10-12-2016, 09:45 AM
ศูนย์ต้นแบบการผลิตขยายศัตรูธรรมชาติเป็นปริมาณมาก
พัชรีวรรณ มณีสาคร, อัมพร วิโนทัย, รจนา ไวยเจริญ, ประภัสสร เชยคำแหง, สุวัฒน์ พูลพาน, วาทิน จันทร์สง่า และสุพรรณี เป็งคำ
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
พัชรีวรรณ มณีสาคร, อัมพร วิโนทัย, รจนา ไวยเจริญ, ประภัสสร เชยคำแหง, สุวัฒน์ พูลพาน, วาทิน จันทร์สง่า และสุพรรณี เป็งคำ
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
ผลการดำเนินงานในปี 2556 นี้ ได้ทำการศึกษาเทคนิคการปล่อยแตนเบียนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมสำหรับการเบียนของแตนเบียน Anagyrus lopezi กับจำนวนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูวัย 3 ที่เลี้ยงบนต้นมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 11 และผลฟักทอง วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 5 ซ้ำ 8 กรรมวิธี ที่กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2555 – สิงหาคม 2556 โดยปล่อยแตนเบียน Anagyrus lopezi เพศผู้และเพศเมีย จำนวน 1, 5, 10 และ 15 คู่ ในกรงที่มีเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูบนต้นมันสำปะหลังจำนวน 100 ตัวต่อต้น และในกรงที่มีเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูบนผลฟักทองจำนวน 100 ตัวต่อผล ผลการทดสอบพบว่า จำนวนเฉลี่ยแตนเบียนเพศผู้ที่ได้จากการปล่อยแตนเบียนเริ่มต้น 15 คู่ ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติคือ 40.2 และ 45 ตัว และการปล่อยแตนเบียนเริ่มต้น 10 และ 5 คู่ ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติคือ 35.2, 34.8 และ 26.6, 35.6 ตัวตามลำดับ ส่วนการปล่อยแตนเบียนเริ่มต้น 1 คู่ ให้ผลไม่แตกต่างเช่นเดียวกันคือ 21.4 และ 22 ตัว เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบรวมทุกกรรมวิธีพบว่า การปล่อยแตนเบียนเริ่มต้น 15 คู่ ให้ผลผลิตจำนวนแตนเบียนสูงสุด โดยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากกรรมวิธีที่ปล่อยแตนเบียนเริ่มต้น 10 และ 5 คู่ และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติจากกรรมวิธีปล่อยแตนเบียนเริ่มต้น 5 คู่ และ 1 คู่ในมันสำปะหลัง สำหรับจำนวนเฉลี่ยแตนเบียนเพศเมียที่ได้จากการเบียนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูที่เลี้ยงด้วยต้นมันสำปะหลังและผลฟักทองเมื่อเปรียบเทียบทางสถิติพบว่า กรรมวิธีที่ 2 - 8 ให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติ คือ 30.6, 31,34.8, 24.2, 33, 33 และ 31.6 ตัว ตามลำดับ แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีที่ 1 คือ 20.4 ตัว และเมื่อเปรียบเทียบจำนวนเฉลี่ยรวมแตนเบียนทั้งหมดที่ได้จากกรรมวิธีต่างๆ พบว่ากรรมวิธีที่ 4 และ 8 ได้จำนวนผลผลิตแตนเบียนสูงสุดคือ 75 และ 76.6 ตัว ซึ่งไม่แตกต่างทางสถิติจากกรรมวิธีที่ 3, 6 และ 7 คือ 66.2, 68.6 และ 67.8 ตัว ตามลำดับ แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับกรรมวิธีที่ 1 และ 5 คือ 41.8 และ 46.2 ตัว