04-19-2019, 11:38 AM
ทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคใบแห้งของหอมสาเหตุจากเชื้อ Xanthomonas axonopodis pv. allii
บูรณี พั่ววงษ์แพทย์, ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล, รุ่งนภา ทองเคร็ง, ทิพวรรณ กันหาญาติ และกาญจนา ศรีไม้
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
บูรณี พั่ววงษ์แพทย์, ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล, รุ่งนภา ทองเคร็ง, ทิพวรรณ กันหาญาติ และกาญจนา ศรีไม้
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคพืช เพื่อป้องกันกำจัดโรคใบแห้งของหอมที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis pv. allii ดำเนินการทดลองที่ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ระหว่างเดือนธันวาคม 2559 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2560 วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ 7 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีพ่นสาร copper hydroxide 77% WP อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สาร copper oxychloride 85% WP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สาร cuprous oxide 86.2% WG อัตรา 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สาร kasugamycin hydrochloride hydrate 2% W/V SL อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สาร tribasic copper sulfate 34.5% W/V SC อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สาร thiram 80% WG อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีพ่นน้ำเปล่าเป็นกรรมวิธีเปรียบเทียบ เริ่มพ่นสารครั้งแรกหลังปลูกเชื้อสาเหตุโรค 1 วัน พ่นทุก 7 วัน จำนวน 4 ครั้ง ประเมินความรุนแรงของโรคก่อนพ่นสารทุกครั้ง และหลังพ่นสารครั้งสุดท้าย 7 และ 14 วัน ผลการทดลองพบว่า สาร tribasic copper sulfate 34.5% W/V SC มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรคใบแห้งของหอมแดงได้ดี รองลงมา คือ สาร cuprous oxide 86.2% WG ซึ่งมีค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของโรคใบแห้งเท่ากับ 5.06 และ 4.88 ตามลำดับ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีพ่นน้ำเปล่าที่มีค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของโรคใบแห้งเท่ากับ 5.73 ส่วนสาร copper hydroxide 77% WP สาร copper oxychloride 85% WP สาร kasugamycin hydrochloride hydrate 2% W/V SL และสาร thiram 80% WG มีค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของโรคใบแห้งเท่ากับ 5.21, 5.44, 5.27 และ 5.24 ตามลำดับ ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับกรรมวิธีพ่นน้ำเปล่า