การศึกษาโอกาสและข้อจำกัดของการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญ
#1
การศึกษาโอกาสและข้อจำกัดของการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญ
สุรพงษ์ เจริญรัถ, นันทวรรณ สโรบล, กุลศิริ กลั่นนุรักษ์, อาภาณี โภคประเสริฐ, เสาวรี ตังสกุล, จรุงสิทธฺ์ ลิ่มศิลา, วิมลรัตน์ ศุกรินทร์, อุดม เลียบวัน, อานนท์ มลิพันธ์, วีระศักดิ์ เทพจันทร์, วิทย์ นามเรืองศรี, จารุพรรณ มนัสสากร, เกษมศักดิ์ ผลากร, สุภาภรณ์ สาชาติ, สุวรรณ หาญวิริยะพันธุ์, ปริศนา หาญวิริยะพันธุ์, ฉัตรสุดา เชิงอักษร, ชวนชื่น เดี่ยววิไล, กิ่งกาญจน์ เกียรติอนันต์, ศิริพร พจนการุณ, สุริยนต์ ดีดเหล็ก, สมเพชร เจริญสุข, อรุณี ใจเถิง, เกริกชัย ธนรักษ์, อรรัตน์ วงศ์ศรี, ยิ่งนิยม ริยาพันธุ์ สุรกิตติ ศรีกุล, วิชชณีย์ ออมทรัพย์สิน, ชุมพล เชาวนะ, สมมาต แสงประดับ, รณชัย ดาวดวง, สมจิตต์ ศิขรินมาศ, ชลธิชา เตโช, ไกรศร ตาวงศ์, พุฒนา แสงระวี, อุไรวรรณ นาสพัฒน์, สมพร วนะสิทธิ์, จันทวรรณ คงเจริญ, จุงพฏ สุขเนื้อ, สุภาพร บัวแก้ว, เอนก กุณาละศิริ, ชลลิกา ทิพยกุล, พัชรินทร์ ศรีวารินทร์ อรวรรณ ทองเนื้อเก้า, จีระศักดิ์ จินดาพล และคณิต ดวงสุวรรณ
สถาบันวิจัยพืชไร่, ศูนย์วิจัยพืชไร่นครราชสีมา, ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง, ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น, ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, ศูนย์บริการวิทยาการฯลพบุรี, ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่, สถาบันวิจัยพืชสวน, สวพ. เขตที่1, ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี, สำนักตลาดกลางยางพารา, ศูนย์สารสนเทศ, สถาบันวิจัยยาง, ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา แศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี

          การศึกษาโอกาสและข้อจำกัดของการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญ 12 ชนิด คือ อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ปาล์มน้ำมัน สับปะรด ลำไย มัคุด ทุเรียน ยางพารา และเห็ด เพื่อโอกาสและข้อจำกัดใช้เป็นข้อสารสนเทศในการกำหนดแนวทางการผลิต การลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตให้มีปริมาณและคุณภาพเหมาะสมสำหรับผู้บริโภคทั้งภายในและนอกประเทศ เป็นข้อสนเทศในการกำหนดแนวทางเร่งรัดและส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตพืชเศรษฐกิจข้างต้นเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในระดับครัวเรือน ชุมชน หรือโรงงานผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มมูลค่าการผลิตและเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรและผู้ประกอบการ โดยทำการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) จากเอกสารของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) จากการสำรวจข้อมูลในพื้นที่แหล่งปลูกของเกษ๖รกรและสุ่มสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามในพื้นที่กำหนดตามขอบเขตการศึกษา ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ถึงกันยายน 2551 แล้วสรุปวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงพรรณนา พบว่าความคุ้มค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น สภาวะความเสี่ยงของเกษตรกรจากความแปรปรวนด้านการผลิตและราคาของผลผลิตมันสำปะหลังและอ้อย ในเขต จ.นครราชสีมา ขอนแก่น ระยอง และสุพรรณบุรี ลดลง การใช้วัตถุดิบมีอัตราสูงขึ้น ผลผลิตเป็นที่ต้องการของกลุ่มประเทศใช้ทดแทนพลังงาน และกลุ่มประเทศที่ใช้เป็นอาหาร สำหรับมันสำปะหลัง เกษตรกรมีผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 20.66% ต้นทุนภาคตะวันออก 4,143 บาท/ไร่ ผลิตได้ 6 ตัน/ไร่ กำไร 3,437 บาท/ไร่ ต้นทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่ำกว่า คือ 2,779 บาท/ไร่ ผลิตได้ 3.2 ตัน/ไร่ ได้กำไร 1,983 บาท/ไร่ ราคาคุ้มทุนของภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่ 691 บาท/ตัน และ 820 บาท/ตัน เฉลี่ย 719 บาท/ตัน ส่วนอ้อนมีแนวโน้มที่เกษตรกรขายผลผลิตได้ราคาสูงกว่าราคาขั้นต้นที่ 830 บาท/ตัน

          การใช้เทคโนโลยีการผลิตปรับปรุงคุณภาพผลผลิตและราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในแหล่งปลูก จ.ลพบุรี สระบุรี และนครราชสีมา การศึกษาโอกาสและข้อจำกัดของการแปรรูปข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และการศึกษาเชิงเปรียบเทียบด้านเศรษฐกิจของเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเทคโนโลยีของเกษตรกรในข้าวโพด และถั่วเหลืองฝักสด ในจ.กาญจนบุรี และราชบุรี พบว่า เกษตรกรมีวิธีการปฏิบัติคล้ายคลึงกัน ไม่มีคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐในการใช้เทคโนโลยีเกษตรดีที่เหม่ะสม ได้ผลตอบแทนของการปลูกข้าวโพดฝักสด 2,010 บาท/ไร่ จากต้นทุน 3,040 บาท/ไร่

          การศึกษาผลกระทบของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีต่อสินค้าเกษตร ถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พบว่า ผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใน จ.ลพบุรี นครสวรรค์ และสระบุรี กับผู้ปลูกถั่วเหลืองใน จ.เชียงใหม่ เชียงราย และสุโขทัย ทั้งสองกลุ่มมีเกษตรกรทราบเรื่องเขตการค้าเสรี 14.29% และไม่ทราบเรื่องเขตการค้าเสรี 85.71 ไใเคยได้รับผลกระทบเรื่องนี้จากพ่อค้าคนกลาง

          การศึกษาโครงสร้างการตลาด มังคุด ทุเรียน สับปะรด และลำไย ใน จ.จันทบุรี ระยอง ตราด ปราจีนบุรี นครศรีธรรมราช เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี ลำพูน เชียงใหม่ พบว่า มังคุด ทุเรียน มีแหล่งผลิตใหญ่ในภาคใต้แต่ผลิตมากที่ จ.จันทบุรี มีศูนย์กลางตลาดหลักอยู่ในเขต อ.เมือง และศูนย์กลางตลาดรองอยู่ใน อ.อื่นๆ มีการซื้อ - ขาย ผ่านพ่อค้าคนกลางมากที่สุด รองลงมาเป็นบริษัท มังคุดขายส่งมี 4 เกรด คือ เกรดคุณภาพ เกรดสอง เกรดคละ และเกรดต่ำไม่ได้ขนาด ผลผลิตส่งออก 25.25% ในรูปผลสด 99.35% และผลแช่แข็ง 0.65% ตลาดอยู่ในกลุ่มเอเชียมากที่สุด ทุเรียนขายส่ง 2 เกรด คือ เกรดส่งออก กับเกรดคละ ผลผลิตส่งออก 38.73% ในรูปทุเรียนผลสด ทุเรียนแช่แข็ง ทุเรียนกวน และทุเรียนอบแห้ง ทุเรียนผลสด ทุเรียนแช่แข็ง ส่งออกมากที่สุดในกลุ่มประเทศแถบเอเชีย รองลงมาในกลุ่มประเทศแถบอเมริกา ทุเรียนกวนส่งออกมากที่สุดในกลุ่มประเทศยุโรป รองลงมากลุ่มประเทศอเมริกา

