การวิจัยและพัฒนาด้านดิน น้ำและปุ๋ยอ้อย
#1
การวิจัยและพัฒนาด้านดิน น้ำและปุ๋ยอ้อย
กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ, ศุภกาญจน์ ล้วนมณี, สมควร คล้องช้าง, ดาวรุ่ง คงเทียน, อุดม วงศ์ชนะภัย, สุภาพร สุขโต, วาสนา วันดี, เบญจมาศ คำสืบ, บุญญาภา ศรีหาตา, วสันต์ วรรณจักร, วัลลีย์ อมรพล, พินิจ กัลยาศิลปิน, เบญจรัตน์ วุฒิกมลชัย, อนงค์นาฏ พรหมทะสาร, สมฤทัย ตันเจริญ, อุบล หินเธาว์, ศรีสุดา ทิพยรักษ์, สุปรานี มั่นหมาย, ภาวนา ลิกขนานนท์, ภัสชภณ หมื่นแจ้ง, นิลุบล ทวีกุล, ประชา ถ้ำทอง, ชยันต์ ภักดีไทย, อนุสรณ์ เทียนศิริฤกษ์, วัฒนศักดิ์ ชมภูนิช, ปรีชา กาเพ็ชร, อรรถสิทธิ์ บุญธรรม, วิภาวรรณ กิติวัชระเจริญ, วันทนา เลิศศิริวรกุล, กาญจนา กิระศักดิ์, ทักษิณา ศันสยะวิชัย และเหรียญทอง พานสายตา
สถาบันวิจัยพืชร่และพืชทดแทนพลังงาน, ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น, ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์, ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง, กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จ.ขอนแก่น, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมุกดาหาร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสีคิ้ว, สำนักวิจัยและพัฒนาทางการเกษตรเขตที่ 5 จ.ชัยนาท, ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรราชบุรี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุทัยธานี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปราจีนบุรี

          โครงการวิจัยและพัฒนาด้านดิน น้ำและปุ๋ยอ้อย ได้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2554 ถึง 2558 มี 3 กิจกรรมทดลอง ประกอบด้วย 1) การวิจัยและพัฒนาดินการจัดการและปุ๋ยอ้อย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กิจกรรมย่อย ได้แก่ 1.1) วิจัยและพัฒนาการตอบสนองของอ้อยต่อการจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์กับ 5 กลุ่มดินในพื้นปลูกอ้อย และ 1.2) วิจัยการใช้ปัจจัยแบบผสมผสานต่อผลผลิตอ้อย 2) ศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการน้ำในไร่อ้อย และ 3) ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของอ้อย

          ผลการทดลองพบว่า 1) กลุ่มดินทราย ที่ปรับปรุงดินด้วยกากตะกอนหม้อกรองอ้อย 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับโดโลไมท์ 100 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตอ้อยปลูก และอ้อยตอ1 เพิ่มขึ้น 10 - 34 และ 4 - 52 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบกับการไม่ปรับปรุง ส่วนการปรับปรุงด้วยมูลไก่แกลบ 800 กิโลกรัมต่อไร่นั้น กลุ่มดินร่วนให้ผลผลิตอ้อยปลูก และอ้อยตอ1 เพิ่มขึ้นสูงสุด รองลงมา ได้แก่ กลุ่มดินเหนียว และกลุ่มดินนา ตามลำดับ สำหรับกลุ่มดินตื้นที่ปรับปรุงด้วยกากตะกอนหม้อกรองอ้อย และกลุ่มดินด่างที่ปรับปรุงด้วยกำมะถันผง ให้ผลผลิตอ้อยปลูก และอ้อยตอ1 เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่คุ้มค่ากับการลงทุน 2) อ้อยพันธุ์อู่ทอง14 (94-2-106) ที่ปลูกในกลุ่มดินด่าง ให้ผลผลิตอ้อยปลูก และอ้อยตอ1 เพิ่มขึ้น 13 - 32 และ 6 - 15 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบกับพันธุ์อ้อยที่เกษตรกรนิยม ส่วนพันธุ์ขอนแก่น3 ให้ผลผลิตอ้อยปลูก และอ้อยตอ1 เพิ่มขึ้นสูงสุดในดินทราย เฉลี่ย 7 - 25 และ 8 - 18 เปอร์เซ็นต์  รองลงมาได้แก่ กลุ่มดินนาที่ปลูกอ้อยด้วยพันธุ์ขอนแก่น3 (หรือสุพรรณบุรี80 ที่ปลูกในชุดดินราชบุรี) กลุ่มดินร่วน กลุ่มดินตื้น และกลุ่มดินเหนียว ตามลำดับ และพบว่า การปรับปรุงดินและใช้พันธุ์อ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนได้มากขึ้น และ 3) ได้สมการการตอบสนองต่ออัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่เฉพาะเจาะจงกับอ้อยปลูกและอ้อยตอภายใต้สภาพที่มีการจัดการดินแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เพื่อพัฒนาคำแนะนำอย่างเป็นระบบและถูกต้องมากขึ้นกว่าเดิม 4) ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยมูลไก่ ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต และวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร เช่น น้ำกากส่า และน้ำเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลัง สามารถใช้ผสมผสานร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิตอ้อย และลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีได้ 5) ได้ค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำ (Kc) ของอ้อยปลูก และอ้อยตอพันธุ์ขอนแก่น3 เพื่อใช้กำหนดปริมาณการใช้น้ำตามความต้องการของอ้อยให้สอดคล้องกับพื้นที่ปลูก 6) ได้แผนที่สภาพแวดล้อมของการผลิตอ้อยที่มีผลกระทบจากปัจจัยสภาพแวดล้อมที่จำกัดสำหรับอ้อยในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือและการประยุกต์ใช้แบบจำลองเพื่อคาดการณ์และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อย ได้สมการอย่างง่ายและพัฒนาเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป (cal.cane) สำหรับสมาร์ทโฟนที่มีระบบปฏิบัติการเป็นแอนดรอยด์ เพื่อประเมินผลผลิตอ้อยพันธุ์ขอนแก่น3 และ แอลเค92-11 และ 7) ได้แนวทางเขตกรรมที่ถูกต้องเพื่อลดผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมขัง และอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น เช่น การวางแผนช่วงปลูกและเก็บเกี่ยวในพื้นที่เสี่ยงกับน้ำท่วม การเตรียมดินที่ถูกต้อง และการเพิ่มประสิทธิภาพการให้น้ำอ้อยในตอนกลางคืนแทนกลางวัน นอกเหนือจาการใช้พันธุ์และปุ๋ยที่เหมาะสมกับพื้นที่


ไฟล์แนบ
.pdf   36_2558.pdf (ขนาด: 1.12 MB / ดาวน์โหลด: 3,128)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม