โรงผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศเพื่อการผลิตพืชระบบอินทรีย์ยั่งยืน
#1
โรงผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศเพื่อการผลิตพืชระบบอินทรีย์ยั่งยืน

          การผลิตปุ๋ยหมักในระบบเติมอากาศ ได้พัฒนาเทคนิคในการผลิตโดยมุ่งเน้นเพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยหมักที่คุณภาพสูง โดยสิ่งแรก คือ การทำโรงเรือนที่มีหลังคา หรือเกษตรกรที่มีงบน้อยสามารถใช้พลาสติกกันฝนคลุมกองปุ๋ยหมักแทนได้  สิ่งที่สอง คือ การผสมวัสดุอินทรีย์ ที่ประกอบด้วยไปด้วย เศษวัสดุและมูลสัตว์ โดยให้มีสัดส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน  30 : 1 และมีการควบคุมการระบายอากศในกองปุ๋ย แทนการกลับกอง ด้วยการเติมอากาศด้วยเครื่องอัดอากาศจากด้านล่างกองปุ๋ย  โดยเปิดให้เครื่องทำงานวันละ 6 ครั้ง (เปิด 1 ชั่วโมง และปิด 3 ชั่วโมง) นอกจากนี้ยังควบคุมความชื้ของกองปุ๋ยหมักให้อยู่ที่ระดับ 60% จนสิ้นสุดกระบวนการหมัก ซึ่งการทำปุ๋ยหมักด้วยเทคนิคการเติมอากาศนั้น นอกจากจะช่วยลดต้นทุนค่าแรงงานในการกลับกองแล้วยังสามารถช่วยให้วัสดุอินทรีย์กลายเป็นปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพในระยะ 2 เดือน ทั้งนี้ขึ้นกับวตถุดิบตั้งต้นที่นำมาใช้ในการหมักด้วย  ซึ่งทางคณะผู้วิจัยเน้นให้เกษตรกรใช้ในการผลิตพืชอินทรีย์  ปุ๋ยหมักที่ได้จากการผลิตด้วยเทคนิคนี้ นอกจากจะมีธาตุอาหารสูง และช่วยเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้ว ยังช่วยเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิต รวมไปถึงการสร้างระบบการผลิตพืชอินทรีย์ให้เกิดความยั่งยืน


ไฟล์แนบ
.pdf   30_2558.pdf (ขนาด: 187.22 KB / ดาวน์โหลด: 3,723)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม