วิจัยความหลากหลายทางพันธุกรรมและพฤกษเคมีของพืชพื้นเมืองทั่วไปที่มีศักยภาพในท้องถิ่น
#1
วิจัยความหลากหลายทางพันธุกรรมและพฤกษเคมีของพืชพื้นเมืองทั่วไปที่มีศักยภาพในท้องถิ่นในแปลงรวบรวมพันธุ์และ/หรือถิ่นที่อยู่
วิลาสินี จิตต์บรรจง

          โครงการวิจัยเริ่มดำเนินงานตั้งแต่ ปี พ.ศ 2559 - 2561 ประกอบด้วย 8 การทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรม คุณสมบัติทางพฤกษเคมีของพืชพื้นเมืองทั่วไปที่มีศักยภาพในท้องถิ่นในแปลงรวบรวมพันธุ์ และ/หรือถิ่นที่อยู่อาศัยเพื่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม โดยการสารวจ รวบรวมและเก็บตัวอย่างพืช ได้แก่ ผักหวานบ้าน คราม มะขามป้อม รางจืด ผักหวานป่า ตีนฮุ้งดอย พริกกะเหรี่ยง และมะกิ้ง ในแปลงรวบรวมพันธุ์และสภาพธรรมชาติ

          การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรม สามารถแบ่ง ผักหวานบ้าน ได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ โดยกลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย 2 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มย่อยที่ 1 ประกอบด้วย S1 (สายน้าผึ้ง จังหวัดฉะเชิงเทรา) S2 (ก้านยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา) และ S3 (บางคล้า2 จังหวัดฉะเชิงเทรา) และ กลุ่มย่อยที่ 2 ประกอบด้วย S11 (สายน้าผึ้ง อาเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์) S12 (สายน้าผึ้ง บ้านหนองตาหนวด จังหวัดสุพรรณบุรี) และ S13 (สายน้าผึ้ง แยกวังชะอม จังหวัดปราจีนบุรี) กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย 2 กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มย่อยที่ 1 ประกอบด้วย S4 (ใบกลม บ้านดง จังหวัดพิษณุโลก) S5 (ใบกลม บ้านชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก) S6 (สายน้าผึ้ง บ้านป่าแดง จังหวัดพิษณุโลก) S7 (สายน้าผึ้ง บ้านปากรอง จังหวัดพิษณุโลก) กลุ่มย่อยที่ 2 ประกอบด้วย S8 (สายน้าผึ้ง จังหวัดบึงกาฬ) S9 (สายน้าผึ้ง จังหวัดปราจีนบุรี) S10 (สายน้าผึ้ง อาเภอป่าปลอก จังหวัดนครพนม) และ S14 (สายน้าผึ้ง จังหวัดนครราชสีมา) แบ่งคราม ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ครามพันธุ์ฝักงอ (Indigofera suffruticosa Mill.) และครามพันธุ์ฝักตรง (Indigofera tinctoria L.) สามารถแบ่งมะขามป้อมจำนวน ได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ โดยสามารถแบ่งพันธุ์วังหงส์ (PR-01) แป้นสยาม (K-01) และลูกท้อ (K-02) จะแตกต่างจากสายพันธุ์อื่น และสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อย จำนวน 2 กลุ่มย่อย โดยกลุ่มย่อยที่ 1 ประกอบด้วย พันธุ์ปากกาง (PR-02) น้าคะ (PY-03) ปางเคาะ (PR-03) แม่ลูกดก (K-05) สีกาแฟ (K-03) นาคูหา (PR-04) หนองห้า (PY-01) และดงเย็น (CM-06) และกลุ่มย่อยที่ 2 ประกอบด้วย ห้วยลึก (PY-02) หยกมณี (K-06) บ่อแก้ว (PR-05) และนาพูน (PR-06) มะขามป้อมที่ได้จากการสารวจมีฐานพันธุกรรมที่กว้างและมีความหลากหลาย แบ่งรางจืดออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มใบมีขน และกลุ่มใบมัน สามารถจัดกลุ่มตัวอย่างผักหวานป่าออกเป็น 5 กลุ่ม จากรูปแบบทางพันธุกรรมที่แตกต่างกันอยู่ 5 รูปแบบ แบ่งตีนฮุ้งดอย ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก ได้แก่ ดอยสะเก็ด (S1) สะเมิง (S2) ขุนแม่ลาว (S5) และ เชียงดาว (S6) กลุ่มที่สอง ได้แก่ แม่จอนหลวง (S3) ขุนวาง (S4) และกลุ่มที่สามได้แก่ น่าน (S7) สามารถจำแนกพริกกะเหรี่ยง เป็น 3 กลุ่มใหญ่และจำแนกเป็นกลุ่มย่อยจำนวน 10 กลุ่ม โดยพริกที่ให้ผลผลิตต่อต้นสูง (ผลผลิตมากกว่า 1,000 กรัมต่อต้น) มีจำนวน 17 สายต้นได้แก่ NRTC001 NRTC002 NRTC003 PKKC001 SPB001 SSK001 CMIC001 LEIC003 LEIC004 SSKC002 NSTC001 KKNC001 TAKC001 SSKC003 KKNC002 PBIC001และ KRIC001สายต้นที่ให้ผลผลิตต่อต้นปานกลาง (ผลผลิต 500 - 1,000 กรัมต่อต้น) จำนวน 12 สายต้นได้แก่ MHSC022 MHSC017 LEIC005 SPBC003 CMIC005 NSTC002 CMIC003 TRAC001 KBIC001 CMIC002 UTTC001 และ LEIC001 และสายต้นที่ให้ผลผลิตต่อต้นต่า(น้อยกว่า500 กรัมต่อต้น) จำนวน 21 สายต้น ได้แก่ KSNC001 NMAC001 LEIC002 LEIC003 LPGC001 PREC001 NRTC004 CMIC004 MHSC001 MHSC002 MHSC015 MHSC016 MHSC021 MHSC033 MHSC041 MHSC046 MHSC043 MHSC079 MHSC080 MHSC081 และ MHSC094 สามารถแบ่งมะกิ้งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย H. heteroclita subsp. indochinensis ในกลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย H. heteroclita subsp. heteroclita และ H. heteroclita subsp. indochinensis

          การศึกษาปริมาณสารสำคัญในพืชที่ศึกษา ได้แก่ ผักหวานบ้านมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ผักหวานบ้านทุกแหล่งพันธุ์ มีปริมาณไขมันต่ำ เหมาะสาหรับรับประทานเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งผักหวานบ้านพันธุ์บางคล้า 2 เป็นพันธุ์การค้าที่นิยมบริโภค มีปริมาณสารอาหารสำคัญที่ค่อนข้างสูงกว่าพันธุ์อื่นๆ เหมาะสาหรับนามาแปรรูปเป็นอาหารชนิดต่างๆ คราม วัดค่าการการดูดกลืนแสงด้วยเครื่อง Spectrophotometer ที่ความยาวคลื่น 656 นาโนเมตร พบว่า ครามฝักตรง มีค่าความเข้มสี 0.01235 - 3.3053 เฉลี่ย 1.4617 ความฝักงอ มีค่าความเข้มสี 0.1263 - 3.2054 เฉลี่ย 1.5293 โดยครามฝักงอมีค่าเฉลี่ยความเข้มสีสูงกว่าครามฝักตรงเล็กน้อย มะขามป้อมผลใหญ่ที่สุด คือ K-01 มีขนาด 3.85 ซม. ที่มีปริมาณเนื้อหนาที่สุดที่ 1.26 ซม. คือ K-01 สาหรับปริมาณสารสำคัญในผล พบว่า ปริมาณวิตามินซีที่สูงคือ NN-03 LP-01 และ PR-06 มีปริมาณ 887 1,190 และ 1240 มก./100 ก. ส่วนค่าดัชนีสารต้านอนุมูลอิสระ มีค่าสูงที่สุด PY-01, CR-04 และ CM-01 คือ 9.44, 9.25 และ 8.34 ตามลำดับ วัดปริมาณสารฟีนอลิกในใบรางจืดมีค่าเฉลี่ย 305,997 มิลลิกรัม GAE/100 กรัม และในกิ่งมีปริมาณสารฟีนอลิก 129,896 มิลลิกรัม GAE/100 กรัม ปริมาณสารฟีนอลิกในใบมีสูงกว่าในกิ่ง 2.35 เท่า สายต้นที่มีสารฟีนอลิกในใบสูงสุด คือ สายต้น Cco01 มีปริมาณสารฟีนอลิก 534,645 มิลลิกรัม GAE/100 กรัม สารสำคัญในผักหวานป่า 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเบตาแคโรทีน โดยวิเคราะห์หาปริมาณวิตามินเอ พบปริมาณวิตามินเอ กลุ่มพันธุกรรม 5 กลุ่มสี และ กลุ่มพันธุกรรมสีคละ พบปริมาณวิตามินเอ เท่ากับ 81.06 117.11 และ 37.796 ไมโครกรัมต่อ100กรัม ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์สารสำคัญกลุ่ม Proximate ผลวิเคราะห์จากทุกตัวอย่าง จากกลุ่มพันธุกรรม 5 กลุ่มสี