ขอเชิญร่วมประชุมเชิงปฎิบัติการ หัวข้อ “การขนส่งสินค้าทางเรือและโอกาสการค้าผลไม้สดในภาคเหนือของจีน”

ด้วยสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองซิงต่าว ร่วมกับ Shandong Port Group มีกำหนดจัดการประชุมเชิงปฎิบัติการ หัวข้อ “การขนส่งสินค้าทางเรือและโอกาสการค้าผลไม้สดในภาคเหนือของจีน” โดยมีวั๖ถุประสงค์ในการให้ข้อมูลด้านโลจิสติกส์ทางเรือ เพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการไทยในการเข้าถึงตลาดในบริเวณภาคเหนือของจีน โดยเฉพาะบริเวณมณฑลซานตง รวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบาย กฎระเบียบ และแนวทางปฎิบัติของจีนที่จำเป็นในวันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2565 เวลา 13.30 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) ผ่านระบบการปรุชุมออนไลน์ Zoom Meeting ดังปรากฎใน QR Code ดังนั้นจึงขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟังตามวันเวลาดังกล่าว

การปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างและสารปรุงแต่งอาหารในประเทศญี่ปุ่น (The 247th Materials for Promotion of Food Import Facilitation)

กรมวิชาการเกษตร ได้รับแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างและสารปรุงแต่งตามพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น The 247th Materials for Promotion of Food Import Facilitation รายละเอียดดังที่ปรากฏในเอกสารแนบ ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยสามารถติดต่อ ขอความร่วมมือกระทรวงสาธารณะสุขฯ ญี่ปุ่น พิจารณาแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างญี่ปุ่นให้สอดคล้องกับปริมาณ     ที่บังคับใช้อยู่ในประเทศไทย โดยการนำเสนอข้อมูลด้านวิชาการสนับสนุนประกอบการพิจารณาของกระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นได้ตามความพร้อมและความสะดวก (Based on Application) แม้ว่าจะมีการประกาศใช้มาตรฐานใหม่ในญี่ปุ่นแล้ว

เอกสารแนบ : The 247th Materials for Promotion of Food Import Facilitation

สหราชอาณาจักรแจ้งการปรับแก้มาตรการสุ่มตรวจสอบควบคุมสินค้าพริก และใบพลู ที่นำเข้าจากประเทศไทย

สหราชอาณาจักรแจ้งการปรับแก้มาตรการสุ่มตรวจสอบควบคุมสินค้าพริก และใบพลู ที่นำเข้าจากประเทศไทย โดยรายละเอียดศึกษาได้ ดังนี้

ประชาสัมพันธ์พริก และใบพลูส่ง UK

Amendments to Retained Regulation 20191793 Controls Applied to Imported Food and Feed not of Animal Origin

Imported Food Consultation – Regulation 2019.1793

การปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างและสารปรุงแต่งอาหารญี่ปุ่น

รายละเอียดการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างและสารปรุงแต่งอาหารญี่ปุ่น

เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์ ในหัวข้อ “การเข้าร่วมโครงการ Preclearance เพื่อส่งออกผลไม้ไปยังสหรัฐอเมริกา”

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี. ซี. ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์ ในหัวข้อ “การเข้าร่วมโครงการ Preclearance เพื่อส่งออกผลไม้ไปยังสหรัฐอเมริกา” ในวันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 เวลา 09.00 – 11.00 น (เวลาประเทศไทย) โดยได้รับเกียรติจาก นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นผู้กล่าวเปิดการสัมมนา วิทยากรประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA APHIS) บริษัท Agri Active (Cooperator) และกงสุล (ฝ่ายเกษตร) ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส เมื่อลงทะเบียนแล้ว จะส่ง Zoom Meeting Link ไปยังอีเมล์ตามที่ผู้ลงทะเบียนได้ระบุไว้

สามารถลงทะเบียนได้ที่ Link นี้ : https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScuHEyXKAdyAmi9azbcvnaWrAerh8uYgNAhrCZkwabAwPb0ow/viewform

ขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการส่งออกสินค้าเกษตรที่ไม่ตรงตามข้อกำหนดไปญี่ปุ่น

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว แจ้งว่า หน่วยงานกักกันพืชญี่ปุ่นแจ้งระงับการส่งออกมะม่วงเวียดนามไปยังประเทศญี่ปุ่น ด้วยมะม่วงที่นำเข้าจากประเทศเวียดนามเป็นสายพันธ์ุอื่นซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้า ดังนั้น กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ขอแจ้งให้ผู้ส่งออกเพิ่มความระมัดระวังในการส่งออกสินค้าเกษตรที่ไม่ตรงตามข้อกำหนดไปญี่ปุ่น รายละเอียดตามเอกสารแนบ

ขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการส่งออกสินค้าเกษตรที่ไม่ตรงตามข้อกำหนดไปญี่ปุ่น

แจ้งเตือนสถานการณ์การนำเข้าสินค้าผ่านเมืองผิงเสียง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

กรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งจาก ฝ่ายเกษตร ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว เรื่องแจ้งเตือนสถานการณ์การนำเข้าสินค้าผ่านเมืองผิงเสียง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ว่ากลุ่มโลจิสติกส์ด่านภายใต้กองบัญชาการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 เมืองผิงเสียง ได้เพิ่มความเข้มงวดในการจัดการควบคุมผลิตภัณฑ์อาหารนำเข้าข้ามประเทศที่ผ่านห่วงโซ่ความเย็นของลานจอดรถที่กำหนด (สถานที่/โกดัง ควบคุมผลิตภัณฑ์อาหารผ่านห่วงโซ่ความเย็น)

การปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างญี่ปุ่น (The 243rd Materials for Promotion of Food Import Facilitation)

กรมวิชาการเกษตร ได้รับแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง กระทรวงสาธารณสุขแรงงานและสวัสดิการญี่ปุ่น ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างตามพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น (The 243rd Materials for Promotion of Food Import Facilitation) รายละเอียดดังที่ปรากฏในเอกสารแนบ  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยสามารถติดต่อขอความร่วมมือกระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น พิจารณาแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างญี่ปุ่นให้สอดคล้องกับปริมาณที่บังคับใช้อยู่ในประเทศไทย โดยการนำเสนอข้อมูลด้านวิชาการสนับสนุนประกอบการพิจารณาของกระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นได้ตามความพร้อมและความสะดวก (Based on Application) แม้จะประกาศใช้มาตรฐานใหม่ในประเทศญี่ปุ่นแล้ว

เอกสารแนบ : The 243rd Materials for Promotion of Food Import Facilitation

กระทรวงสาธารณสุขฯญี่ปุ่นปรับระดับการสุ่มสาร Triazophos ในพริก

กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นปรับระดับการสุ่มตรวจสาร Triazophos ในพริกสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปอย่างง่ายนำเข้าจากประเทศไทย  เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป รายละเอียดตามเอกสารแนบ

กระทรวงสาธารณสุขฯญี่ปุ่นปรับระดับการสุ่มสาร Triazophos ในพริก

ขอให้เพิ่มความเข้มงวดในการใช้สารเคมีในพริก สำหรับส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น

กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นจะปรับระดับการสุ่มพริกและผลิตภัณฑ์แปรรูปอย่างง่ายนำเข้าจากประเทศไทย  เนื่องจากการตรวจพบสารเคมี Triazophos ตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ในพริกแดงแช่แข็ง ดังนั้น กมพ. ขอให้ผู้ส่งออกเพิ่มความระมัดระวังในการควบคุมการใช้สารเคมีกับเกษตรกร และทำการสุ่มตรวจสารเคมีตกค้างในผลผลิตก่อนการส่งออกทุกครั้ง  รายละเอียดตามเอกสารแนบ

ขอให้เพิ่มความเข้มงวดในการใช้สารเคมีในพริก