01-12-2017, 02:31 PM
การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์
ทักษิณา ศันสยะวิชัย, มนัสชญา สายพนัส, รวีวรรณ เชื้อกิติศักดิ์, ยุพา สุวิเชียร และณัฐธิดา ทองนาค
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุตรดิตถ์ และสำนักปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
ทักษิณา ศันสยะวิชัย, มนัสชญา สายพนัส, รวีวรรณ เชื้อกิติศักดิ์, ยุพา สุวิเชียร และณัฐธิดา ทองนาค
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุตรดิตถ์ และสำนักปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ดำเนินงานในแปลงเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ ระหว่างเดือน ตุลาคม 2553 ถึง กันยายน 2557 จำนวน 2 แปลง ใน ต.น้ำพี้ อ.ทองแสนขัน เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการผลิตอ้อยโรงงานที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่ากรรมวิธีทดสอบปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ให้ผลผลิตน้ำหนักอ้อยสด ผลผลิตน้ำตาล ต้นทุนและผลตอบแทน รายได้ต่อต้นทุน (BCR) ทั้งอ้อยปลูก อ้อยตอ 1 อ้อยตอ 2 สูงกว่า กรรมวิธีของเกษตรปลูกอ้อยพันธุ์ LK-92-11 ปฏิบัติตามกรรมวิธีของเกษตรกร โดยให้ผลผลิตน้ำหนักอ้อยสดเฉลี่ย 3 ปี (13.52 ตันต่อไร่) คิดเป็นร้อยละ 22 ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 3 ปี (1.92 ตันซีซีเอสต่อไร่) คิดเป็นร้อยละ 22 ในด้านต้นทุนและผลตอบแทน เฉลี่ย 3 ปี (15,856 บาทต่อไร่) คิดเป็นร้อยละ 20.48 และรายได้ต่อต้นทุน (BCR) เฉลี่ย 3 ปี (BCR = 2.14) คิดเป็นร้อยละ 7