การปรับปรุงพันธุ์อ้อยชนิดใหม่เพื่อผลผลิตชีวมวลสูง - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2561 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=34) +--- เรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์อ้อยชนิดใหม่เพื่อผลผลิตชีวมวลสูง (/showthread.php?tid=2717) |
การปรับปรุงพันธุ์อ้อยชนิดใหม่เพื่อผลผลิตชีวมวลสูง - doa - 06-05-2019 การปรับปรุงพันธุ์อ้อยชนิดใหม่เพื่อผลผลิตชีวมวลสูงภายใต้สภาพแวดล้อมที่จำกัดโดยใช้เชื้อพันธุกรรมอ้อยป่า วีระพล พลรักดี, อัมราวรรณ ทิพยวัฒน์, ทักษิณา ศันสยะวิชัย และแสงเดือน ชนะชัย อ้อยป่าในประเทศไทยเป็นแหล่งเชื้อพันธุกรรมที่น่าสนใจและน่านำมาพัฒนาการผลิตอ้อยและการปรับตัวในสภาพแวดล้อมจำกัด โดยจุดประสงค์ในความร่วมมือของงานวิจัยนี้ เพื่อพัฒนาเทคนิคการปรับปรุงพันธุ์โดยการสร้างลูกผสมจากพันธุ์อ้อยป่าเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในการศึกษานี้ได้เก็บบันทึกลักษณะการเกษตรของเชื้อพันธุกรรม Erianthus ของไทยและคัดเลือกสายพันธุ์ดีเด่นเพื่อใช้เป็นวัสดุหรือเครื่องมือเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยต่อไป
เนื่องจาก E. arundinaceus มีการออกดอกเร็ว ดังนั้นจึงต้องพัฒนาเทคนิคให้อ้อยป่า E. arundinaceus ออกดอกช้า เพื่อสามารถผสมพันธุ์กับอ้อยพันธุ์การค้าได้ การผสมข้ามสกุล (F1 hybrids) ระหว่างอ้อยพันธุ์การค้าและอ้อยป่า E. arundinaceus ได้พัฒนาขึ้นในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย โดยเบื้องต้นทาการประเมินและจำแนกลักษณะการเกษตรที่ดี และในส่วนของประเทศไทย เราได้คัดเลือกลักษณะที่ดีของอ้อยป่า Erianthus นี้ผสมกับอ้อยพันธุ์การค้าจนได้ลูกผสมชั่วที่ 1
นอกจากนี้ยังทำการผสมกลับในอ้อยสกุลเดียวกันระหว่างอ้อยพันธุ์พง (Saccharum spontaneum) จนได้ลูกผสมกลับชั่วที่ 1 (BC 1) และลูกผสมกลับชั่วที่ 2 (BC 2) และทำการคัดเลือก ซึ่งข้อมูลและลูกผสมที่ได้จากการพัฒนาในงานวิจัยนี้จะมีความสาคัญในการพัฒนาการผลิตอ้อยและการปรับตัวของอ้อยในสภาพจำกัดของประเทศไทย
|