          สับปะรดมีอัตราเพิ่มของพื้นที่ปลูก 0.52% มีผลผลิตเพิ่มขึ้นต่อปี 1.70% มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผลผลิตส่งออกต่างประเทศ 70 - 75% ในรูปผลิตภัณฑ์ และ 3 - 5% ในรูปผลสด ส่วนผลผลิตใช้บริโภคภายในประเทศในรูปผลสด 20 - 25% สับปะรดผลิตภัณฑ์ประเภทสับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรดต่อผลผลิตที่ผลิตส่งออก 26.32 และ 6.58% ตามลำดับ

          ลำไยปลูกมากในภาคเหนือใน จ.เชียงใหม่ รองลงมาคือ ลำพูน เชียงราย พื้นที่ให้ผลผลิตเพิ่ม 38% ผลผลิตมีแนวโน้มลดลง 17% ผลผลิตส่งออก 52.83% ลำไยส่งประเทศจีน อินโดนีเซีย และฮ่องกง เป็นสำคัญ ลำไยขายส่ง 2 เกรด คือ เกรด A และเกรด AA ส่งออกในรูปลำไยสด ลำไยแห้ง ขายผ่านพ่อค้าคนกลางมากที่สุด

          ระบบการผลิตลำไยใน อ.ออมทอง จ.เชียงใหม่ และ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ผลิตลำไยพันธู์ดอทั้งหมด มีอายุระหว่าง 11 - 20 ปี อาศัยความรู้จากประสบการณ์ ผู้ดูแลเป็นคนสูงอายุ มีอายุระหว่าง 41 - 60 ปี มีลักษณะเป็นเกษ๖รกรนักพัฒนา มีการจัดการผลผลิตตามระบบตลาด ทั้งขายลำไยสดและอบแห้ง ผ่านผู้ประกอบการแบบเก็บผลผลิตส่งขายหรือเหมาสวนขาย การจัดการป้องกันเชื้อราโดยการใช้โรงรมควันซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ และจ.ลำพูน โดยผู้มีประสบการณ์ 6 - 10 ปี 45% มีจำนวนห้องรม 2 - 4 ห้อง 57% และผู้ดูแลการรมควันมีความชำนาญ 1 - 5 ปี ทำหน้าที่ 2 คน 59% มีข้อจำกัดเมื่อผลลำไยเปียก และอายุการเก็บเกี่ยวแก่จัดที่ระดับความสำคัญ 2.84 (SD = 0.51) และ 2.66 (SD = 0.65) ตามลำดับ และทัศนคติต่อมาตรการของทางราชการที่มีผลต่อการลงทุนที่สูงขึ้นของผู้ประกอบการขนาดเล็ก

          การตรวจสอบย้อนกลับของลำไยสดส่งออก มีผู้ประกอบการเป็นทั้งผู้รวบรวมผลผลิตและส่งออกด้วย 52% ซื้อจากเกษตรโดยตรง 61% ซื้อจากผู้รวบรวมผลผลิตรายย่อย 73% รับซื้อกับเจ้าประจำ 61% การรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกร 94% เป็นสมาชิกโครงการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงผู้ประกอบการรวบรวมผลผลิต โรงรมควันซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โดยใช้รหัสโรงรมควันซํลเฟอร์ไดออกไซด์ และวันผลิตติดไปกับสินค้า 88% นอกนั้นใช้รหัสบาร์โค๊ดหรือเลขรหัสจัดทำขึ้นใช้เอง

          กาารศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดสับปะรดของเกษตรกรภาคตะวันออกที่ปลูกสับปะรดใน จ.ระยอง ชลบุรี ตราด และเกษตรกรภาคใต้ตอนบนที่ปลูกสับปะรดใน จ.เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ พบว่าเกษตรกรภาคตะวันออกปลูกสับปะรดเป็นพืชแซมแบบไว้ตอ 31% เป็นพืชเชิงเดี่ยว แบบสับปะรดปลูก 69% เกษตรกรภาคใต้ตอนบนปลูกเป็นพืชเชิงเดี่ยวแบบปลูกใหม่ ตอหนึ่ง และตอสอง การปลูกทั้งภาคตะวันออกและภาคใต้ใช้พันธุ์ปัตตาเวียผลิตเพื่อส่งโรงงาน 73 และ 80% ตามลำดับ ใช้หน่อปลูกแบบเชิงเดี่ยว 7,000-8,000 หน่อ/ไร่ แบบพืชแซม 3,500-4,000 หน่อ/ไร่ และไว้ตอ 6,079 หน่อ/ไร่ นภาคตะวันออกเกษตร 97% ปลูกพันธุ์ปัตตาเวีย และ 3% ปลุกพันธุ์ตราดสีทอง ใช้สารอาลีเอท ป้องกันโรคจากเชื้อราทั้งสองภาค ในภาคตะวันออกใช้ถ่านแก๊สหรือเอทธิฟอนบังคับให้ออกดอก ในพืชแซมน้อยกว่าพืชเชิงเดี่ยวและแคะจุกในพืชแซมมากกว่าในพืชเชิงเดี่ยว ใช้ถุงหนังสือพิมพ์คลุมผลอย่างเดียว ส่วนภาคใต้ตอนบนใช้ถุงคลุม 79% และใช้หญ้า 21% ผลผลิตในภาคตะวันออกปลูกแบบพืชแซมได้ 3 ตัน/ไร่ ปลูกแบบพืชเชิงเดี่ยวได้ 5.4 ตัน/ไร่ ส่วนภาคใต้ตอนบนได้ผลผลิตจากสับปะรดปลูก 4.71 ตัน/ไร่ จากสับปะรดตอหนึ่ง 2.88 ตัน/ไร่ สับปะรดตอสอง 3.40 ตัน/ไร่ ใช้ต้นทุนการผลิต 3,663 4,632 และ 2,133 บาท/ตัน ได้กำไรตันละ 969 1,722 2,372 บาท ตามลำดับ ราคาที่จำหน่ายมี 3 เกรดคือ ลูกใหญ่ ลูกเล็ก ลูกจิ๋ว จำหน่ายได้ราคา 4.84 1.69 และ 0.85 บาท/กก. ภาคตะวันออกใช้ต้นทุน 12,480 บาท/ไร่ ขายได้ 4-5 บาท/กก. ในภาคตะวันออกมีปัญหาการผลิตเนื่องจากโรค ในระบบพืชเชิงเดี่ยวมากกว่าในระบบพืชแซม ส่วนในภาคใต้ตอนบนมีปัญหาด้านราคาผลผลิตมากกว่าเรื่องโรคและแรงงาน

          การวิเคราะห์ผลตอบแทนการปลูกปาล์มน้ำมันและยางพาราใน จ.สุราษฎร์ธานี ที่ช่วงอายุการลงทุน 25 ปี พบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ของการลงทุนทำสวนปาล์มน้ำมันเท่ากับ 4,981.71 บาท/ไร่ 1.13 และ 14.04% ตามลำดับ และการทำสวนยางเท่ากับ 13,821 บาท/ไร่ 1.33 และ 15.57% ตามลำดับ นั่นคือ ถ้าต้นทุนของปาล์มน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น 15% หรือรายได้ลดลงเนื่องจากราคาลดลงจาก 2.34 เป็น 2.00 บาท/กก. การลงทุนทำสวนปาล์มน้ำมันให้ผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่า

