การปรับปรุงพันธุ์อ้อยชนิดใหม่เพื่อผลผลิตชีวมวลสูง
#1
การปรับปรุงพันธุ์อ้อยชนิดใหม่เพื่อผลผลิตชีวมวลสูงภายใต้สภาพแวดล้อมที่จำกัดโดยใช้เชื้อพันธุกรรมอ้อยป่า
วีระพล พลรักดี, อัมราวรรณ ทิพยวัฒน์, ทักษิณา ศันสยะวิชัย และแสงเดือน ชนะชัย

        อ้อยป่าในประเทศไทยเป็นแหล่งเชื้อพันธุกรรมที่น่าสนใจและน่านำมาพัฒนาการผลิตอ้อยและการปรับตัวในสภาพแวดล้อมจำกัด โดยจุดประสงค์ในความร่วมมือของงานวิจัยนี้ เพื่อพัฒนาเทคนิคการปรับปรุงพันธุ์โดยการสร้างลูกผสมจากพันธุ์อ้อยป่าเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในการศึกษานี้ได้เก็บบันทึกลักษณะการเกษตรของเชื้อพันธุกรรม Erianthus ของไทยและคัดเลือกสายพันธุ์ดีเด่นเพื่อใช้เป็นวัสดุหรือเครื่องมือเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยต่อไป

        เนื่องจาก E. arundinaceus มีการออกดอกเร็ว ดังนั้นจึงต้องพัฒนาเทคนิคให้อ้อยป่า E. arundinaceus ออกดอกช้า เพื่อสามารถผสมพันธุ์กับอ้อยพันธุ์การค้าได้ การผสมข้ามสกุล (F1 hybrids) ระหว่างอ้อยพันธุ์การค้าและอ้อยป่า E. arundinaceus ได้พัฒนาขึ้นในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย โดยเบื้องต้นทาการประเมินและจำแนกลักษณะการเกษตรที่ดี และในส่วนของประเทศไทย เราได้คัดเลือกลักษณะที่ดีของอ้อยป่า Erianthus นี้ผสมกับอ้อยพันธุ์การค้าจนได้ลูกผสมชั่วที่ 1

        นอกจากนี้ยังทำการผสมกลับในอ้อยสกุลเดียวกันระหว่างอ้อยพันธุ์พง (Saccharum spontaneum) จนได้ลูกผสมกลับชั่วที่ 1 (BC 1) และลูกผสมกลับชั่วที่ 2 (BC 2) และทำการคัดเลือก ซึ่งข้อมูลและลูกผสมที่ได้จากการพัฒนาในงานวิจัยนี้จะมีความสาคัญในการพัฒนาการผลิตอ้อยและการปรับตัวของอ้อยในสภาพจำกัดของประเทศไทย


ไฟล์แนบ
.pdf   81_2561.pdf (ขนาด: 1.1 MB / ดาวน์โหลด: 2,092)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม