ขอเชิญชวนเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเกษตรนานาชาติของราชอาณาจักรโมร็อกโกประจำปี ค.ศ.2023

ด้วยกระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงราบัต ราชอาณาจักรโมร็อกโก ว่า รัฐบาลราชอาณาจักรโมร็อกโกมีกำหนดจะจัดงานแสดงสินค้าเกษตรนานาชาติ (Salon International de I’Agriculture au Maroc : SIAM) ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 2-7 พฤษภาคม 2566 ณ เมืองเม็กเนส (Meknès) ราชอาณาจักรโมร็อกโก

อ่านรายละเอียดได้ที่นี่

ญี่ปุ่นปรับลดระดับการสุ่มตรวจสาร Chlorpyrifos ในผักชีฝรั่งที่นำเข้าจากประเทศไทย

ด้วยกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ได้รับหนังสือจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง ญี่ปุ่นปรับลดระดับการสุ่มตรวจสาร Chlorpyrifos ในผักชีฝรั่งที่นำเข้าจากประเทศไทย นั้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ญี่ปุ่นปรับลดระดับการสุ่มตรวจสาร Triazophos ในพริกขี้หนูที่นำเข้าจากประเทศไทย

ด้วยกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ได้รับหนังสือจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง ญี่ปุ่นปรับลดระดับการสุ่มตรวจสาร Triazophos ในพริกขี้หนูที่นำเข้าจากประเทศไทยนั้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

การประชุมชี้ผู้ประกอบการส่งออก ผู้ประกอบการผลิต ภายใต้โครงการการจัดการสารเคมีในผักผลไม้ส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น (Control measures)

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 นางพัจนา สุภาสูรย์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ รักษาการ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช เป็นประธานประชุม โดยมีนางสาวอมรรัตน์ วงษ์นอก ผู้อำนวยการกลุ่มจดทะเบียนและออกใบรับรอง นำเสนอข้อมูลในการประชุมชี้แจงแก่ผู้ประกอบการส่งออก โรงงานแปรรูปสินค้าพืช ภายใต้โครงการการจัดการสารเคมีในผักผลไม้ส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น (Control measures for Pesticide Management in Fresh and Processed Fruits and Vegetables Export to Japan) ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารกองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแจ้งผลการตรวจประเมินโครงการฯ ของเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการญี่ปุ่น ที่ได้เข้าตรวจประเมินโครงการฯ ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2566 รวมถึงชี้แจงเงื่อนไขโครงการฯ ที่เป็นปัจจุบัน ให้แก่ เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร ผู้ประกอบการส่งออกและโรงงานแปรรูปสินค้าพืชทราบ เพื่อให้การดำเนินการภายใต้โครงการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

            

รับฟังความคิดเห็นต่อร่าง-หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมาย MFP และรายการสินค้าที่ต้องการใช้เครื่องหมาย MFP เปิดรับฟังความคิดเห็น ถึงวันที่ 24 มีนาคม 2566

รับฟังความคิดเห็นต่อร่าง-หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมาย MFP และรายการสินค้าที่ต้องการใช้เครื่องหมาย MFP เปิดรับฟังความคิดเห็น ถึงวันที่ 24 มีนาคม 2566

อ่านเพิ่มเติม หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายรับรอง MFP

แบบสอบถาม การรับฟังต่อร่างหลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายรับรอง Monkey Free Plus

 

อ่านเพิ่มเติม รายการสินค้าที่ต้องการใช้เครื่องหมายรับรอง MFP

แบบสอบถาม รายการสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ต้องการใช้เครื่องหมายรับรอง MFP

ขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลการชี้แจงรายละเอียดการพิจารณาปรับปรุงแก้ไข มาตรฐานสารเคมีตกค้างและสารปรุงแต่งตามกฎหมายสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น ครั้งที่ ๒๕๓ (๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖)

ด้วยกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการสังคมญี่ปุ่น (MHLW) จัดส่งเอกสารการส่งเสริมการอำนวยความสะดวกอาหารนำเข้า ครั้งที่ ๒๕๓ (The 253rd Materials for Promotion of Food Import Facilitation) เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เพื่อชี้แจงรายละเอียดการพิจารณาปรับปรุงแก้ไข มาตรฐานสารเคมีตกค้างและสารปรุงแต่งตามกฎหมายสุขอนามัยอาหาร (Food Sanitation Act) แทน การประชุมชี้แจง เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 โดยมีการกำหนดและแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้าง (MRLs) ประเภทสารกำจัดศัตรูพืชจำนวน ๔ รายการ สารกำจัดศัตรูพืชและยาสำหรับสัตว์จำนวน ๑ รายการ และยาสำหรับสัตว์ จำนวน ๔ รายการ รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

การสรรหาปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2566

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้มอบหมายกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช โดยมีนายเกรียงไกร สุภโตษะ ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานคุณภาพสินค้าเกษตร ลงพื้นที่ร่วมกับคณะอนุกรรมการสรรหาปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ซึ่งมีผู้แทนจาก กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กรมหม่อนไหม สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อตรวจสอบข้อมูลเชิงประจักษ์ของผู้ผ่านการคัดเลือกสาขาปราชญ์เกษตรผู้ทรงภูมิปัญญาและมีคุณูปการต่อภาคการเกษตรไทย เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 พื้นที่จังหวัดเพชรบุรี วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 พื้นที่จังหวัดอ่างทอง และสาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 พื้นที่จังหวัดราชบุรี วันที่ 3 มีนาคม 2566 พื้นที่จังหวัดชุมพร เพื่อเสนอให้คณะกรรมการส่งเสริมปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน พิจารณาแต่งตั้งและเชิญชูเกียรติเป็นปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน และเข้ารับโล่พระราชทานในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2566 ต่อไป

     

     

      

การประชุมคณะทำงานพิจารณาแก้ไขแบบบันทึกการตรวจประเมินการผลิตพืชอินทรีย์

กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืชได้จ้ดประชุมคณะทำงานพิจารณาแก้ไขแบบบันทึกการตรวจประเมินการผลิตพืชอินทรีย์ โดยมีนายเกรียงไกร สุภโตษะ ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานคุณภาพสินค้าเกษตร และนายนพรัตน์ บัวหอม ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานการผลิตพืช ร่วมเป็นประธานในการประชุม พร้อมกับผู้แทนจากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่1-8 กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช และสถาบันวิจัยพืชสวน ในวันที่ 27 ก.พ. ถึง 2 มี.ค. 2566 เวลา 09.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่

เพื่อทบทวนแผนและกรอบระยะเวลาการดำเนินงานให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2566 นี้ และได้จัดทำแบบบันทึกการตรวจประเมินการคัดบรรจุ การรวบรวมฯ และแบบบันทึกการตรวจประเมินการแปรรูปผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์ ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 9000 – 2564 พร้อมนำไปทดสอบการใช้กับโรงคัดบรรจุผักสด และโรงงานแปรรูปกาแฟ ให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง

           

       

        

กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นปรับระดับการสุ่มตรวจสาร Triazophos ในโหระพานำเข้าจากประเทศไทย

ด้วยกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ได้รับหนังสือจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่นปรับระดับการสุ่มตรวจสาร Triazophos ในโหระพานำเข้าจากประเทศไทยนั้น

อ่านรายละเอียดได้ที่นี่

การบังคับใช้ค่า MRLs ใหม่สำหรับสาร Cypermethrin ในกล้วย

ด้วยกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ได้รับหนังสือจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น แจ้งบังคับใช้ค่า MRLs ใหม่สำหรับสาร Cypermethrin ในกล้วยนั้น

อ่านรายละเอียดได้ที่นี่