และ กลุ่มพันธุกรรมสีคละ มีปริมาณเยื่อไย 1.94 1.89 และ 2.09 กรัม/100 กรัม มีพลังงาน 101.67 79.06 และ 180.79 กิโลแคลอรี่ต่อ100กรัม มีความชื้น 73.83 79.10 และ 55.38 กรัมต่อ 100 กรัม ปริมาณโปรตีน 9.11 8.55 และ 11.05 กรัมต่อ 100 กรัม ปริมาณคาร์โบไฮเดรต 14.21 9.88 และ 29.36 กรัมต่อ 100 กรัม มีปริมาณไขมัน 0.95 0.61 และ 2.13 กรัมต่อ 100 กรัม ตามลำดับ สารสำคัญจากส่วนหัวใต้ดินตีนฮุ้งดอย พบว่า ขุนแม่ลาว (S5) มีสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงสุด เท่ากับ 0.0090 มิลลิกรัมต่อกรัมกรดแกลลิค เมื่อวิเคราะห์ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ พบว่าตีนฮุ้งดอยที่สารวจจากเขต อ.สะเมิง (S2) มีค่าการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด คือ 23.63 ± 0.03 % และการวิเคราะห์ปริมาณสารซาโปนินทั้งหมด พบว่าตีนฮุ้งดอยที่สารวจจากเขตบ้านแม่จอนหลวง ต.ขุนแม่วาก อ.แม่แจ่ม มีปริมาณสารมากที่สุด คือ 32.26±0.65 mg/g วิเคราะห์สารแคบไซซินในพริกแต่ละสายพันธุ์พบว่า พริกที่มีปริมาณสารแคบไซซินมาก มีปริมาณสารแคปไซซิน 2,111.61 - 505.52 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จำนวน 36 สายพันธุ์ รองลงมาพริกที่ปริมาณสารแคปไซซินปานกลาง มีปริมาณสารแคบไซซิน 416.06 - 111.68 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จำนวน 9 สายพันธุ์ และพริกที่มีปริมาณสารแคบไซซินน้อย มีปริมาณสารแคบไซซิน 97.96 - 14.12 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จำนวน 5 สายพันธุ์ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากผลผลิตและปริมาณสารแคบไซซินในพริกพื้นเมืองที่ศึกษาแล้วพบว่าพริก สายพันธุ์ที่มีศักยภาพในการผลิตและพัฒนาพันธุ์ต่อไป จำนวน 5 สายต้น ได้แก่ NRTC001 PKKC001 LEIC003 NSTC001 และ TAK001 การศึกษาสารสำคัญจากตัวอย่างเมล็ดมะกิ้งชนิดย่อย H. heteroclita supsp. heteroclita และ H. heteroclita supsp. indochinensis พบว่า กรดไขมันที่พบมากที่สุด คือ ไขมันไม่อิ่มตัวหลายตาแหน่ง เท่ากับ 39.10 - 42.70 กรัมต่อ 100 กรัม รองลงมา ได้แก่ กรดไลโนลีอิกและกรดไขมันโอเมก้า 6 เท่ากับ 38.90 - 42.50 กรัมต่อ 100 กรัม ไขมันอิ่มตัว 28.60 - 30.30 กรัมต่อ 100 กรัม และกรดปาล์มมิติก เท่ากับ 21.7 - 24.3 กรัมต่อ 100 กรัม กรดอะมิโนที่พบมากที่สุด คือ กรดกลูตามิก เท่ากับ 3.80 - 4.46 กรัมต่อ 100 กรัม รองลงมา ได้แก่ อาร์จีนีน และ กรดแอสพาร์ติก เท่ากับ 3.51 - 4.20 และ 2.09 - 2.54 กรัมต่อ 100 กรัม ตามลำดับ โปรตีน เท่ากับ 29.00 - 32.60 กรัมต่อ 100 กรัม และวิตามินอี เท่ากับ 5.10 - 13.10 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม โดย H. heteroclita supsp. heteroclita มีปริมาณกรดไขมัน กรดอะมิโน และโปรตีน มากกว่า H. heteroclita supsp. indochinensis ยกเว้นปริมาณวิตามินอีที่น้อยกว่า H. heteroclita supsp. indochinensis เนื่องมาจาก H. heteroclita supsp. heteroclita พบเฉพาะบนพื้นที่สูงตั้งแต่ระดับน้าทะเลปานกลาง 1,000 เมตร ขึ้นไป มีสภาพอากาศเย็นตลอดทั้งปี ทาให้การเจริญเติบโตช้าส่งผลให้มีการสะสมสารสำคัญเพิ่มมากขึ้น


ไฟล์แนบ
.pdf   29_2561.pdf (ขนาด: 7.06 MB / ดาวน์โหลด: 1,494)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม