วิจัยและพัฒนาเครื่องจักรบดย่อยพืชผักและสมุนไพร
#1
วิจัยและพัฒนาเครื่องจักรบดย่อยพืชผักและสมุนไพร
ศักดิ์ชัย อาษาวัง, เวียง อากรชี, วุฒิพล จันทร์สระคู, อนุชิต ฉ่าสิงห์และประยูร เอ็นมาก

          การวิจัยและพัฒนาเครื่องแยกเมล็ดพริกออกจากเปลือก ได้ต้นแบบเครื่องจักรที่ใช้มอเตอร์ 1 เฟส ขนาด 3 แรงม้า ความเร็วรอบ 1,450 รอบต่อนาที ระบบไฟฟ้า 220 v 50 / 60 Hz เป็นต้นกาลัง ชุดตีแยกเมล็ดเป็นใบตีแยกที่ทาจากเหล็กแบน เจาะรูร้อยบนเพลา 4 เพลาๆ ละ 3 ใบและใบอุ้มลมเพลาละ 1 ใบ ทั้งสี่เพลายึดกับเพลาหลักด้วยเหล็กแบนตัดเป็นวงกลมวางเป็นช่วงจำนวน 3 แผ่น มีตะแกรงรูกลมล้อมรอบชุดใบตีแยกในแนวตั้ง และมีเหล็กแผ่นด้านนอกกั้นเป็นช่องรับเมล็ดที่ถูกตีลอดตะแกรงออกมา ด้านล่างของตะแกรงเป็นช่องรับเปลือก ผลทดสอบพริก 3 พันธุ์ พบว่าเครื่องต้นแบบทางานได้ดีที่ ความเร็วใบตีแยกเมล็ด 41.1 เมตร/วินาที อัตราการป้อน 164 กิโลกรัม/ชั่วโมง และขนาดรูตะแกรง 11.2 มิลลิเมตร โดยมีเมล็ดที่หลุดจากเปลือกแล้วอยู่ในช่องเก็บเมล็ด มีค่า 96.8 (%) 94.6 (%) และ 97.6 (%) สาหรับพริกพันธุ์จินดาแดง พันธุ์อินเดียใหญ่ และพันธุ์เฮ๊ยะโต๋ ตามลาดับ งานวิจัยและพัฒนาเครื่องแยกเมล็ดมะเขือเทศออกจากเปลือก เพื่อการเตรียมเปลือกและเนื้อไปสกัดสารไลโคปีนโดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์ที่จุดเหนือวิกฤตเป็นตัวทาละลาย โดยเครื่องต้นแบบ ประกอบด้วย ถังป้อน ลูกตีแยกเมล็ดแบบทรงกระบอกที่มีใบตีแยกทาจากเหล็กแบนจำนวน 4 แถว มีตะแกรงรูกลมล้อมรอบด้านล่างของลูกตี เพื่อแยกให้เมล็ดตกลงไปที่ช่องรับเมล็ด ส่วนเปลือกและเนื้อถูกลาเลียงไปที่ช่องรับเปลือก ต้นกาลังเป็นมอเตอร์ 3 เฟส ขนาด 3 แรงม้า ทดสอบ 3 ปัจจัย ได้แก่ ความเร็วเชิงเส้นปลายใบตี 5 ระดับ (12.8 17.7 22.5 25.6 และ 27.1 เมตร/วินาที) ระยะห่างแนวดิ่งปลายใบตีกับตะแกรงล่าง 3 ระดับ (10 20 และ 30 มิลลิเมตร) และเส้นผ่าศูนย์กลางรูตะแกรง 2 ระดับ (5 และ 8 มิลลิเมตร) ทดสอบมะเขือเทศ 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ท้อ พันธุ์สีดา และพันธุ์อีเป๋อ ผลการทดสอบพบว่าที่ความเร็วเชิงเส้นปลายใบตี 22.5 เมตร/วินาที รูตะแกรง 8 มิลลิเมตร และระยะห่างแนวดิ่งใบตีกับตะแกรงล่าง 10 และ 20 มิลลิเมตร ทาให้เมล็ดแยกออกจากเปลือกและเนื้อได้ดี ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 82.1 % ถึง 93.1%


ไฟล์แนบ
.pdf   51_2561.pdf (ขนาด: 2.41 MB / ดาวน์โหลด: 6,216)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม