การสร้างประชากรเพื่อใช้ในการสืบค้นยีนโดยใช้เทคนิคชีวโมเลกุลสำหรับคัดเลือกพันธุ์งา
#1
การสร้างประชากรเพื่อใช้ในการสืบค้นยีนโดยใช้เทคนิคชีวโมเลกุลสำหรับคัดเลือกพันธุ์งาต้านทานโรคราแป้ง
จุไรรัตน์ หวังเป็น, สุรีพร เกตุงาม, สมใจ โควสุรัตน์, ธำรง เชื้อกิตติศักดิ์ และสมหมาย วังทอง

          ศึกษาการสร้างประชากรเพื่อใช้ในการสืบค้นยีนโดยใช้เทคนิคชีวโมเลกุลสำหรับคัดเลือกพันธุ์งาต้านทานโรคราแป้ง โดยการสร้างกลุ่มตัวแทนสองกลุ่ม จากการผสมระหว่างงาพันธุ์ต้านทาน (GMUB 1) และงาพันธุ์อ่อนแอ มี 2 พันธุ์ คือ มหาสารคาม 60 และอุบลราชธานี 1 โดยอาศัยข้อมูลจากการประเมินความรุนแรงของการเกิดโรคจากการเข้าทำลายของเชื้อรา Oidium sp นำมาทำการผสมพันธุ์ ผลการทดลองปี 2556 พบว่า จากการประเมินการเกิดโรคราแป้งของลูกผสมชั่วที่ 2 งาคู่ผสมมีระดับความรุนแรงของการเกิดโรคราแป้งมีระดับต้านทานคือ คู่ผสม MK60 x GMUB1  (9.43%) ระดับค่อนข้างต้านทาน คือ คู่ผสม GMUB1 x MK60 (21.43%) และ UB1 x GMUB1 (23.33%) ส่วนคู่ผสม GMUB1 x UB1 (36.99%) ค่อนข้างอ่อนแอ ทั้ง 4 คู่ผสมมีความแตกต่างกันไม่ชัดเจน การทดลอง ปี 2557 ปลูกลูกผสมชั่วที่ 2 ของคู่ผสม 2 คู่ คือ UB1 x MK60 มีระดับอ่อนแอต่อโรคราแป้ง 65.35 เปอร์เซ็นต์ และ MK60 x UB1 มีระดับอ่อนแอต่อโรคราแป้ง 60.21 เปอร์เซ็นต์ ปลูกลูกผสมชั่วที่ 3 คู่ผสม ซึ่งจะนำไปใช้ในการสืบค้นยีนในห้องปฏิบัติการต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   116_2557.pdf (ขนาด: 147.47 KB / ดาวน์โหลด: 440)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม