09-11-2018, 10:02 AM
วัสดุปลูกกล้วยไม้ทดแทนกาบมะพร้าวจากสิ่งเหลือทิ้งทางการเกษตร
พุทธธินันทร์ จารุวัฒน์, บัณฑิต จิตรจำนงค์, สราวุฒิ ปานทน, อัคคพล เสนำณรงค์, สากล วีริยานันท์, คุรุวรรณ์ ภามาตย์, นิวัต อาระวิล, เทียนชัย เหลาลา, อุทัย ธานี, สมมาตร เอี่ยมอุดม, สมส่วน ทองดีนอก และพีรพงษ์ เชาวนพงษ์
ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี, สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม และสำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
พุทธธินันทร์ จารุวัฒน์, บัณฑิต จิตรจำนงค์, สราวุฒิ ปานทน, อัคคพล เสนำณรงค์, สากล วีริยานันท์, คุรุวรรณ์ ภามาตย์, นิวัต อาระวิล, เทียนชัย เหลาลา, อุทัย ธานี, สมมาตร เอี่ยมอุดม, สมส่วน ทองดีนอก และพีรพงษ์ เชาวนพงษ์
ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี, สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม และสำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
กล้วยไม้สกุลหวายตัดดอกมีการผลิตและส่งออกประมาณร้อยละ 90 ของผลผลิตกล้วยไม้ทั้งหมด แต่ปัจจุบันประสบปัญหากาบมะพร้าวซึ่งเป็นวัสดุปลูกเดิมมีราคาสูงขึ้นมากจากพื้นที่ปลูกและผลผลิตที่ลดลง ซึ่งเกิดจากการระบาดของหนอนหัวดำ ด้วงงวงและแมลงดำหนาม งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและทดสอบวัสดุปลูกจากสิ่งเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อนำมาเป็นวัสดุปลูกกล้วยไม้ทดแทนการใช้กาบมะพร้าว นอกจากนั้นในโครงการนี้ได้ทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือสำหรับอัดก้อนวัสดุปลูกทดแทนที่สามารถนำไปใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ ผลการศึกษาได้ว่า ต้นกระถินและทางปาล์มน้ำมันเป็นวัสดุปลูกทดแทนที่มีความเหมาะสม มีคุณสมบัติทางกายภาพดี ให้ธาตุอาหารสูง ต้นกล้วยไม้มีผลตอบสนองต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกที่ดีไม่แตกต่างจากวัสดุปลูกกาบมะพร้าว เครื่องอัดก้อนวัสดุปลูกกล้วยไม้ต้นแบบมีความสามารถในการผลิต 30 ก้อนต่อชั่วโมง ก้อนวัสดุปลูกมีขนาด 22 x 36 x 8 เซนติเมตร สามารถปลูกกล้วยไม้ได้ 4 ต้น และมีอายุการใช้งานมากกว่า 5 ปี ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ในขณะที่กระบะกาบมะพร้าวซึ่งเป็นวัสดุปลูกเดิมมีอายุการใช้งานเพียง 3 ปี