คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศูนย์ต้นแบบการผลิตขยายศัตรูธรรมชาติเป็นปริมาณมาก - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6)
+--- เรื่อง: ศูนย์ต้นแบบการผลิตขยายศัตรูธรรมชาติเป็นปริมาณมาก (/showthread.php?tid=1872)



ศูนย์ต้นแบบการผลิตขยายศัตรูธรรมชาติเป็นปริมาณมาก - doa - 10-12-2016

ศูนย์ต้นแบบการผลิตขยายศัตรูธรรมชาติเป็นปริมาณมาก
พัชรีวรรณ มณีสาคร, อัมพร วิโนทัย, รจนา ไวยเจริญ, ประภัสสร เชยคำแหง, สุวัฒน์ พูลพาน, วาทิน จันทร์สง่า และสุพรรณี เป็งคำ
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน

          ผลการดำเนินงานในปี 2556 นี้ ได้ทำการศึกษาเทคนิคการปล่อยแตนเบียนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมสำหรับการเบียนของแตนเบียน Anagyrus lopezi กับจำนวนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูวัย 3 ที่เลี้ยงบนต้นมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 11 และผลฟักทอง วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 5 ซ้ำ 8 กรรมวิธี ที่กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2555 – สิงหาคม 2556 โดยปล่อยแตนเบียน Anagyrus lopezi เพศผู้และเพศเมีย จำนวน 1, 5, 10 และ 15 คู่ ในกรงที่มีเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูบนต้นมันสำปะหลังจำนวน 100 ตัวต่อต้น และในกรงที่มีเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูบนผลฟักทองจำนวน 100 ตัวต่อผล ผลการทดสอบพบว่า จำนวนเฉลี่ยแตนเบียนเพศผู้ที่ได้จากการปล่อยแตนเบียนเริ่มต้น 15 คู่ ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติคือ 40.2 และ 45 ตัว และการปล่อยแตนเบียนเริ่มต้น 10 และ 5 คู่ ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติคือ 35.2, 34.8 และ 26.6, 35.6 ตัวตามลำดับ ส่วนการปล่อยแตนเบียนเริ่มต้น 1 คู่ ให้ผลไม่แตกต่างเช่นเดียวกันคือ 21.4 และ 22 ตัว เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบรวมทุกกรรมวิธีพบว่า การปล่อยแตนเบียนเริ่มต้น 15 คู่ ให้ผลผลิตจำนวนแตนเบียนสูงสุด โดยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากกรรมวิธีที่ปล่อยแตนเบียนเริ่มต้น 10 และ 5 คู่ และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติจากกรรมวิธีปล่อยแตนเบียนเริ่มต้น 5 คู่ และ 1 คู่ในมันสำปะหลัง สำหรับจำนวนเฉลี่ยแตนเบียนเพศเมียที่ได้จากการเบียนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูที่เลี้ยงด้วยต้นมันสำปะหลังและผลฟักทองเมื่อเปรียบเทียบทางสถิติพบว่า กรรมวิธีที่ 2 - 8 ให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติ คือ 30.6, 31,34.8, 24.2, 33, 33 และ 31.6 ตัว ตามลำดับ แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีที่ 1 คือ 20.4 ตัว และเมื่อเปรียบเทียบจำนวนเฉลี่ยรวมแตนเบียนทั้งหมดที่ได้จากกรรมวิธีต่างๆ พบว่ากรรมวิธีที่ 4 และ 8 ได้จำนวนผลผลิตแตนเบียนสูงสุดคือ 75 และ 76.6 ตัว ซึ่งไม่แตกต่างทางสถิติจากกรรมวิธีที่ 3, 6 และ 7 คือ 66.2, 68.6 และ 67.8 ตัว ตามลำดับ แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับกรรมวิธีที่ 1 และ 5 คือ 41.8 และ 46.2 ตัว