การวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชในพื้นที่ชลประทาน
#1
การวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชในพื้นที่ชลประทาน
จันทนา ใจจิตร, วิไลวรรณ พรหมคำ, วันชัย ถนอมทรัพย์, สมชาย บุญประดับ, ชวนชื่น เดี่ยววิไล, ธำรง ช่วยเจริญ, พรทิพย์ แพงจันทร์, นิรมล ดำพะธิก และหฤทัย แก่นลา

          การวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในเขตชลประทาน ระหว่างปี พ.ศ.2554 - 2558 มีวัตถุประส่งค์เพื่อศึกษาระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เกษตรกรในเขตชลประทานและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชในพื้นที่ของเกษตรกรในเขตชลประทาน ดังนี้ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน การใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับการใช้ปุ๋ยชีวภาพทำให้ลดต้นทุนในระบบการปลูกพืชได้ร้อยละ 9 - 12 การใช้หัวพันธุ์มันฝรั่งของกรมวิชาการเกษตร ผลผลิตและผลตอบแทนมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร และอัตราผลตอบแทนต่อการลงทุน (Benefit Cost Ratio, BCR) ของกรรมวิธีทดสอบสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรในทุกระบบพืช พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ระบบข้าว - มันเทศถั่วเขียว และระบบข้าวพริกซอสข้าวโพดฝักอ่อนให้ผลตอบแทนมากกว่าการปลูกข้าวมากกว่าร้อยละ 20 ในเขตจังหวัดพิษณุโลกและสุโขทัย ตามลำดับ ส่วนระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานที่มีไม้ผลเป็นพืชหลักที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด คือ การปลูกมะปราง (มะยงชิดพันธุ์ทูลเกล้า) + ชะอม + ผักต่างๆ ให้ผลตอบแทนรวมทั้ง 5 ปี ระหว่าง 9,795 – 41,192 บาท/ไร่ จังหวัดสุโขทัย คือ การปลูกชมพู่พันธุ์ทับทิมจันทร์ + พืชรอง (มะละกอ + เพกา) + ตะไคร้ + พืชผักต่างๆ ให้ผลตอบแทนรวมทั้ง 5 ปี ระหว่าง 52,333 – 126,601 บาท/ไร่ และจังหวัดพิจิตร คือ การปลูกมะนาว + กล้วยหอมทอง + พริกซอส ให้ผลตอบแทนรวมทั้ง 5 ปี 63,110 บาท/ไร่ พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนพบว่า ระบบข้าวถั่วเขียว มีผลตอบแทนน้อยกว่าทุกระบบ แต่เกษตรกรยังมีความต้องการปลูกถั่วเขียว หลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ส่วนระบบข้าวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จะพบปัญหากระทบแล้งในช่วงการออกดอกของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีผลต่อการติดเมล็ดและทำให้ผลผลิตต่ำ และระบบข้าวถั่วลิสง เป็นระบบการปลูกพืชที่เกษตรกรมีความพึงพอใจมากกว่าระบบการปลูกพืชอื่นๆ และการผลิตข้าวโพดฝักสดและมะเขือเทศ ในพื้นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำโขงจังหวัดนครพนม พบว่าการผลิตมะเขือเทศจะให้ผลตอบแทนแก่เกษตรกรสูงกว่าระบบการผลิตข้าวโพดฝักสด พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในพื้นที่ชลประทานโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม พบว่าระบบข้าวถั่วลิส่ง ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งระบบ 9,959.60 บาท/ไร่ สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร ระบบข้าวข้าวนาปรัง ซึ่งได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งระบบ 2,284.60 บาท/ไร่ ซึ่งเกษตรกรมีความพึงพอใจมาก สำหรับระบบข้าวข้าวโพดข้าวเหนียว ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งระบบ 1,908 บาท/ไร่ เกษตรกรมีความพึงพอใจน้อยกว่าระบบข้าวถั่วลิส่ง พื้นที่ภาคกลาง ในพื้นที่ชลประทานโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าทุ่งวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท พบว่าระบบข้าวถั่วเหลืองฝักสด ข้าวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าวถั่วลิส่ง ให้ผลผลิตตอบแทนเฉลี่ยทั้งระบบ 16,597 6,672 และ 11,197 บาท/ไร่ ตามลำดับ มากกว่าระบบข้าวข้าวนาปรังร้อยละ 41.84 43.72 และ 104 ตามลำดับ ส่วนระบบข้าวข้าวโพดฝักสด และข้าวถั่วเขียว ผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งระบบต่ำกว่า 3 ระบบแรก พื้นที่ชลประทานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชัณสูตร จังหวัดสิงห์บุรี พบว่าระบบข้าวข้าวโพดฝักสด ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งระบบ 8,887 - 17,883 บาท/ไร่ มากกว่าระบบข้าวข้าวนาปรังร้อยละ 7.8 - 48.66 ระบบข้าวถั่วเหลืองฝักสด และระบบข้าวถั่วลิส่งให้ผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งระบบ 32,819 และ 20,094 บาท/ไร่ ตามลำดับ ซึ่งมากกว่าระบบข้าวข้าว นาปรัง ร้อยละ 139.3 และ 38.12 ตามลำดับ และระบบการปลูกพืชในพื้นที่อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง พบว่าระบบข้าวข้าวโพดฝักสด ข้าวถั่วเขียว และข้าวถั่วเหลืองฝักสด กรรมวิธีทดสอบทุกระบบให้ผลตอบแทนมากกว่าร้อยละ 50 ดีกว่ากรรมวิธีเกษตรกร เช่นเดียวกับพื้นที่บูรณาการโครงการชลประทานชัยนาท อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ระบบที่นำไปทดสอบ ได้แก่ ระบบข้าว - ถั่วเขียว และข้าวข้าวโพดฝักสดให้ผลตอบแทนมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร ส่วนพื้นที่ชลประทานโครงการชลประทานกำแพงเพชร ตำบลตาขีด อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ พบว่าระบบข้าวถั่วเหลืองฝักสด และระบบข้าวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งระบบ 17,533 และ 10,512 บาท/ไร่ ตามลำดับ ซึ่งมากกว่าระบบข้าวข้าวนาปรังร้อยละ 107.9 และ 29.51 ตามลำดับ พื้นที่ภาคตะวันออก ระบบการปลูกพืชในพื้นที่ไม้ผลเป็นหลัก พบว่าระบบกล้วยไข่ + มังคุด ให้ผลผลิต 870 และ 855 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ และมีรายได้฾ 19,201 และ 25,657 บาท/ไร่ ตามลำดับ มากกว่าการปลูกมังคุดเพียงพืชเดียว 20,686 บาท/ไร่ คิดเป็นร้อยละ 85.58 ส่วนระบบกล้วยไข่ + ลองกอง มีผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งระบบ 29,725 บาท/ไร่ มากกว่าการปลูกลองกอง เพียงพืชเดียวร้อยละ 89.30 ระบบกล้วยไข่ + ทุเรียน มีผลตอบแทนเฉลี่ย 11,086 และ 90,000 บาท/ไร่ ตามลำดับ ระบบกล้วยไข่ + ลำไย มีผลตอบแทนเฉลี่ย 49,436 และ 9,989 บาท/ไร่ ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   162_2558.pdf (ขนาด: 7.84 MB / ดาวน์โหลด: 923)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม