คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของหนูนาใหญ่ที่พบในประเทศไทย - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6)
+--- เรื่อง: ความหลากหลายทางพันธุกรรมของหนูนาใหญ่ที่พบในประเทศไทย (/showthread.php?tid=1825)



ความหลากหลายทางพันธุกรรมของหนูนาใหญ่ที่พบในประเทศไทย - doa - 10-10-2016

ความหลากหลายทางพันธุกรรมของหนูนาใหญ่ (Rattus argentiventer, Robinson and Kloss 1916) ที่พบในประเทศไทย
วิชาญ วรรธนะไกวัล, ปราสาททอง พรหมเกิด, เกรียงศักดิ์ หามะฤทธิ์, สมเกียรติ กล้าแข็ง และทรงทัพ แก้วตา
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของหนูนาใหญ่ ออกแบบ primer จำนวน 2 ชุด โดยชุดแรกออกแบบให้จำเพาะกับหนูนาใหญ่เท่านั้น เพื่อใช้ในการจำแนกชนิดของหนูด้วยเทคนิค PCR ชุดที่สอง ออกแบบ primer ให้ครอบคลุมนิวคลีโอไทด์บริเวณอนุรักษ์ เพื่อนำมาใช้ในการถอดรหัสพันธุกรรมด้วยเทคนิค Sequencing โดยที่ primer ชุดที่ออกแบบไว้ใช้ในการจำแนกชนิดของหนูนาใหญ่จำนวน 2 คู่ คือ Multiplex (2 plex) PCR ได้แก่ R.a outer F- R.a outer R และ R.a Inner F - R.a Inner R ซึ่งหนูนาใหญ่จะให้ผลเป็นแถบ DNA 2 แถบ ขนาด 439 และ 179 เบส ขณะที่หนูสปีชีส์อื่นๆ จะมีแถบดีอ็นเอเพียง 1 แถบ ขนาด 439 เบส เท่านั้น จากผลการออกแบบไพร์เมอร์ดังกล่าวเมื่อนำมาทดสอบกับหนูนาใหญ่ที่ดักได้จากธรรมชาติทางจังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ที่มีลักษณะสัณฐานวิทยาเป็นหนูนาใหญ่และหนูชนิดอื่นมาเป็นกลุ่มควบคุม พบว่าเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ซึ่งจากผล PCR ที่ได้ต้องทำการถอดรหัสพันธุกรรมของหนูนาใหญ่ที่ได้มาเพื่อทำการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมต่อไป