วิจัยและพัฒนาเครื่องจักรสำหรับทำมันเส้นสะอาด
#1
วิจัยและพัฒนาเครื่องจักรสำหรับทำมันเส้นสะอาด
อนุชิต ฉ่ำสิงห์, ปรีดาวรรณ ไชยศรีชลธาร, ปรีชา อานันทรัตนกุล, นิทัศน์  ตั้งนิจกุล, จิราวัสส์  เจียตระกูล, ประสาท แสงพันธุ์ตา,วุฒิพล จันทร์สระคู, ศักดิ์ชัย อาษาวัง และกอบชัย ไกรเทพ

          จากการศึกษาสถานการณ์ การผลิตมันเส้นของประเทศไทยพบทั้งการสับด้วยมือ  และสับด้วยเครื่องสับหรือโม่เป็นมันเส้น  แต่ส่วนใหญ่เป็นการสับเป็นมันเส้นด้วยเครื่อง  แล้วนำไปตากแดด  2 - 3  วัน พร้อมต้องมีการพลิกกลบเป็นระยะๆ  ตลอดช่วงการตากแห้ง  แต่ปัจจุบันยังเครื่องสับมันเส้นที่ใช้อยู่ทั่วไปยังไม่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสม  ชิ้นมันที่ได้จากการใช้เครื่องสับมีขนาดไม่สม่ำเสมอ  ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำแห้ง หรือตากแห้ง เกิดการสูญเสียเนื่องจากการป่นเป็นฝุ่นผงในกิจกรรมการพลิกกลับ เกิดการปนของดิน  ส่วนของเหง้าและสิ่งเจือปนอื่นๆ  อีกมาก  จัดเป็นมันเส้นคุณภาพไม่ดี  ไม่เหมาะต่อการนำไปใช้ประโยชน์โดยตรง  อีกทั้งพบว่าไทยมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากการส่งออกมากขึ้น  เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านมีพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น สามารถผลิตมันเส้นสับมือที่มีลักษณะสวยงาม และสะอาดกว่า ทำให้ไทยขาดศักยภาพในการแข่งขันด้านราคา ส่งผลต่อเสถียรภาพ และระดับราคารับซื้อหัวมันสำปะหลังสดจากเกษตรกรในประเทศระดับหนึ่ง ในกระบวนการทำมันเส้น ตั้งแต่ขั้นตอนการทำความสะอาดหัวมันสำปะหลังสดจนได้มันเส้นนั้น ยังคงขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสมและเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพในกระบวนการ เช่นเครื่องทำความสะอาดหัวมันสำปะหลังสด เครื่องสับหัวมันสำปะหลังที่เหมาะสมในการที่จะทำให้ได้ขนาดของมันเส้นสม่ำเสมอ  ดังนั้นการพัฒนามันเส้นสะอาดเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน

          กิจกรรมวิจัยและพัฒนาการทำความสะอาดหัวมันสำปะหลัง  และเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรสำหรับทำมันเส้นสะอาด ดำเนินการโดย  3 กิจกรรมย่อยคือ  1) ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของหัวมันสำปะหลังเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบ  2) การศึกษารูปแบบการทำความสะอาดที่เหมาะสม ประกอบด้วยการทำความสะอาดแบบตะแกรงร่อนและแบบถังหมุน พร้อมการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องและคัดเลือกระดับของปัจจัยที่เหมาะสม และ  3) การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสับมันเส้นจากระบบที่มีอยู่  มีการศึกษาระดับปัจจัยและคัดเลือกระดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องเปรียบเทียบกับการสับมันเส้นแบบเป็นแผ่น โดยใช้ขนาดและความสามารถในการทำแห้งเป็นตัวชี้วัด ทั้งมีการศึกษาและพัฒนาระบบการคัดแยกชิ้นมันภายหลังการโม่หรือสับ  ซึ่งจะช่วยให้ง่ายต่อการจัดการในการทำแห้งแบบลานตาก  ลดการสูญเสียผลิตภัณฑ์  และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ได้ระดับหนึ่ง


ไฟล์แนบ
.pdf   46_2558.pdf (ขนาด: 1.46 MB / ดาวน์โหลด: 799)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม