การประชุม Joint Sectoral Committee on MRA for Inspection and Certification Systems on Food Hygiene for Prepared Foodstuff Products (JSC MRA on PF) ครั้งที่ 7

          เมื่อวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2565 นางสาวปรียานุช ทิพยะวัฒน์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร
เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย (Head of delegates) เข้าร่วมประชุม Joint Sectoral Committee on MRA for Inspection and Certification Systems on Food Hygiene for Prepared Foodstuff Products (JSC MRA on PF) ครั้งที่ 7 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ร่วมด้วยคณะทำงานจากหน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ ผู้แทนกรมวิชาการเกษตร ผู้แทนกรมประมง ผู้แทนกรมปศุสัตว์ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และผู้แทนสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) พร้อมด้วยนางสาวเมทนี สุคนธรักษ์ ที่ปรึกษา มกอช. นางสาวยุพา เหล่าจินดาพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักกำหนดมาตรฐาน นางศศิวิมล ทับแย้ม ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานสุขอนามัยพืช นายพิทักษ์ ชายสม ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานสุขอนามัยสัตว์ นางสาวณมาพร อัตถวิโรจน์ นักวิชาการมาตรฐานชำนาญการพิเศษ และนางสาวมินตรา ลักขณา นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ

          การประชุมครั้งนี้ได้มีการหารือเกี่ยวกับการแจ้งความพร้อมในการเข้าร่วมความตกลงยอมรับร่วมสาขาผลิตภัณฑ์อาหาร (MRA on PF) ของอาเซียน แผนการทำงานและสร้างขีดความสามารถในการสนับสนุนการทำงาน โดยประเทศไทยได้เสนอให้มีการปรับปรุงโปรแกรมการอบรมสำหรับผู้เชี่ยวชาญของอาเซียน เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถตรวจประเมินความสอดคล้องของระบบงานภายใต้ MRA on PF ได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดกระบวนการตรวจประเมิน

การประชุม Joint Sectoral Committee on MRA for Inspection and Certification Systems on Food Hygiene for Prepared Foodstuff Products (JSC MRA on PF) ครั้งที่ 6

          เมื่อวันที่ 23 – 24 กันยายน 2564 นางสาวปรียานุช ทิพยะวัฒน์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ได้เข้าร่วมการประชุม Joint Sectoral Committee on MRA for Inspection and Certification Systems on Food Hygiene for Prepared Foodstuff Products (JSC MRA on PF) ครั้งที่ 6 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อหารือแนวทางการดำเนินงานภายใต้ความตกลงยอมรับร่วม สาขาผลิตภัณฑ์อาหาร (MRA on PF) ของอาเซียน โดยมีคณะทำงานจากหน่วยงานของไทย เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้แทนจากกรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
          โดยมีนางสาวปรียานุช ทิพยะวัฒน์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ผู้แทนจากกรมวิชาการเกษตร ทำหน้าที่หัวหน้าคณะทำงานในการเข้าร่วมการประชุมแทน พร้อมด้วยนางสาวเมทนี สุคนธรักษ์ ที่ปรึกษา มกอช. นางสาวยุพา เหล่าจินดาพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักกำหนดมาตรฐาน นางศศิวิมล ทับแย้ม ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานสุขอนามัยพืช นายพิทักษ์ ชายสม ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานสุขอนามัยสัตว์ นางสาวณมาพร อัตถวิโรจน์ นักวิชาการมาตรฐานชำนาญการพิเศษ และนางสาวมินตรา ลักขณา นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ
          การประชุมดังกล่าวมีการหารือเกี่ยวกับโปรแกรมการอบรมสำหรับผู้เชี่ยวชาญ แผนงาน และงานเบื้องต้นในการเริ่มแจ้งความพร้อมการเข้าร่วม MRA on PF ซึ่งประเทศไทยได้เสนอหัวข้อการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับสร้างขีดความสามารถในการสนับสนุนการงานด้านระบบการตรวจสอบและการให้การรับรองด้านสุขลักษณะอาหารของผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถดำเนินงาน ตาม MRA on PF ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ฝึกอบรม “เทคนิคการคัดเกรดเมล็ดกาแฟทางกายภาพ”

          เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 ห้องปฏิบัติกายภาพประสาทสัมผัส กลุ่มพัฒนาระบบตรวจสอบคุณภาพสินค้า กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร ได้จัดฝึกอบรม เรื่อง “เทคนิคการคัดเกรดเมล็ดกาแฟทางกายภาพ” ภายใต้โครงการ “การจัดลำดับชั้นคุณภาพเมล็ดกาแฟทางกายภาพ” ผ่านช่องทางออนไลน์ ( Video Zoom) ในการฝึกอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นางสาวปรียานุช ทิพยะวัฒน์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช เป็นประธานกล่าวเปิดการฝึกอบรมและร่วมรับฟังบรรยาย โดยมีนางสุภาภรณ์ เหลืองไพบูลย์ศรี นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ และทีมงาน ได้แก่ นายเสถียร หล่อทอง นายทวีศักดิ์ ทองงามดี นางพรรษมน หล่อทอง และนายนุกูลกิจ วิศวเดโชชัย รวมถึงวิทยากรรับเชิญ นางสาวอารีรัตน์ การุณสถิตย์ชัย จากกองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร เป็นผู้บรรยายและถ่ายทอดความรู้ในการผลิตและการเก็บเกี่ยวผลกาแฟเพื่อการแปรรูป ข้อบกพร่องหลักในเมล็ดกาแฟและมาตรฐานการตรวจสอบ และเทคนิคการคัดเกรดเมล็ดกาแฟทางกายภาพ พร้อมได้ส่งมอบชุดเผยแพร่เทคโนโลยีกระดานคัดเกรดและโปสเตอร์ข้อบกพร่องหลักในเมล็ดกาแฟ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่

          การฝึกอบรมในครั้งนี้มุ่งเน้นเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย คือ เกษตรกร กลุ่มสหกรณ์ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก และศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร รวมถึงนักวิชาการจากหน่วยงานอื่นที่สนใจ ได้แก่ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย ศูนย์วิจัยพืชสวนเลย ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสตูล และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น รวมกลุ่มเป้าหมายและผู้ใจเข้าเข้าร่วมฝึกอบรม ทั้งหมด 54 ท่าน

การฝึกอบรม “เทคนิคการคัดเกรดเมล็ดกาแฟทางกายภาพ”

          เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 นางสาวปรียานุช ทิพยะวัฒน์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม เรื่อง “เทคนิคการคัดเกรดเมล็ดกาแฟทางกายภาพ” ภายใต้โครงการ “การจัดลำดับชั้นคุณภาพเมล็ดกาแฟทางกายภาพ” ผ่านช่องทางออนไลน์ ( Video Zoom) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เกษตรกร กลุ่มสหกรณ์ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก และศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร รวมถึงผู้ที่สนใจเข้าร่วมฝึกอบรมในครั้งนี้ ได้แก่ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย ศูนย์วิจัยพืชสวนเลย ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสตูล และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
          การฝึกอบรมในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ การจัดทำตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการนำผลงานวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมายเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2564 ของกรมวิชาการเกษตร

จีนตรวจประเมินสวนและโรงคัดบรรจุมะพร้าว ส่งออกไปจีน


          เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 กรมวิชาการเกษตร โดย กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช (กมพ.) สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 (สวพ.5) สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 (สวพ.2) สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร (สคว.) และสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช (สอพ.) รับการตรวจประเมินสวนและโรงคัดบรรจุมะพร้าว ส่งออกไปจีน ผ่านช่องทางการตรวจประเมินระยะไกล (Remote Audit) Video Zoom
          ซึ่งจีนได้ตรวจประเมินสวนมะพร้าว จำนวน 3 สวน ได้แก่ สวนของนางสาวปราณี ประสูตร์แสงจันทร์ สวนของบริษัทซีพี แพลนท์ จำกัด (ฟาร์มพรานกระต่าย) และสวนของนายพิเชษฐ์ อยู่แก้ว
          โรงคัดบรรจุมะพร้าว จำนวน 3 โรง ได้แก่ โรงคัดบรรจุของบริษัท โนรี ฟรุ๊ต (ประเทศไทย) จำกัด โรงคัดบรรจุของบริษัท เอ็นซี โคโคนัท จำกัด และโรงคัดบรรจุของบริษัท ซีพี เนเจอร์ จำกัด
          เพื่อประเมินการจัดการศัตรูพืช ความปลอดภัย รวมถึงมาตรการป้องกันการปนเปื้อนโควิด (Covid 19) ในสินค้ามะพร้าวส่งออกไปจีน ทั้งนี้จีนมีกำหนดการตรวจประเมินผลไม้ส่งออกไปจีน 4 ชนิด ได้แก่ มะพร้าว มังคุด ทุเรียน และลำไย ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน 2564 – 7 กรกฎาคม 2564 ซึ่งการตรวจประเมิน มังคุด ทุเรียน และลำไย มีกำหนดการตรวจประเมิน ระหว่างวันที่ 2 – 7 กรกฎาคม 2564

กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น ปรับระดับการตรวจสารเคมีตกค้างในถั่วหวานและถั่วลันเตา

กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นจะปรับระดับการสุ่มตรวจสารเคมีตกค้าง Diniconazole, Flusilazole และ Hexaconazole  ในถั่วหวานและถั่วลันเตา เพิ่มเป็นร้อยละ 30 ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. 2564 เป็นต้นไป และขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการควบคุมการใช้สารเคมีอย่างเคร่งครัด รายละเอียดตามเอกสารแนบ

กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น ปรับระดับการตรวจสารเคมีตกค้างในถั่วหวานและถั่วลันเตา

การประชุมหารือแนวทางการพัฒนาการค้าสินค้าผักผลไม้ไทยไปสหภาพยุโรป

เมื่อวันศุกร์ ที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๔ กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช จัดการประชุมหารือแนวทางการพัฒนาการค้าสินค้าผักผลไม้ไทยไปสหภาพยุโรป ณ ห้องประชุมเจรจาธุรกิจ ชั้น ๑ อาคารกองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร
ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยนายศรุต สุทธิอารมณ์ ผอ.สอพ. นางสาวปรียานุช ทิพยะวัฒน์ ผอ.กมพ. ผู้แทนสภาหอการค้าไทย ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบการพืชผักผลไม้ไทย ผู้แทนผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุผักผลไม้ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง สคว. สอพ. และ กมพ. เป็นการประชุมหารือเพื่อปรับปรุงแก้ไขประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประกาศกรมวิชาการเกษตรที่เกี่ยวข้องในการควบคุม กำกับ ดูแลการส่งออกสินค้าผักผลไม้สดไปสหภาพยุโรป และหารือแนวทางการพัฒนางานวิจัยสำหรับการผลิตพืชภายใต้มาตรการควบคุมพิเศษ EL

การประชุม JSC MRA on Food Hygiene

นางสาวปรียานุช ทิพยะวัฒน์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช เป็นผู้แทนจากกรมวิชาการเกษตร เข้าร่วมการประชุม Joint Sectoral Committee on MRA for Inspection and Certification Systems on Food Hygiene for Prepared Foodstuff Products (JSC MRA on PF) ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 15-16 มีนาคม 2564 การประชุม ASEAN Committee on Harmonization of Prepared Foodstuff Standards (ACHPFS) ครั้งที่ 3 ในวันที่ 18-19 มีนาคม 2564 และการประชุม Prepared Foodstuffs Product Working Group (PFPWG) ครั้งที่ 32 ในวันที่ 29-30 มีนาคม 2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพิจารณาแนวทางการกำหนด การปรับประสานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร ของอาเซียนสำหรับวัตถุเจือปนอาหาร สารปนเปื้อน ฉลากโภชนาการ วัสดุสัมผัสอาหาร พิจารณาการดำเนินงานภายใต้ความตกลงยอมรับร่วมอาเซียนสาขาผลิตภัณฑ์อาหาร (ASEAN MRA on PF) และการระบุถึงความช่วยเหลือทางเทคนิคและขีดความสามารถในการสนับสนุนการทำงานด้านผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป สำหรับวัสดุสัมผัสอาหาร โดยที่ประชุมเวที  ACHPFS ได้คัดเลือกให้ไทยเจ้าภาพหลักปรับประสานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร จัดทำมาตรฐานเฉพาะสำหรับวัสดุสัมผัสอาหาร

ติดตามความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจบริการด้านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร

นางสาวปรียานุช ทิพยะวัฒน์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช เข้าร่วมประชุม เรื่อง “กำหนดการติดตามความก้าวหน้าในการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร” ร่วมกับผู้แทนสำนักงาน ก.พ.ร. เมื่อวันจันทร์ที่ 22 มีนาคม 2564 เวลา 09.30-13.30 น. ณ ห้องประชุมอาคารฝึกอบรมด้านมาตรฐานการผลิตพืช

การประชุมคณะกรรมการพิจารณาการขึ้นทะเบียนหน่วยรับรองมาตรฐานการผลิตพืช ครั้งที่ 1/2564

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวปรียานุช ทิพยะวัฒน์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาการขึ้นทะเบียนหน่วยรับรองมาตรฐานการผลิตพืช ครั้งที่ 1/2564 ร่วมกับคณะกรรมการ ผู้แทนจากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1-8 และผู้แทนกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ณ ห้องประชุม 201 ตึกกสิกรรม กรมวิชาการเกษตร ผ่านระบบ Video Conference โดยมีวาระการประชุมเพื่อพิจารณาการขอขึ้นทะเบียนหน่วยรับรองมาตรฐานการผลิตพืช บริษัทศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตร แห่งเอเชีย จำกัด และการขยายขอบข่ายการขึ้นทะเบียนหน่วยรับรองมาตรฐานการผลิตพืช สถาบันรับรองระบบการผลิตผลิตภัณฑ์การเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้