ศึกษาอัตราและระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ชีวภัณฑ์ที่ผลิตได้จากเชื้อ Bacillus subtilis
#1
ศึกษาอัตราและระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ชีวภัณฑ์ที่ผลิตได้จากเชื้อ Bacillus subtilis เพื่อป้องกันกำจัดโรคแคงเกอร์ของมะนาว

นลินี ศิวากรณ์, พจนา ตระกูลสุขรัตน์ และวสันต์ ผ่องสมบูรณ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2

          การศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อ Bacillus subtilis N5102 ในรูปผลิตภัณฑ์น้ำหมักและผลิตภัณฑ์ผงเชื้อต่อโรคแคงเกอร์ของมะนาวในแปลงปลูก ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอศาลายา จังหวัดนครปฐม พบว่าสารเคมีคอปเปอร์ไฮครอกไซด์แสดงคะแนนความรุนแรงของการเกิดโรคต่ำที่สุดเฉลี่ย 31.47% ให้น้ำมะนาวที่มีค่าความเป็นกรดด่าง 2.32 และน้ำหนักผลผลิตของผลมะนาวต่อ10 ผลเท่ากับ 330 กรัม ผลมะนาวร่วงก่อนการเก็บเกี่ยวขนาดผลจึงมีขนาดเล็กทำให้น้ำหนักผลที่ได้ต่ำกว่ากรรมวิธีอื่นๆ เชื้อจุลินทรีย์ B. subtilis N5102 ในรูปผงเชื้อ แสดงความรุนแรงของการเกิดโรคเฉลี่ย 39.94% ให้น้ำมะนาวที่มีค่าความเป็นกรดด่าง 2.32 และน้ำหนักผลผลิตของผลมะนาวต่อ 10 ผล เท่ากับ 390 กรัม และทรงต้นที่สมบูรณ์ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวเข้ม เชื้อจุลินทรีย์ B. subtilis N5102 ในรูปน้ำหมักแสดงความรุนแรงของการเกิดโรคเฉลี่ย 43.53% ให้น้ำมะนาวที่มีค่าความเป็นกรดด่าง 2.33 และน้ำหนักผลผลิตของผลมะนาวต่อ10 ผล เท่ากับ 340 กรัม และกรรมวิธีเปรียบเทียบน้ำ (Control) แสดงความรุนแรงของการเกิดโรค 54.02 % ให้น้ำมะนาวที่มีค่าความเป็นกรดด่าง 2.32 และน้ำหนักผลผลิตของผลมะนาวต่อ10 ผล เท่ากับ 370 กรัม เชื้อจุลินทรีย์ B. subtilis N5102 ในรูปผงท้าให้ผลผลิตมีขนาดใหญ่ผลไม่ร่วงก่อนถึงระยะเก็บเกี่ยวทรงต้นสมบูรณ์แข็งแรงใบมีสีเขียวเข้มจึงนับได้ว่าเชื้อจุลินทรีย์ B. subtilis N5102 ในรูปผงเชื้อมีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรคแคงเกอร์ได

          การศึกษาอัตราและระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ชีวภัณฑ์ที่ผลิตได้จากเชื้อแบคทีเรีย B. subtilis N5102 เพื่อป้องกันก้าจัดโรคแคงเกอร์ของมะนาวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis pv. citri (synonym X. campestris pv. citri ) ในแปลงปลูกอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พบว่าสารเคมีคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์มีประสิทธิภาพในการป้องกันก้าจัดโรคแคงเกอร์ดีที่สุดโดยแสดงระดับคะแนนการเกิดโรคต่ำที่สุดเฉลี่ย 2.3 รองลงมาได้แก่ การใช้ชีวภัณฑ์จากเชื้อ B. subtilis N5102 อัตรา 10 กรัม/น้ำ 1 ลิตร และ 5 กรัม/น้ำ 1 ลิตรโดยให้ระดับคะแนนการเกิดโรคเฉลี่ย 2.4 และ 2.5 และกรรมวิธีเปรียบเทียบ (น้ำ) แสดงคะแนนการเกิดโรคสูงสุดเฉลี่ย 3.3 ส่วนระยะเวลาในการฉีดพ่นทุก 7 วันไม่มีความแตกต่างกับการฉีดพ่นทุก 14 วัน


ไฟล์แนบ
.pdf   41_2556.pdf (ขนาด: 488.05 KB / ดาวน์โหลด: 1,476)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม