01-17-2019, 10:31 AM
ชีววิทยาและการแพร่ระบาดของกกกระจุก (Cyperus entrerianus Boeckl.)
ศิริพร ซึงสนธิพร, อัณศยา สุริยะวงศ์ตระการ, ธัญชนก จงรักไทย, เอกรัตน์ ธนูทอง และกาญจนา พฤษพันธ์
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักคุ้มครองพันธุ์พืช
ศิริพร ซึงสนธิพร, อัณศยา สุริยะวงศ์ตระการ, ธัญชนก จงรักไทย, เอกรัตน์ ธนูทอง และกาญจนา พฤษพันธ์
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักคุ้มครองพันธุ์พืช
การสำรวจการแพร่กระจายของกกกระจุกในระยะเวลา 1 ปี ได้ทั้งสิ้น 161 แหล่ง พบกกกระจุกเพียง 2 แหล่ง ในพื้นที่ต่ำบลบ้านคลองสวน อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ดินทราย ขึ้นปะปนกับวัชพืชอื่นๆ เจริญเติบโตได้ดี มีแขนงจำนวนมาก สามารถสร้างดอกและเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดเมื่อแก่มีสีน้ำตาล รูปคล้ายกระสวย ปลายมีติ่งแหลม ขนาดเล็ก 0.21-0.27 x 0.42-0.75 มิลลิเมตร เฉลี่ย 0.23 x 0.65 มิลลิเมตร น้ำหนักต่อ 100 เมล็ด มีค่าระหว่าง 0.0011 – 0.0022 มิลลิกรัม เฉลี่ยเท่ากับ 0.0017 มิลลิกรัม การทดสอบการงอกในห้องปฏิบัติการ นาน 1 เดือนยังไม่พบเมล็ดงอก