เปรียบเทียบประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ในการควบคุมด้วงหมัดผักในคะน้า
#1
เปรียบเทียบประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ในการควบคุมด้วงหมัดผักในคะน้า
วิไลวรรณ เวชยันต์, สาทิพย์ มาลี, อิศเรส เทียนทัด และสมชัย สุวงศ์ศักดิ์ศรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทดสอบประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ในการควบคุมด้วงหมัดผักในคะน้า ดำเนินการทดลองที่ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างมกราคม - เมษายน 2555 โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี คือ ใช้ไส้เดือนฝอย Steinernema riobrave อัตรา อัตรา 2x10(7) ตัวต่อน้ำ 20 ลิตร, Steinernema carpocapsae อัตรา 2x10(7) ตัวต่อน้ำ 20 ลิตร, พ่น Metarhizium anisopae อัตรา 1x10(9) มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร, พ่น Bacillus thruringiensis subsp. tenebrionis อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เปรียบเทียบกับการพ่นสาร fipronil (แอสเซ็นด์) 5% SC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และไม่พ่นสารป้องกันกำจัดแมลง (control) ทำการตรวจนับจำนวนด้วงหมัดผักในแปลงคะน้าก่อนการทดลอง พบตัวเต็มวัยด้วงหมัดผักจำนวน 54, 47, 49, 39, 45 และ 43 ตัว ตามลำดับ จำนวนด้วงหมัดผักในแต่ละกรรมวิธีก่อนการพ่นสารไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ หลังจากการพ่นสารครั งที่ 1 พบจำนวนด้วงหมัดผัก 15, 18, 11, 22, 15 และ 24 ตัว ตามลำดับ หลังจากการพ่นสารครั งที่ 2 พบจำนวนด้วงหมัดผัก 14, 19, 21, 22, 22 และ 26 ตัว ตามลำดับ โดยจำนวนหนอนในทุกกรรมวิธีการพ่นสารไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับการไม่พ่นสาร ผลผลิตที่ส่งขายตลาดได้ในแปลงที่มีการใช้ไส้เดือนฝอย S. riobrave อัตรา 2x10(7) ตัวต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ผลผลิตสูงสุด รองลงมาคือ แปลงที่พ่นสาร fipronil (แอสเซ็นด์) 5% SC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร แตกต่างทางสถิติกับแปลงที่ไม่พ่นสารป้องกันกำจัดแมลงซึ่งได้ผลผลิตคะน้าต่ำสุด ในปี 2556 ทำการทดลองซ้ำ ในแปลงคะน้า อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ทำการตรวจนับตัวเต็มวัยด้วงหมัดผักในแปลงคะน้า ในแต่ละวิธีการก่อนการพ่นสารพบตัวเต็มวัยด้วงหมัดผักจำนวน 67, 62, 45, 57, 28 และ 68 ตัว ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ตามลำดับ หลังจากการพ่นสารครั้งที่ 1 พบด้วงหมัดผัก 25, 17, 23, 19, 18, และ 44 ตัว ตามลำดับ มีความแตกต่างกันทางสถิติ กับวิธีการไม่พ่นสารโดยวิธีการใช้ไส้เดือน S. carpocapsae อัตรา 2x10(7) ตัวต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ผลควบคุมด้วงได้ดีที่สุดแต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับการพ่นสาร fipronil (แอสเซ็นด์) 5% หลังจากการพ่นสารครั้งที่ 2 พบด้วงหมัดผัก 30, 19, 52, 44, 39, และ 47 ตัว การใช้ไส้เดือนฝอย S. carpocapsae อัตรา 2x107 ตัวต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ผลในการควบคุมด้วงหมัดผักดีที่สุดแตกต่างจากการไม่พ่นสาร หลังการพ่นสารครั้งที่ 3 พบด้วงหมัดผัก 11, 11, 19, 19, 12, และ 14 ตัว การใช้ไส้เดือนฝอย S. carpocapsae และ S. riobrave อัตรา 2x10(7) ตัวต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ผลในการควบคุมด้วงหมัดผักดีที่สุดและไม่แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีพ่นสาร fipronil (แอสเซ็นด์) 5% SC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร


ไฟล์แนบ
.pdf   49_2556.pdf (ขนาด: 462.49 KB / ดาวน์โหลด: 702)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม