10-11-2016, 10:46 AM
การป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว Coconut black-headed caterpillar; Opisina arenosella (Walker) โดยวิธีพ่นทางใบ
สุเทพ สหายา, พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท, พวงผกา อ่างมณี, สุภางคนา ถิรวุธ, สุชาดา สุพรศิลป์, สรรชัย เพชรธรรมรส และสิริวิภา พลตรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
สุเทพ สหายา, พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท, พวงผกา อ่างมณี, สุภางคนา ถิรวุธ, สุชาดา สุพรศิลป์, สรรชัย เพชรธรรมรส และสิริวิภา พลตรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว ;Opisina arenosella (Walker) ด้วยวิธีการพ่นสารทางใบ ดำเนินการทดลองที่อำเภอเมือง และอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2556 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ มี 5 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีการพ่นสาร flubendiamide 20%WG chlorantraniliprole 5.17%SC spinosad 12%SC และ lufenuron 5%EC อัตรา 5 กรัม 20 มิลลิลิตร 20 มิลลิลิตร และ 20 มิลลิลิตร/น า 20 ลิตร ตามลำดับ เปรียบเทียบกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร ผลการทดลองเมื่อใช้ข้อมูลจำนวนหนอนหัวดำที่พบภายหลังการพ่นสาร และข้อมูลการทดลองความเป็นพิษ (bio-assay) ของสารทดลองโดยวิธีจุ่มใบพืช (leaf dipping) พบว่าทุกกรรมวิธีมีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว โดยการพ่นสาร spinosad 12%SC มีประสิทธิภาพดีที่สุด รองลงมาได้แก่ การพ่นสาร chlorantraniliprole 5.17%SC, flubendiamide 20%WG lufenuron 5%EC ตามลำดับ โดยเครื่องยนต์พ่นสารชนิดแรงดันน้ำสูง แนะนำในมะพร้าวที่มีความสูงไม่เกิน 10 เมตร เนื่องจากถ้าสูงมากเกินไป เครื่องพ่นสารอาจมีแรงดันไม่เพียงพอทำให้ละอองสารจะไม่ทั่วถึง