สหภาพยุโรปปรับแก้กฎระเบียบด้านการเพิ่มการตรวจสอบควบคุมชั่วคราวและการปรับใช้มาตรการฉุกเฉินกับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่สาม

กรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งจาก สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป เกี่ยวกับ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกประกาศ Commission implementing regulation (EU) 2022/913 ว่าด้วย การปรับแก้ไข Commission Implementing regulation (EU) 2019/1793 ในการเพิ่มการตรวจสอบควบคุมชั่วคราว และการปรับใช้มาตรการฉุกเฉินกับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่สาม ภายใต้ Regulation (EU) 2017/625 และ Regulation (EC) No 178/2002

คณะกรรมาธิการยุโรปแก้ไขมาตรการสุ่มตรวจเข้มผักจากไทยที่ส่งไปยังอียู

ตามกฎระเบียบ Regulation (EC) No 2019/1793 ว่าด้วยการเพิ่มการตรวจสอบควบคุมชั่วคราวและการปรับใช้มาตรการฉุกเฉินกับสินค้าอาหารและอาหารสัตว์นำเข้าจากประเทศที่สาม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป โดยคณะกรรมาธิการยุโรปได้มีการปรับปรุงแก้ไขมาตรการตรวจสอบควบคุมชั่วคราวและการปรับใช้มาตรการฉุกเฉินกับสินค้าอาหารและอาหารสัตว์นำเข้าจากประเทศที่สามทุกๆ 6 เดือน

ร่างกฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการทำลายป่าของสหภาพยุโรป

ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งจากสำนักการเกษตรต่างประเทศ แจ้งเรื่อง ร่างกฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการทำลายป่าของสหภาพยุโรป โดยร่างกฎหมายฯ ที่คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอมีวัตถุประสงค์เพื่อการห้ามจำหน่ายสินค้าที่มีความเสี่ยงต่อการตัดไม้ทำลายป่าในตลาดสหภาพยุโรป (European Union: EU) โดยครอบคลุมสินค้าควบคุมที่มีความเสี่ยงสูงต่อการตัดไม้ทำลายป่า ๖ ประเภท ได้แก่ ถั่วเหลือง เนื้อวัว น้ำมันปาล์ม ไม้ โกโก้ และกาแฟ รวมทั้งผลิตภัณฑ์บางชนิดที่ผลิตจากสินค้า ๖ ประเภทข้างต้น โดยคาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ในปี ๒๕๖๖ และกำหนดให้มีช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน ๑-๒ ปี ภายหลังวันที่มีผลบังคับใช้

ฝรั่งเศสออกกฎห้ามใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในผักผลไม้สดที่ไม่ได้ผ่านการแปรรูป (unprocessed) ตั้งแต่ปี 2565

ตามที่กรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป แจ้งว่าฝรั่งเศสออกกฎห้ามใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยห้ามจำหน่ายผักและผลไม้ (ที่ไม่ได้ผ่านการแปรรูป) ที่ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกจำนวนรวม ๓๐ ชนิด ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป อย่างไรก็ตามฝรั่งเศสจะให้เวลาผ่อนผัน ๖ เดือน หากเป็นสินค้าที่นำเข้ามาก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๕ และจะเริ่มบังคับใช้กับพืชชนิดอื่นๆ ตามกำหนดเวลา ตั้งแต่ปี ๒๕๖๖-๒๕๖๙ โดยจะให้เวลาผ่อนผัน ๔ เดือน จึงขอแจ้งข้อมูลให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบทางการค้าที่อาจเกิดขึ้น  รายละเอียดตามเอกสารแนบ

 

สหภาพยุโรปเพิ่มความเข้มงวดการสุ่มตรวจสารตกค้างในสินค้าพริกส่งออกของไทย

กรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งจาก DG-SANTE เกี่ยวกับคณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกประกาศ กฎระเบียบ Regulation (EU) 2021/608 โดยกฎระเบียบนี้จะเพิ่มความเข้มงวดการสุ่มตรวจสารตกค้างในสินค้าพริก (สด, แช่เย็น และแช่แข็ง) ยกเว้นพริกหวาน ที่มาจากไทยจากเดิมร้อยละ ๑๐ เป็นร้อยละ ๒๐ และยังเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสาร Formetanate, Prothiofos และ Triforine ในสินค้าพริก (สด, แช่เย็น และแช่แข็ง) ทั้งนี้กฎระเบียบ Regulation (EU) 2021/608 นี้จะมีผลบังคับใช้ วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔

ตลาดผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนจากพืชในสหภาพยุโรป และกฎระเบียบและเงื่อนไขในการส่งออกผัก/ผลไม้แปรรูปไปยังสหภาพยุโรป

เนื่องด้วยสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป ได้ดำเนินการจัดทำรายงานเรื่องตลาดผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนจากพืชในสหภาพยุโรป และกฎระเบียบและเงื่อนไขในการส่งออกผัก/ผลไม้แปรรูปไปยังสหภาพยุโรป รายละเอียดดังนี้

สหภาพยุโรปจะกำหนดกฎระเบียบด้านสิทธิมนุษยชนและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในปี 2564

กรมวิชาการเกษตร ได้รับแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป เรื่อง สหภาพยุโรปจะกำหนดกฎระเบียบด้านสิทธิมนุษยชนและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในปี 2564 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2563 นาย Didier Reynders (กรรมาธิการยุโรปด้านกิจการยุติธรรม) ได้แถลงให้ที่ประชุมสภายุโรป(ผ่านระบบ Webinar) ทราบว่า คณะกรรมาธิการยุโรปมีแผนที่จะกำหนดกฎระเบียบด้านสิทธิมนุษยชนและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม ในปี 2564 มีสาระสำคัญดังนี้

 

สหภาพยุโรปกำหนดแผนสุ่มตรวจหาสารปราบศัตรูพืชตกค้างในสินค้าอาหาร ประจำปี 2564-2566

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2563 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2020/585 ว่าด้วย การกำหนดแผนสุ่มตรวจหาสารปราบศัตรูพืชตกค้างในสินค้าอาหาร ประจำปี 2564 – 25666 ใน EU Official Journal L 135/1 

สหภาพยุโรปกำหนดบัญชีรายชื่อสัตว์และสินค้าที่ได้รับการยกเว้นการตรวจสอบควบคุม ณ ด่านตรวจสอบ การตรวจสอบกระเป๋าเดินทางของผู้โดยสาร และการส่งสินค้าให้แก่บุคคลทั่วไปที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการวางจำหน่ายในตลาด

ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งจากสํานักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจําสหภาพยุโรป เรื่อง สหภาพยุโรปกําหนดบัญชีรายชื่อสัตว์และสินค้าที่ได้รับการยกเว้นการตรวจสอบควบคุม ณ ด่านตรวจสอบ การตรวจสอบกระเป๋าเดินทางของผู้โดยสาร และการส่งสินค้าให้แก่บุคคลทั่วไปที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการวางจําหน่ายในตลาด ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป

การสืบค้นค่า MRL ของสหภาพยุโรป

การสืบค้นค่า MRL ของพืชต่างๆ ตัวอย่างเช่น ผักชีไทย มะเขือเปราะ กะเพรา