10-10-2016, 11:02 AM
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของหนูนาใหญ่ (Rattus argentiventer, Robinson and Kloss 1916) ที่พบในประเทศไทย
วิชาญ วรรธนะไกวัล, ปราสาททอง พรหมเกิด, เกรียงศักดิ์ หามะฤทธิ์, สมเกียรติ กล้าแข็ง และทรงทัพ แก้วตา
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
วิชาญ วรรธนะไกวัล, ปราสาททอง พรหมเกิด, เกรียงศักดิ์ หามะฤทธิ์, สมเกียรติ กล้าแข็ง และทรงทัพ แก้วตา
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของหนูนาใหญ่ ออกแบบ primer จำนวน 2 ชุด โดยชุดแรกออกแบบให้จำเพาะกับหนูนาใหญ่เท่านั้น เพื่อใช้ในการจำแนกชนิดของหนูด้วยเทคนิค PCR ชุดที่สอง ออกแบบ primer ให้ครอบคลุมนิวคลีโอไทด์บริเวณอนุรักษ์ เพื่อนำมาใช้ในการถอดรหัสพันธุกรรมด้วยเทคนิค Sequencing โดยที่ primer ชุดที่ออกแบบไว้ใช้ในการจำแนกชนิดของหนูนาใหญ่จำนวน 2 คู่ คือ Multiplex (2 plex) PCR ได้แก่ R.a outer F- R.a outer R และ R.a Inner F - R.a Inner R ซึ่งหนูนาใหญ่จะให้ผลเป็นแถบ DNA 2 แถบ ขนาด 439 และ 179 เบส ขณะที่หนูสปีชีส์อื่นๆ จะมีแถบดีอ็นเอเพียง 1 แถบ ขนาด 439 เบส เท่านั้น จากผลการออกแบบไพร์เมอร์ดังกล่าวเมื่อนำมาทดสอบกับหนูนาใหญ่ที่ดักได้จากธรรมชาติทางจังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ที่มีลักษณะสัณฐานวิทยาเป็นหนูนาใหญ่และหนูชนิดอื่นมาเป็นกลุ่มควบคุม พบว่าเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ซึ่งจากผล PCR ที่ได้ต้องทำการถอดรหัสพันธุกรรมของหนูนาใหญ่ที่ได้มาเพื่อทำการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมต่อไป