03-17-2017, 10:09 AM
การศึกษาชนิดของต้นตอสำหรับขยายพันธุ์พืชตระกูลแตงที่ทนทาน/ต้านทานต่อโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อ Fusarium oxysporum
กฤษณ์ ลินวัฒนา, ทวีพงษ์ ณ น่าน และตราคุรฑ สิลาสุวรรณ
สถาบันวิจัยพืชสวน และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน
กฤษณ์ ลินวัฒนา, ทวีพงษ์ ณ น่าน และตราคุรฑ สิลาสุวรรณ
สถาบันวิจัยพืชสวน และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน
การการศึกษาการขยายพันธุ์พืชตระกูลแตงโดยใช้ต้นตอเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ดำเนินการที่โรงเรือนในสวนเฉลิมพระเกียรติ 55 พรรษา สมเด็จพระเทพฯ ตั้งแต่ปี 2555-2556 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดพันธุ์พืชตระกูลแตงที่ทนทาน/ต้านทานต่อ 1) โรคไส้เดือนฝอยรากปม 2) โรค Fusarium wilt และความทนทานต่อน้ำท่วมขัง ทั้ง 3 การททดลอง วางแผนการทดลองแบบ RCB 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 9 กรรมวิธี ได้แก่ 1 ฟักทอง (SAAS) 2 แฟง 3 น้ำเต้า -4 ฟักทอง (น่าน) 5 มะระจีน 6 มะระขี้นก 1 7 มะระขี้นก 2 การทดลองที่ 1 เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ผลผลิต ระดับการเกิดโรค 1 = พืชปกติ 2 = ใบเหี่ยว 1 ใบต่อต้น 3 = 1/3 ของต้นแสดงอาการเหี่ยว 4 = 2/3 ของต้นแสดงอาการเหี่ยว 5 = แสดงอาการเหี่ยวทั้งต้นหรือต้นตาย การทดลองที่ 2 เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ผลผลิต ระดับการเกิดโรค 0 = ไม่มีปม; 1 = มีปมเกิดขึ้นเล็กน้อย; 2 = เกิดปมน้อยกว่า 25%; 3 = เกิดปม 25 - 50%; 4 = เกิดปม 50 - 75%; และ 5 = เกิดปมมากกว่า 75% การทดลองที่ 3 เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ผลผลิต ระดับการเกิดโรคได้แก่ 1= พืชปกติ 2 = ใบเหี่ยว 1 ใบต่อต้น 3 = 1/3 ของต้นแสดงอาการเหี่ยว 4 = 2/3 ของต้นแสดงอาการเหี่ยว 5 = แสดงอาการเหี่ยวทั้งต้นหรือต้นตาย หลังจากได้ผลการศึกษาในโรงเรือนสวนเฉลิมพระเกียรติฯ นำต้นตอพันธุ์ที่ต้านทาน/ทนทาน ศึกษาในแปลงปลูกโดยใช้กิ่งพันธุ์ดีพริกที่เป็นการค้าและมะระจีนเป็นต้นพันธุ์ดีเสียบยอดปลูกศึกษาที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน จ.น่าน และศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย จ.เชียงราย วางแผนการทดลองแบบ RCB 14 ซ้ำ 4 กรรมวิธี การเก็บข้อมูล เช่นเดียวกับการทดลองเพื่อศึกษาระดับทนทาน/ต้านทานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลผลิตและคุณภาพ
ผลการทดลอง ด้านการศึกษาในโรงเรือนด้านชนิดพันธุ์ที่ต้านทาน/ทนทาน ทั้ง 3 การทดลอง พบว่าฟักทองทั้งน่าน และ SAAS มีความต้านทาน/ทนทาน ต่อทั้งโรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอยที่ระดับ และโรคที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium wilt ที่ระดับ และทนต่อน้ำท่วมขัง ที่ระดับ ซึ่งให้ผลในระดับที่ดี เหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นต้นตอสำหรับพืชตระกูลแตง สำหรับการศึกษาในแปลงปลูกโดยนำมะระจีนเป็นกิ่งพันธุ์ดีเสียบยอดบนต้นตอดังกล่าพบว่า การใช้ต้นตอที่ผ่านการคัดเลือกโรคมีแนวโน้มการเจริญเติบโตดีกว่าที่ปลูกโดยไม่มีการใช้ต้นตอ อย่างไรก็ตาม การปลูกถ่ายเชื้อรา Fusarium oxysporum และ Nematode ลงในกรรมวิธีดำเนินการในระยะที่อายุของพืช 1.5 เดือน อาจมีผลทำให้พืชไม่แสดงอาการของโรคทั้งในทุกๆ กรรมวิธี