คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ทดสอบผลของสารป้องกันกำจัดแมลงต่อแตนเบียนควบคุมแมลงดำหนามมะพร้าว - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27)
+--- เรื่อง: ทดสอบผลของสารป้องกันกำจัดแมลงต่อแตนเบียนควบคุมแมลงดำหนามมะพร้าว (/showthread.php?tid=1657)



ทดสอบผลของสารป้องกันกำจัดแมลงต่อแตนเบียนควบคุมแมลงดำหนามมะพร้าว - doa - 08-05-2016

ทดสอบผลของสารป้องกันกำจัดแมลงต่อแตนเบียนควบคุมแมลงดำหนามมะพร้าว
รจนา ไวยเจริญ, อัมพร วิโนทัย, ประภัสสร เชยคำแหง และเสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์
กลุ่มกีฎและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทดสอบผลของสารป้องกันแมลงต่อตัวเต็มวัยแตนเบียน Tetrastichus brontispae Ferriere และ Asecodes hispinarum Boucek ในห้องปฏิบัติการ ทำการทดสอบกับสารป้องกันกำจัดแมลงที่ใช้ควบคุมแมลงศัตรูมะพร้าว จำนวน 11 กรรมวิธี มี 5 ซ้ำ ได้แก่ thiamethoxam 25 %WG อัตรา 2 และ 4 กรัม/น้ำ 5 ลิตร imidacloprid 70 %WS อัตรา 3 และ 6 กรัม/น้ำ 5 ลิตร carbaryl 85 %WP อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร chlorpyrifos 40 %EC อัตรา 35 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร Bt var. aizawai อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร Bt var. tenebrionis อัตรา 80 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร Metarhizium anisopliae ความเข้มข้น 1 x 10(9) สปอร์/มิลลิลิตร Steinernema carpocapsae อัตรา 2,000 ตัว/มิลลิลิตร และน้ำเปล่า เป็นกรรมวิธีเปรียบเทียบ ทำการทดสอบปล่อยแตนเบียนลงในหลอดพลาสติกชุบสารฯ แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง 1, 7, 10, 14 และ 21 วัน หลังจากนั้นตรวจผลอัตราการตายของแตนเบียนที่ 24 และ 48 ชั่วโมงหลังจากเริ่มทดสอบพบว่า สาร thiamethoxam 25 %WG, imidacloprid 70 %WS, carbaryl 85 %WP และ chlorpyrifos 40 %EC เป็นพิษร้ายแรงต่อแตนเบียนทั้ง 2 ชนิด ทำให้แตนตาย 90.57 - 100 % ส่วน Bt var. aizawai และ Bt var.tenebrionis มีแนวโน้มไม่เป็นพิษต่อแตนเบียนทั้ง 2 ชนิด และสำหรับ Metarhizium anisopliae และ Steinernema carpocapsae มีแนวโน้มว่าเป็นพิษน้อยต่อแตนเบียนทั้ง 2 ชนิด