10-12-2016, 02:09 PM
การคัดเลือกสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอยในมะละกอ
พวงผกา อ่างมณี, สุเทพ สหายา, ชมัยพร บัวมาศ, สุภางคนา ถิรวุธ และสุชาดา สุพรศิลป์
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
พวงผกา อ่างมณี, สุเทพ สหายา, ชมัยพร บัวมาศ, สุภางคนา ถิรวุธ และสุชาดา สุพรศิลป์
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การคัดเลือกสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง และเพลี้ยหอยในมะละกอ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบชนิดและอัตราที่เหมาะสมของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชแนะนำการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง และเพลี้ยหอยในมะละกอ ทำการทดลองที่อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2555 – พฤษภาคม 2556 วางแผนการทดลองแบบ RCB 3 ซ้ำ 7 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสาร thiamethoxam 25%WG (Actara), imidacloprid 70%WG (Provado), dinotefuran 10%WP (Starkle), clothianidin 16%SG (Dantosu), acetamiprid 20%SP (Molan), pymetrozine 50%WG (Plenum) อัตรา 4, 4, 20, 15, 10 และ 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีพ่นน้ำเปล่า โดยใช้มะละกอ 1 ต้นต่อซ้ำ สุ่มนับเพลี้ยแป้งบนผลมะละกอ จำนวน 10 ผลต่อซ้ำ โดยสุ่มให้กระจายทั่วทั้งต้น เริ่มพ่นสารตามกรรมวิธีเมื่อพบการระบาดของเพลี้ยแป้งมากกว่า 2 ตัวต่อผล ตรวจนับเพลี้ยแป้งทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยก่อนพ่นสาร และหลังพ่นสาร 5 และ 7 วัน ทำการทดลองซ้ำเมื่อพบเพลี้ยแป้งระบาด ในปี 2556 ทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างเพลี้ยแป้งที่พบมาจำแนกชนิด พบเพลี้ยแป้ง Pseudococcus sp. และ Paracoccus sp. แต่การระบาดของเพลี้ยแป้งในสวนมะละกอพบเพียงเล็กน้อยและไม่สม่ำเสมอ จึงเก็บรวบรวมเพลี้ยแป้งมาเลี้ยงขยายบนต้นสบู่ดำ เพื่อทำการระบาดเทียม หลังจากปล่อยแล้วสำรวจปริมาณแมลงพบว่า การระบาดยังไม่สม่ำเสมอและปริมาณแมลงยังไม่เพียงพอสำหรับทำทดสอบ และยังพบอาการของโรคใบด่างจุดวงแหวนในแปลง จึงต้องหาแปลงทดลองใหม่