จินตนาพร โคตรสมบัติ, สญชัย ขวัญเกื้อ, สมคิด ดำน้อย, อัญชลี ม่านทอง, สุพินยา จันทร์มี, อัจฉรา ทองสวัสดิ์, วิริยา ประจิมพันธุ์, บรรเจิด พูลศิลป์, ภาวินี คามวุฒิ, จิตติลักษณ์ เหมะ, อุดมพร เสือมาก, พงษ์มานิตย์ ไทยแท้ และสุรกิตติ ศรีกุล
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย, ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุราษฎร์ธานี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครศรีธรรมราช, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพังงา, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรระนอง, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ และสำนักผู้เชี่ยวชาญ กรมวิชการเกษตร

          การวิจัยและพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ดำเนินการวิจัยระหว่างปี 2559 ถึง 2564 ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบองค์ความรู้การผลิตปาล์มน้ำมัน สำรวจสถานการณ์การเกิดโรคโคนเน่าจากเชื้อ Ganoderma sp. สำรวจปัจจัยของการผลิตปาล์มน้ำมันแบบยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และจัดทำรูปแบบการขยายผลองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับการผลิตปาล์มน้ำมันในพื้นที่ พบว่าการจัดปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ใบร่วมกับการจัดการสวนที่เหมาะสมตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ยและรายได้สุทธิเฉลี่ยสูง 4,492 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี และ 13,165 บาทต่อไร่ต่อปี ตามลำดับ สถานการณ์การเกิดโรคโคนเน่าในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนร้อยละ 39.53 เกิดในปาล์มน้ำมันอายุมากกว่า 20 ปีหลังปลูก หรือร้อยละ 67.19 ในปาล์มน้ำมันอายุ 16 ปีหลังปลูกขึ้นไป และพบการเกิดโรคมากที่สุดร้อยละ 33.83 ในพื้นที่ปลูกมะพร้าวเดิมและปัจจัยที่มีผลผลักดันให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ต้องการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือ การมีส่วนร่วมในการลดการทำลายสิ่งแวดล้อม (ลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้สารเคมี เป็นต้น) และต้องการความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (ผลผลิตสูง ต้นทุนต่ำ มีรายได้เพิ่มจากการขายคาร์บอนเครดิต เป็นต้น) และจากการจัดทำรูปแบบการขยายผลองค์ความรู้การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมร่วมกับองค์กรสนับสนุน GIZ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันสาคัญของไทยพบว่า หลักสูตร TOPSA มีประสิทธิภาพในการขยายผลร่วมกับการสร้างเกษตรกรต้นแบบและแปลงต้นแบบในพื้นที่เป็นการเปิดโอกาสการเรียนรู้เทคโนโลยีที่ถูกต้องสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ สร้างมั่นคงทางเศรฐกิจ พลังงาน สังคม และสิ่งแวดล้อมให้กับห่วงโซ่การผลิตและการใช้น้ำมันปาล์มน้ำมันของไทยได้อย่างยั่งยืน

คำสำคัญ: ธาตุอาหาร โรคกาโนเดอร์มา การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หลักสูตรพัฒนาความรู้เกษตรกรรายย่อยปาล์มน้ำมันของประเทศไทย คาร์บอนเครดิต


ไฟล์แนบ
.pdf   การวิจัยและพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf (ขนาด: 535.31 KB / ดาวน์โหลด: 536)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม