ประกาศรับฟังความคิดเห็น ต่อร่าง ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง Monkey free plus ที่หน้าเว็บ กมพ. กำหนดปิดรับฟังความคิดเห็น ภายในวัน 24 ส.ค. 65

ประกาศรับฟังความคิดเห็น ต่อร่าง ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง Monkey free plus ที่หน้าเว็บ กมพ. กำหนดปิดรับฟังความคิดเห็น ภายในวัน 24 ส.ค. 65

– ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง มาตรการป้องกันการใช้แรงงานลิง ในกระบวนการผลิตมะพร้าวเพื่อการส่งออก (Monkey Free Plus)

-ร่าง- แบบตรวจประเมินแหล่งผลิตมะพร้าว ตาม มาตรการป้องกันการใช้แรงงานลิงในกระบวนการผลิตมะพร้าวเพื่อการส่งออก (Monkey Free Plus)

– แบบพิจารณาข้อคิดเห็นต่อร่าง ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง มาตรการป้องกันการใช้แรงงานลิงในกระบวนการผลิตมะพร้าวเพื่อการส่งออก (Monkey Free Plus)

การออกใบรับรองสุขอนามัยสำหรับผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในขอบข่ายเป็นสารเจือปนอาหาร (FOOD ADDITIVES) ที่ไม่ได้ผลิตจากพืช หรือมีส่วนประกอบจากพืช

กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ขอแจ้งให้บริษัททราบเกี่ยวผลิตภัณฑ์ ที่อยู่ในขอบข่ายเป็นสารเจือปนอาหาร (FOOD ADDITIVES) ที่ไม่ได้ผลิตจากพืช หรือมีส่วนประกอบจากพืช กรมวิชาการเกษตร ขอสงวนสิทธิ์งดให้บริการออกใบรับรองสุขอนามัย ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕  เป็นต้นไป เนื่องจากได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการออกใบรับรองสุขอนามัยตามคู่มือการให้บริการตรวจสอบและออกใบรับรองคุณภาพสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๓

เอกสารแนบ : Download

การปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตร ยาสัตว์และสารปรุงแต่งอาหารสัตว์ในประเทศญี่ปุ่น (The 248th Conference for Promotion of Food Import Facilitation)

กรมวิชาการเกษตร ได้รับแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตร ยาสัตว์และสารปรุงแต่งอาหารสัตว์ รวม ๙ รายการ รวมทั้งแจ้งกำหนดวันปิดรับข้อมูลเกี่ยวภาชนะบรรจุอาหารที่ทำจากพลาสติกที่มีการผลิต จำหน่าย นำเข้าและใช้มาก่อนวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ และประสงค์จะขึ้นทะเบียนในระบบการควบคุมความปลอดภัยของภาชนะบรรจุอาหาร (Positive List) ตามพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น  รายละเอียดดังที่ปรากฏในเอกสารแนบ ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยสามารถติดต่อขอความร่วมมือกระทรวงสาธารณะสุขฯ ญี่ปุ่น พิจารณาแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างญี่ปุ่นให้สอดคล้องกับปริมาณที่บังคับใช้อยู่ ในประเทศไทย โดยการนำเสนอข้อมูลด้านวิชาการสนับสนุนประกอบการพิจารณาได้ตามความสะดวก (Based on Application) แม้จะประกาศใช้มาตรฐานใหม่ในญี่ปุ่นแล้ว

เอกสารแนบ : The 248th Materials for Promotion of Food Import Facilitation

การปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างและสารปรุงแต่งอาหารในประเทศญี่ปุ่น (The 247th Materials for Promotion of Food Import Facilitation)

กรมวิชาการเกษตร ได้รับแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างและสารปรุงแต่งตามพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น The 247th Materials for Promotion of Food Import Facilitation รายละเอียดดังที่ปรากฏในเอกสารแนบ ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยสามารถติดต่อ ขอความร่วมมือกระทรวงสาธารณะสุขฯ ญี่ปุ่น พิจารณาแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างญี่ปุ่นให้สอดคล้องกับปริมาณ     ที่บังคับใช้อยู่ในประเทศไทย โดยการนำเสนอข้อมูลด้านวิชาการสนับสนุนประกอบการพิจารณาของกระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นได้ตามความพร้อมและความสะดวก (Based on Application) แม้ว่าจะมีการประกาศใช้มาตรฐานใหม่ในญี่ปุ่นแล้ว

