01-05-2016, 03:34 PM
วิเคราะห์ผลกระทบการตั้งตลาดกลางยางพาราจังหวัดหนองคายต่อผู้เกี่ยวข้องต่อธุรกิจยาง
เกษตร แนบสนิท, อนุสรณ์ แรมลี และธงชัย คำโคตร
ศูนย์วิจัยยางหนองคาย สถาบันวิจัยยาง และสำนักงานตลาดกลางยางพาราหนองคาย สถาบันวิจัยยาง
เกษตร แนบสนิท, อนุสรณ์ แรมลี และธงชัย คำโคตร
ศูนย์วิจัยยางหนองคาย สถาบันวิจัยยาง และสำนักงานตลาดกลางยางพาราหนองคาย สถาบันวิจัยยาง
มีการดำเนินการโดยใช้เครื่องมือคือ แบบสอบถามในเกษตรกรที่มีการนำยางมาขายในตลาดกลาง โดยก่อนการใช้เครื่องมือได้มีการนำมาทดสอบกับเกษตรกรจำนวน 10 ราย เพื่อเป็นปรับปรุงคุณภาพแบบสัมภาษณ์โดยดำเนินการในเกษตรกรทุกรายที่นำยางมาขายที่ตลาดกลางยางพาราจังหวัดหนองคายรวม 66 ราย พบว่า จากข้อมูลพื้นฐานส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรจังหวัดหนองคายอำเภอใกล้เคียงที่นำยางมาจำหน่ายร้อยละ 65.15 และส่วนใหญ่มีสมาชิกครัวเรือนประมาณ 4-6 คน ร้อยละ 60.61 ส่วนใหญ่เกษตรกรมีรายได้ต่อเดือนละประมาณ 10,00-25,000 บาท ร้อยละ 39.39 ส่วนใหญ่ผลผลิตยางที่นำมาจำหน่ายเป็นยางแผ่นจากสวนตัวเองร้อยละ94.42 ส่วนใหญ่มีชนิดการขายผลผลิตหลากหลาย เช่น ยางแผ่นดิบ และจำหน่ายยางก้อนถ้วยให้ผู้รับซื้อที่อื่นร้อยละ 65.15 ด้านระยะทางที่เดินทางจากบ้านมาถึงตลาดกลางส่วนใหญ่น้อยกว่า 21-60 กิโลเมตร ร้อยละ 59.09 ส่วนระยะเวลาในการเดินทาง ส่วนใหญ่อยู่ที่ช่วง 30-60 นาที ร้อยละ 53.03 และส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 551- 1,000 บาท/ครั้ง ร้อยละ 59.09 ส่วนในด้านข้อมูลความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ พบว่า ในส่วนของข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรที่นำยางแผ่นดิบมาขายในสำนักงานตลาดกลางยางพาราหนองคายพบว่า เรื่องหลักเกณฑ์การซื้อขายและส่งมอบยางเป็นที่ยอมรับ ได้ค่าเฉลี่ยความพอใจในระดับมากเท่ากับ 4.64 จากคะแนนเต็ม 5 ส่วนของข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการตลาดด้านราคาพบว่า เรื่องการเคลื่อนไหวราคายางในตลาดสอดคล้องกับกลไกตลาด ได้ค่าเฉลี่ยความพอใจในระดับมากเท่ากับ 4.33 ส่วนของข้อมูลความคิดเห็น เกี่ยวกับปัจจัยการตลาดด้านช่องทางการจัดจำหน่ายพบว่า เรื่องตลาดกลางมีที่ตั้งใกล้แหล่งผลิตของเกษตรกร ได้ค่าเฉลี่ยความพอใจในระดับมากเท่ากับ 4.09 ส่วนของข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการตลาด ด้านส่งเสริมการตลาดพบว่า เรื่องผู้ใช้บริการตลาดกลางฯ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ ได้ค่าเฉลี่ยความพอใจในระดับมากเท่ากับ 4.47 จากคะแนนเต็ม 5