คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การเปรียบเทียบวัสดุปลูกในการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่ง - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26)
+--- เรื่อง: การเปรียบเทียบวัสดุปลูกในการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่ง (/showthread.php?tid=1485)



การเปรียบเทียบวัสดุปลูกในการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่ง - doa - 08-02-2016

การเปรียบเทียบวัสดุปลูกในการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่ง
สนอง จรินทร, พิศวาส บัวรา, วิวัฒน์ ภาณุอำไพ และสุพัฒธนกิจ โพธิ์สว่าง

          จากการศึกษาเปรียบเทียบวัสดุปลูกในการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งชั้น Pre-basic seed (G0) ภายในโรงเรือนในปี 2550 และ 2551 โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD มี 3 ซ้ำ 5 กรรมวิธี คือ วัสดุปลูกขุนวาง ไฮโดรตรอน ไฮโดรตรอนร่วมกับขุยมะพร้าว ไฮโดรตรอนร่วมกับพีชมอสและพีชมอส พบว่า เปอร์เซ็นต์ความงอกของแต่ละกรรมวิธีมีความแตกต่างกันในทางสถิติโดยวัสดุปลูกขุนวางมีเปอร์เซ็นต์ความงอกดีที่สุดเฉลี่ยที่ 81.00 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ พีชมอส เฉลี่ยที่ 77.33 เปอร์เซ็นต์ ส่วนไฮโดรตรอนมีเปอร์เซ็นต์ความงอกเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 59.50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนความสูงเฉลี่ยของต้นที่อายุ 60 วัน พบว่า ทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ โดยวัสดุปลูกพีชมอส ไฮโดรตรอนร่วมกับพีชมอส และวัสดุปลูกขุนวางมีความสูงของต้นเกิน 50 เซนติเมตร ส่วนวัสดุปลูกไฮโดรตรอนและไฮโดรตรอนร่วมกับขุยมะพร้าวมีความสูงของต้นเฉลี่ยไม่ถึง 40 เซนติเมตร เปอร์เซ็นต์การเก็บเกี่ยวพบว่า ทุกกรรมวิธีมีเปอร์เซ็นต์การเก็บเกี่ยวเฉลี่ยไม่แตกต่างกันในทางสถิติ โดยมีเปอร์เซ็นต์การเก็บเกี่ยวเฉลี่ยมากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ ส่วนจำนวนหัวต่อต้นพบว่า ทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ โดยมีจำนวนหัวต่อต้นเฉลี่ยที่ 2.30 - 2.71 หัว เมื่อดูผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่พบว่า ทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติมีผลผลิตเฉลี่ยที่ 4.87 - 9.76 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 3.6 ตารางเมตร