08-05-2016, 11:15 AM
ทดสอบผลของสารป้องกันกำจัดแมลงต่อแตนเบียนควบคุมแมลงดำหนามมะพร้าว
รจนา ไวยเจริญ, อัมพร วิโนทัย, ประภัสสร เชยคำแหง และเสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์
กลุ่มกีฎและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
รจนา ไวยเจริญ, อัมพร วิโนทัย, ประภัสสร เชยคำแหง และเสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์
กลุ่มกีฎและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ทดสอบผลของสารป้องกันแมลงต่อตัวเต็มวัยแตนเบียน Tetrastichus brontispae Ferriere และ Asecodes hispinarum Boucek ในห้องปฏิบัติการ ทำการทดสอบกับสารป้องกันกำจัดแมลงที่ใช้ควบคุมแมลงศัตรูมะพร้าว จำนวน 11 กรรมวิธี มี 5 ซ้ำ ได้แก่ thiamethoxam 25 %WG อัตรา 2 และ 4 กรัม/น้ำ 5 ลิตร imidacloprid 70 %WS อัตรา 3 และ 6 กรัม/น้ำ 5 ลิตร carbaryl 85 %WP อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร chlorpyrifos 40 %EC อัตรา 35 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร Bt var. aizawai อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร Bt var. tenebrionis อัตรา 80 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร Metarhizium anisopliae ความเข้มข้น 1 x 10(9) สปอร์/มิลลิลิตร Steinernema carpocapsae อัตรา 2,000 ตัว/มิลลิลิตร และน้ำเปล่า เป็นกรรมวิธีเปรียบเทียบ ทำการทดสอบปล่อยแตนเบียนลงในหลอดพลาสติกชุบสารฯ แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง 1, 7, 10, 14 และ 21 วัน หลังจากนั้นตรวจผลอัตราการตายของแตนเบียนที่ 24 และ 48 ชั่วโมงหลังจากเริ่มทดสอบพบว่า สาร thiamethoxam 25 %WG, imidacloprid 70 %WS, carbaryl 85 %WP และ chlorpyrifos 40 %EC เป็นพิษร้ายแรงต่อแตนเบียนทั้ง 2 ชนิด ทำให้แตนตาย 90.57 - 100 % ส่วน Bt var. aizawai และ Bt var.tenebrionis มีแนวโน้มไม่เป็นพิษต่อแตนเบียนทั้ง 2 ชนิด และสำหรับ Metarhizium anisopliae และ Steinernema carpocapsae มีแนวโน้มว่าเป็นพิษน้อยต่อแตนเบียนทั้ง 2 ชนิด