          เมื่อวิเคราะห์ระบบตลาดปาล์มน้ำมันใน จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี และกระบี่ พบว่า ปาล์มน้ำมันที่ผลิตได้ทั้งสาทจังหวัดขายให้ลานเทมากที่สุด รองลงมาขายให้โรงงานใน จ.ชุมพรและสุราษฎร์ธานี และรองลงมาเป็นสหกรณ์ สำหรับ จ.กระบี่ ลานเทส่วนใหญ่ขายผลผลิตให้โรงงานสกัดน้ำมันดิบโดยไม่ผูกขาด ผลผลิตที่เข้าโรงงานมากกว่า 200 โรง นำไปสกัดเป็นน้ำมันดิบส่งเข้าโรงงานสบู่/อาหารสัตว์ โรงกลั่นน้ำมันบริสุทธิ์ และส่งออกต่างประเทศ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ส่งไปทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ และส่งออก ส่วนไขปาล์มส่งเข้าโรงงานสบู่/อาหารสัตว์และส่งออกและกรดปาล์มส่งเข้าอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

          ความต้องการใช้วัตถุดิบปาล์มน้ำมันในภาคกลางที่ จ.สมุทรสาคร สมุทรปราการ และภาคใต้ที่ จ.สุราษฎร์ธานี กระบี่และชุมพร พบว่า ไทยมีความต้องการใช้ปาล์มน้ำมันสูงขึ้น 66.02% รองลงมาเป็นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดในปาล์ม น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันทานตะวันคิดเป็น 14.06 10.44 5.06 2.89 และ 1.53% ตามลำดับ ความต้องการในปี พ.ศ.  2551 ใช้ 871,484 ตัน น้อยกว่าปีก่อน 4.16% แต่มีความต้องการใช้ผลิตไบโอดีเซล 276,000 ตัน ทำให้เมื่อรวมกันแล้วเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 18.12% การใช้ในประเทศในรูปการบริโภค 59.08% และผลิตไบโอดีเซล 18.71% ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มใน จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี และกระบี่ มากที่สุดในเดือนมีนาคม มิถุนายน และสิงหาคม ในปริมาณ 12,164 25,919 และ 12,651 ตัน ตามลำดับ

          การศึกษาโอกาสและข้อจำกัดของการผลิตเห็ดสกุลรมของเกษตรกร ผู้ประกอบการแปรรูป การบริโภคเห็ดภายในประเทศและส่งออกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนของจ.อุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด อุดรธานี และหนองบัวลำภู พบว่า เกษตรกรผลิตเห็ดจากความรูของเพื่อนบ้าน 66% จากการอบรมก่อนผลิต 36% ซื้อเชื้อเห็ดมาผลิตก้อนเชื้อเอง โดยสั่งจองซื้อจากผู้ผลิตโดยตรง 51% ในราคา 5-12 บาท/ขวด ผลิตก้อนเชื้อได้ 15-50 ก้อน ประสบปัญหาจากเชื้อราเขียวและราดำ 83% ผลิตแล้วนำไปขายเอง 51% นอกนั้นพ่อค้ามารับซื้อถึงแหล่งผลิต ต้นทุนการผลิตเห็ดสกุลรมพบว่า เห็ดสด 1 กก. เห็ดภูฎาน เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรมฮังการี มีต้นทุน 22.25 18.11 และ 12.99 บาท/กก. มีรายได้ 33.33 28 และ 25 บาท/กก. ได้กำไร 11.09 9.89 และ 12.01 บาท/กก. และถ้าเป็นก้อนเชื้อเห็ดมีต้นทุน 3.81 3.49 และ 2.59 บาท/ถุง ได้กำไร 2.13 2.16 และ 2.88 บาท/ถุง ตามลำดับ

