04-19-2019, 11:25 AM
ทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันก้าจัดโรคราน้ำค้างในคะน้าสาเหตุจากเชื้อรา Peronospora parasitica
บุษราคัม อุดมศักดิ์, พีระวรรณ พัฒโนภาส และสุรีย์พร บัวอาจ
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
บุษราคัม อุดมศักดิ์, พีระวรรณ พัฒโนภาส และสุรีย์พร บัวอาจ
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
โรคราน้ำค้างผักคะน้า สาเหตุจากเชื้อรา Peronospora parasitica Pers. ex Fr. เป็นโรคที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจไทย พบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช แต่จะรุนแรงในระยะต้นอ่อนมากกว่าระยะต้นโต โดยพบได้ในทุกแหล่งปลูกคะน้า ในสภาพที่อากาศเย็น ความชื้นสูงโรคจะระบาดรุนแรง การพ่นด้วยสารเคมีซ้ำและอัตราเดิม อาจทำให้ประสิทธิภาพในการควบคุมโรคไม่ได้ผลร้อยเปอร์เซนต์ เนื่องจากปัญหาการดื้อยาของเชื้อรา จึงได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพสารฯ จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ captan 50 % WP mancozeb 80% WP chlorothalonil 75% WP copper hydroxide 77% WP benomyl 50% WP tridemorph 75% EC folpet 50% WP propamocarb hydrochloride 72.2% SL และ mancozeb + metalaxyl 68% WG ที่ อ. ท่ามะกา จ. กาญจนบุรี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2559 ถึงเดือนเมษายน 2560 โดยวิธีพ่นทุก 5 วัน จำนวน 3 ครั้ง วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ บันทึกผลการทดลองโดยประเมินเป็นเปอร์เซนต์ของความรุนแรงของโรค นำมาคิดเป็นระดับความรุนแรงของโรคตั้งแต่ 0 ถึง 6 ผลการทดลองเมื่อพ่นสารฯ ครบ 3 ครั้ง พบว่ากรรมวิธีที่พ่นด้วยสารฯ mancozeb + metalaxyl 68% WG อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถควบคุมโรคราน้ำค้างได้สูงสุด โดยมีระดับความรุนแรงของโรคเท่ากับ 1.86 รองลงมา ได้แก่ กรรมวิธีที่พ่นด้วยสารฯ mancozeb 80% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร แต่ทั้งนี้ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารฯ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่แตกต่างกับกรรมวิธีที่พ่นด้วยน้ำเปล่า ซึ่งมีระดับความรุนแรงของโรคเท่ากับ3.82 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการทดลอง เป็นข้อมูลใน 1 ฤดูปลูก จึงได้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ดังนั้นจึงต้องรอผลการทดลองในฤดูที่ 2 ซึ่งจะทำการทดลองในปี 2561 เพื่อเป็นการยืนยันผลการทดลองอีกครั้ง จึงจะสามารถสรุปผลการทดลองได้ต่อไป