ฝรั่งเศสออกกฎห้ามใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในผักผลไม้สดที่ไม่ได้ผ่านการแปรรูป (unprocessed) ตั้งแต่ปี 2565

ตามที่กรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป แจ้งว่าฝรั่งเศสออกกฎห้ามใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยห้ามจำหน่ายผักและผลไม้ (ที่ไม่ได้ผ่านการแปรรูป) ที่ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกจำนวนรวม ๓๐ ชนิด ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป อย่างไรก็ตามฝรั่งเศสจะให้เวลาผ่อนผัน ๖ เดือน หากเป็นสินค้าที่นำเข้ามาก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๕ และจะเริ่มบังคับใช้กับพืชชนิดอื่นๆ ตามกำหนดเวลา ตั้งแต่ปี ๒๕๖๖-๒๕๖๙ โดยจะให้เวลาผ่อนผัน ๔ เดือน จึงขอแจ้งข้อมูลให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบทางการค้าที่อาจเกิดขึ้น  รายละเอียดตามเอกสารแนบ

 

ข้อกังวลการตรวจพบก๊าซเอทิลีนออกไซด์ (Ethylene Oxide) ตกค้างในเมล็ดงา และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

กรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งจากสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย แจ้งเรื่อง ข้อกังวลการตรวจพบก๊าซเอทิลีนออกไซด์ (Ethylene Oxide) ตกค้างในเมล็ดงา และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบจากงา เนื่องจาก Ethylene Oxide ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้กับอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารในไต้หวัน

สหรัฐอเมริกาประกาศจะถอดถอนค่าสารตกค้างสารคลอร์ไพริฟอส

กรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจอลิส ว่า หน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (EPA) ของสหรัฐอเมริกาได้ออกประกาศล่วงหน้าว่าจะยื่นระเบียบสุดท้ายว่าด้วยการเพิกถอนระดับปริมาณสารตกค้างที่ยอมรับได้ตามกฎหมาย (tolerances) สําหรับสารคลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos)

การปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างญี่ปุ่น (The 242nd Materials for Promotion of Food Import Facilitation)

กรมวิชาการเกษตร ได้รับแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างตามพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น (The 242nd Materials for Promotion of Food Import Facilitation) รายละเอียดดังที่ปรากฏในเอกสารแนบ  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยสามารถติดต่อขอความร่วมมือกระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น พิจารณาแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างญี่ปุ่นให้สอดคล้องกับปริมาณที่บังคับใช้อยู่ในประเทศไทย โดยการนำเสนอข้อมูลด้านวิชาการสนับสนุนประกอบการพิจารณาของกระทรวงสาธารณสุขฯญี่ปุ่นได้ตามความพร้อมและสะดวก (Based on Application) แม้จะประกาศใช้มาตรฐานใหม่ในประเทศญี่ปุ่นแล้ว

เอกสารแนบ : The 242nd Materials for Promotion of Food Import Facilitation

การปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างญี่ปุ่น (The 241st Materials for Promotion of Food Import Facilitation)

กรมวิชาการเกษตร ได้รับแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างตามพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น (The 241st Materials for Promotion of Food Import Facilitation) รายละเอียดดังที่ปรากฏในเอกสารแนบ  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยสามารถติดต่อขอความร่วมมือกระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น พิจารณาแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างญี่ปุ่นให้สอดคล้องกับปริมาณที่บังคับใช้อยู่ในประเทศไทย โดยการนำเสนอข้อมูลด้านวิชาการสนับสนุนประกอบการพิจารณาของกระทรวงสาธารณสุขฯญี่ปุ่นได้ตามความพร้อมและสะดวก (Based on Application) แม้จะประกาศใช้มาตรฐานใหม่ในประเทศญี่ปุ่นแล้ว

เอกสารแนบ : The 241st Materials for Promotion of Food Import Facilitation

สหภาพยุโรปเพิ่มความเข้มงวดการสุ่มตรวจสารตกค้างในสินค้าพริกส่งออกของไทย

กรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งจาก DG-SANTE เกี่ยวกับคณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกประกาศ กฎระเบียบ Regulation (EU) 2021/608 โดยกฎระเบียบนี้จะเพิ่มความเข้มงวดการสุ่มตรวจสารตกค้างในสินค้าพริก (สด, แช่เย็น และแช่แข็ง) ยกเว้นพริกหวาน ที่มาจากไทยจากเดิมร้อยละ ๑๐ เป็นร้อยละ ๒๐ และยังเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสาร Formetanate, Prothiofos และ Triforine ในสินค้าพริก (สด, แช่เย็น และแช่แข็ง) ทั้งนี้กฎระเบียบ Regulation (EU) 2021/608 นี้จะมีผลบังคับใช้ วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔

แจ้งกฎระเบียบด้านวัตถุเจือปนอาหารของออสเตรเลีย

กรมวิชาการเกษตร ได้รับแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงแคนเบอร์รา ว่ากระทรวงเกษตร น้ำ และสิ่งแวดล้อม ออสเตรเลีย แจ้งการตรวจพบโซเดียมเบนโซเอต (Sodium benzoate: E211) ในสินค้าน้ำหวานเข้มข้นกลิ่นโซดาและกลิ่นสละจากประเทศไทย ซึ่งตาม Food Standard Code: 1.3.1 Food Additives ไม่อนุญาตให้พบโซเดียมเบนโซเอตในสินค้าดังกล่าว ทั้งนี้ ในสินค้าชนิดเดียวกันที่จะนำเข้ามายังออสเตรเลียในเวลาต่อมาจะต้องถูกตรวจสอบทุกรุ่น (100%) จนกว่าจะสามารถแสดงให้เห็นได้ว่าสินค้าเป็นไปตามมาตรฐานของประเทศออสเตรเลีย

แผนการเฝ้าระวังและชี้แนะอาหารนำเข้าประจำปีงบประมาณญี่ปุ่น 2564 (เมษายน 2564-มีนาคม 2565)

กรมวิชาการเกษตร ได้รับแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง กระทรวงสาธารณสุขแรงงานและสวัสดิการญี่ปุ่น (MHLW) ได้เผยแพร่แผนการเฝ้าระวังและชี้แนะอาหารนำเข้าประจำปีงบประมาณญี่ปุ่น 2564  (เมษายน 2564 – มีนาคม 2565) (Imported  Foods Monitoring and Guidance Plan for FY2021) ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายสุขอนามัยอาหาร มาตราที่ 23 วรรค 1 ครอบคลุมอาหาร สารเติมแต่ง อุปกรณ์ ภาชนะ และของเล่น ซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศ  รายละเอียดดังที่ปรากฏในเอกสารแนบ

Download : แผนการเฝ้าระวังและชี้แนะอาหารนำเข้าประจำปีงบประมาณญี่ปุ่น 2564  (เมษายน 2564 – มีนาคม 2565) (Imported  Foods Monitoring and Guidance Plan for FY2021)

การปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างญี่ปุ่น (The 240th Materials for Promotion of Food Import Facilitation)

กรมวิชาการเกษตร ได้รับแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง กระทรวงสาธารณสุขแรงงานและสวัสดิการญี่ปุ่น ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างตามพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น (The 240th Materials for Promotion of Food Import Facilitation) รายละเอียดดังที่ปรากฏในเอกสารแนบ  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยสามารถติดต่อขอความร่วมมือกระทรวงสาธารณสุขฯญี่ปุ่นพิจารณาแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างญี่ปุ่นให้สอดคล้องกับปริมาณที่บังคับใช้อยู่ในประเทศไทย โดยการนำเสนอข้อมูลด้านวิชาการสนับสนุน ประกอบการพิจารณาของกระทรวงสาธารณสุขฯญี่ปุ่นได้ตามความพร้อมและสะดวก (Based on Application) แม้จะประกาศบังคับใช้มาตรฐานใหม่ในประเทศญี่ปุ่นแล้ว

Download : การปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างญี่ปุ่น (The 240th Materials for Promotion of Food Import Facilitation)

การปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างญี่ปุ่น (The 239th Materials for Promotion of Food Import Facilitation)

กรมวิชาการเกษตร ได้รับแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง กระทรวงสาธารณสุขแรงงานและสวัสดิการญี่ปุ่น ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างตามพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น (The 239th Materials for Promotion of Food Import Facilitation) รายละเอียดดังที่ปรากฏในเอกสารแนบ  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยสามารถติดต่อขอความร่วมมือกระทรวงสาธารณสุขฯญี่ปุ่นพิจารณาแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างญี่ปุ่นให้สอดคล้องกับปริมาณที่บังคับใช้อยู่ในประเทศไทย โดยการนำเสนอข้อมูลด้านวิชาการสนับสนุน ประกอบการพิจารณาของกระทรวงสาธารณสุขฯญี่ปุ่นได้ตามความพร้อมและสะดวก (Based on Application) แม้จะประกาศบังคับใช้มาตรฐานใหม่ในประเทศญี่ปุ่นแล้ว

Download : การปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างญี่ปุ่น (The 239th Materials for Promotion of Food Import Facilitation)