เอกสารแนบ : The 247th Materials for Promotion of Food Import Facilitation

สหราชอาณาจักรแจ้งการปรับแก้มาตรการสุ่มตรวจสอบควบคุมสินค้าพริก และใบพลู ที่นำเข้าจากประเทศไทย

สหราชอาณาจักรแจ้งการปรับแก้มาตรการสุ่มตรวจสอบควบคุมสินค้าพริก และใบพลู ที่นำเข้าจากประเทศไทย โดยรายละเอียดศึกษาได้ ดังนี้

ประชาสัมพันธ์พริก และใบพลูส่ง UK

Amendments to Retained Regulation 20191793 Controls Applied to Imported Food and Feed not of Animal Origin

Imported Food Consultation – Regulation 2019.1793

การปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างและสารปรุงแต่งอาหารญี่ปุ่น

รายละเอียดการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างและสารปรุงแต่งอาหารญี่ปุ่น

เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์ ในหัวข้อ “การเข้าร่วมโครงการ Preclearance เพื่อส่งออกผลไม้ไปยังสหรัฐอเมริกา”

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี. ซี. ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์ ในหัวข้อ “การเข้าร่วมโครงการ Preclearance เพื่อส่งออกผลไม้ไปยังสหรัฐอเมริกา” ในวันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 เวลา 09.00 – 11.00 น (เวลาประเทศไทย) โดยได้รับเกียรติจาก นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นผู้กล่าวเปิดการสัมมนา วิทยากรประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA APHIS) บริษัท Agri Active (Cooperator) และกงสุล (ฝ่ายเกษตร) ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส เมื่อลงทะเบียนแล้ว จะส่ง Zoom Meeting Link ไปยังอีเมล์ตามที่ผู้ลงทะเบียนได้ระบุไว้

สามารถลงทะเบียนได้ที่ Link นี้ : https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScuHEyXKAdyAmi9azbcvnaWrAerh8uYgNAhrCZkwabAwPb0ow/viewform

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขอขึ้นทะเบียนสิทธิ 30 วัน_สำหรับผู้ประกอบการ

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขอขึ้นทะเบียนสิทธิประโยชน์ในการออกใบรับรองสุขอนามัยอายุไม่เกิน 30 วัน

ขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการส่งออกสินค้าเกษตรที่ไม่ตรงตามข้อกำหนดไปญี่ปุ่น

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว แจ้งว่า หน่วยงานกักกันพืชญี่ปุ่นแจ้งระงับการส่งออกมะม่วงเวียดนามไปยังประเทศญี่ปุ่น ด้วยมะม่วงที่นำเข้าจากประเทศเวียดนามเป็นสายพันธ์ุอื่นซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้า ดังนั้น กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ขอแจ้งให้ผู้ส่งออกเพิ่มความระมัดระวังในการส่งออกสินค้าเกษตรที่ไม่ตรงตามข้อกำหนดไปญี่ปุ่น รายละเอียดตามเอกสารแนบ

ขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการส่งออกสินค้าเกษตรที่ไม่ตรงตามข้อกำหนดไปญี่ปุ่น

การปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างญี่ปุ่น (The 243rd Materials for Promotion of Food Import Facilitation)

กรมวิชาการเกษตร ได้รับแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง กระทรวงสาธารณสุขแรงงานและสวัสดิการญี่ปุ่น ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างตามพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น (The 243rd Materials for Promotion of Food Import Facilitation) รายละเอียดดังที่ปรากฏในเอกสารแนบ  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยสามารถติดต่อขอความร่วมมือกระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น พิจารณาแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างญี่ปุ่นให้สอดคล้องกับปริมาณที่บังคับใช้อยู่ในประเทศไทย โดยการนำเสนอข้อมูลด้านวิชาการสนับสนุนประกอบการพิจารณาของกระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นได้ตามความพร้อมและความสะดวก (Based on Application) แม้จะประกาศใช้มาตรฐานใหม่ในประเทศญี่ปุ่นแล้ว

เอกสารแนบ : The 243rd Materials for Promotion of Food Import Facilitation