คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวโดยวิธีพ่นทางใบ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6)
+--- เรื่อง: การป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวโดยวิธีพ่นทางใบ (/showthread.php?tid=1865)



การป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวโดยวิธีพ่นทางใบ - doa - 10-11-2016

การป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว Coconut black-headed caterpillar; Opisina arenosella (Walker) โดยวิธีพ่นทางใบ
สุเทพ สหายา, พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท, พวงผกา อ่างมณี, สุภางคนา ถิรวุธ, สุชาดา สุพรศิลป์, สรรชัย เพชรธรรมรส และสิริวิภา พลตรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          การป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว ;Opisina arenosella (Walker) ด้วยวิธีการพ่นสารทางใบ ดำเนินการทดลองที่อำเภอเมือง และอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2556 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ มี 5 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีการพ่นสาร flubendiamide 20%WG chlorantraniliprole 5.17%SC spinosad 12%SC และ lufenuron 5%EC อัตรา 5 กรัม 20 มิลลิลิตร 20 มิลลิลิตร และ 20 มิลลิลิตร/น า 20 ลิตร ตามลำดับ เปรียบเทียบกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร ผลการทดลองเมื่อใช้ข้อมูลจำนวนหนอนหัวดำที่พบภายหลังการพ่นสาร และข้อมูลการทดลองความเป็นพิษ (bio-assay) ของสารทดลองโดยวิธีจุ่มใบพืช (leaf dipping) พบว่าทุกกรรมวิธีมีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว โดยการพ่นสาร spinosad 12%SC มีประสิทธิภาพดีที่สุด รองลงมาได้แก่ การพ่นสาร chlorantraniliprole 5.17%SC, flubendiamide 20%WG lufenuron 5%EC ตามลำดับ โดยเครื่องยนต์พ่นสารชนิดแรงดันน้ำสูง แนะนำในมะพร้าวที่มีความสูงไม่เกิน 10 เมตร เนื่องจากถ้าสูงมากเกินไป เครื่องพ่นสารอาจมีแรงดันไม่เพียงพอทำให้ละอองสารจะไม่ทั่วถึง