การคัดเลือกสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอยในมะละกอ - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6) +--- เรื่อง: การคัดเลือกสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอยในมะละกอ (/showthread.php?tid=1894) |
การคัดเลือกสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอยในมะละกอ - doa - 10-12-2016 การคัดเลือกสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอยในมะละกอ พวงผกา อ่างมณี, สุเทพ สหายา, ชมัยพร บัวมาศ, สุภางคนา ถิรวุธ และสุชาดา สุพรศิลป์ กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช การคัดเลือกสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง และเพลี้ยหอยในมะละกอ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบชนิดและอัตราที่เหมาะสมของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชแนะนำการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง และเพลี้ยหอยในมะละกอ ทำการทดลองที่อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2555 – พฤษภาคม 2556 วางแผนการทดลองแบบ RCB 3 ซ้ำ 7 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสาร thiamethoxam 25%WG (Actara), imidacloprid 70%WG (Provado), dinotefuran 10%WP (Starkle), clothianidin 16%SG (Dantosu), acetamiprid 20%SP (Molan), pymetrozine 50%WG (Plenum) อัตรา 4, 4, 20, 15, 10 และ 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีพ่นน้ำเปล่า โดยใช้มะละกอ 1 ต้นต่อซ้ำ สุ่มนับเพลี้ยแป้งบนผลมะละกอ จำนวน 10 ผลต่อซ้ำ โดยสุ่มให้กระจายทั่วทั้งต้น เริ่มพ่นสารตามกรรมวิธีเมื่อพบการระบาดของเพลี้ยแป้งมากกว่า 2 ตัวต่อผล ตรวจนับเพลี้ยแป้งทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยก่อนพ่นสาร และหลังพ่นสาร 5 และ 7 วัน ทำการทดลองซ้ำเมื่อพบเพลี้ยแป้งระบาด ในปี 2556 ทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างเพลี้ยแป้งที่พบมาจำแนกชนิด พบเพลี้ยแป้ง Pseudococcus sp. และ Paracoccus sp. แต่การระบาดของเพลี้ยแป้งในสวนมะละกอพบเพียงเล็กน้อยและไม่สม่ำเสมอ จึงเก็บรวบรวมเพลี้ยแป้งมาเลี้ยงขยายบนต้นสบู่ดำ เพื่อทำการระบาดเทียม หลังจากปล่อยแล้วสำรวจปริมาณแมลงพบว่า การระบาดยังไม่สม่ำเสมอและปริมาณแมลงยังไม่เพียงพอสำหรับทำทดสอบ และยังพบอาการของโรคใบด่างจุดวงแหวนในแปลง จึงต้องหาแปลงทดลองใหม่
|