          การแปรรูปเห็ดผู้ประกอบการนำไปทำผลิตภัณฑ์โดยใช้เห็ดที่เพาะเองหรือรับซื้อจากเพื่อนบ้านและเกษตรกรที่ขายเหลือมาทำผลิตภัณฑ์ ได้แก่ แหนมเห็ด เห็ดสวรรค์ จ่อมเห็ด น้ำพริกเห็ด ทอดมันเห็ด ใช้ต้นทุน3, 3, 5, 3 และ 2 บาท/ห่อ/ถุง/แพ็ค/กระปุก/ชิ้น ขายปลีกและส่งได้กำไร 7, 7, 5, 7 และ 3 บาท/ห่อ/ถุง/แพ็ค/กระปุก/ชิ้น ตามลำดับ ปัญหาการผลิตคือตลาดไม่แน่นอนและเก็บไว้ไม่นาน

          การบริโภคเห็ดภายในประเทศและการส่งออกพบว่า ขายส่ง 20 - 40 เฉลี่ย 27 บาท/กก. ขายปลีก 25-50 เฉลี่ย 35 บาท/กก. พ่อค้าแต่ละคนมีปริมาณการรับซื้ออยู่ระหว่าง 10-70 กก./วัน ดำเนินการเพื่อการบริโภคภายในประเทศโดยเป็นตลาดภายในหมู่บ้าน ในอำเภอ และในจังหวัดเท่านั้น ไม่มีการส่งออก ปัญหาที่พบในฤดูร้อนคือเห็ดไม่เพียงพอและคุณภาพต่ำ ผู้บริโภคนิยมบริโภคเห็ดขอนขาว ในฤดูฝนผลผลิตออกมามากและมีเห็ดป่าออกในขณะเดียวกันผู้บริโภคเลือกมากขึ้นราคาจึงถูกลง

          การศึกษาต้นทุนผลประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการปลูกยางพาราพบว่า ในแต่ละภาครวม 8 จังหวัดคือ สุราษฎร์ธานี ตรัง อุทัยธานี พะเยา หนองคาย บุรีรัมย์ ระยอง และจันทบุรี เฉลี่ยพื้นที่ปลูก 14.2 ไร่ ส่วนใหญ่มีพื้นที่ 11 - 15 ไร่ คิดเป็น 34.7% ใช้พันธุ์ RRIM 600 จำนวน 76 ต้น/ไร่ อายุสูงสุด 22 ปี ราคายางแผ่นดิบภาคกลาง ภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี พ.ศ. 2551 การใช้ยางพาราประเภทยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง น้ำยางข้น และอื่นๆ มีอัตราการใช้เพิ่มต่อปี 5.54 - 2.41 16.30 และ -24.84% รวม 4.12% เมื่อนำไปใช้แยกตามประเภทอุตสาหกรรมยางล้อ ถุงมือยาง ยางยืด ยางรัดของ อื่นๆ มีอัตราการใช้เพิ่มต่อปี 7.41 - 1.46 17.89 - 12.37 และ -14.02% รวม 4.12% จำนวนโรงงานในปี พ.ศ.2550 รวมเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2548 39.29% เป็นโรงงานยางแผ่นรมควัน 25.17% น้ำยางข้น 23.31% ยางแผ่นผึ่งแห้ง 17.48% และยางแท่ง 16.55% โดยที่ผลิตจริงต่อกำลังการผลิตของยางแผ่นรมควัน น้ำยางข้น ยางแท่งคิดเป็น 53.79 46.76 และ 72.20% ตามลำดับ

          การใช้ยางของโรงงานผลิตภัณฑ์ยางที่ศึกษาพบว่านำไปใช้ผลิตยางล้อ ยางยืด ถุงมือยาง ยางรัดของ รองเท้าและพื้นรองเท้า อะไหล่รถยนต์ และอื่นๆ คิดเป็น 55.32 19.32 14.67 4.61 2.39 0.38 และ 3.31% ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   1106_2551.pdf (ขนาด: 647.83 KB / ดาวน์โหลด: 696)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม