ญี่ปุ่นปรัดลดระดับการสุ่มตรวจสาร Pyridaben ในผักชีฝรั่งที่นำเข้าจากประเทศไทย

ด้วยกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ได้รับหนังสือจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง ญี่ปุ่นปรับลดระดับการสุ่มตรวจสาร Pyridaben ในผักชีฝรั่งที่นำเข้าจากประเทศไทย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

แจ้งการปรับปรุงรายการทดสอบและเกณฑ์การทดสอบ ในคู่มือการให้บริการตรวจสอบและออกใบรับรองคุณภาพสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก

กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร โดยคณะทำงานพิจารณาการออกใบรับรองสุขอนามัยสินค้าเกษตรแปรรูปด้านพืช ขอแจ้งให้ผู้ประกอบการส่งออกทราบเกี่ยวกับรายการและเกณฑ์การทดสอบที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด ในภาคผนวก ๓ คู่มือการให้บริการตรวจสอบและออกใบรับรองคุณภาพสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ญี่ปุ่นปรับลดระดับการสุ่มตรวจสาร Triazophos ในพริกแดงนำเข้าจากประเทศไทย

ด้วยกองพัฒนาและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ได้รับหนังสือจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง ญี่ปุ่นปรับลดระดับการสุ่มตรวจสาร Triazophos ในพริกแดงนำเข้าจากประเทศไทย

อ่านรายละเอียดได้ที่นี่

ญี่ปุ่นปรับลดระดับการสุ่มตรวจสาร Profenofos ในใบชะพลูนำเข้าจากประเทศไทย

ด้วยกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ได้รับหนังสือจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง ญี่ปุ่นปรับลดระดับการสุ่มตรวจสาร Profenofos ในใบชะพลูนำเข้าจากประเทศไทย

อ่านรายละเอียดได้ที่นี่

ขอแจ้งวันหยุดทำการในช่วงเทศกาลวันขึ้นปีใหม่

ตามที่กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร มีหน้าที่ออกใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) สำหรับผักผลไม้สดและสินค้าเกษตรแปรรูปด้านพืช กองฯ ขอแจ้งวันหยุดทำการช่วงเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม 2565 ถึง วันจันทร์ที่ 2 มกราคม 2566 และจะเปิดทำการในวันอังคารที่ 3 มกราคม 2566

อ่านรายละเอียดได้ที่นี่

กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นปรับระดับการสุ่มตรวจสาร Imidacloprid ในกล้วยนำเข้าจากประเทศไทย

ด้วยกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ได้รับหนังสือจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง ปรับระดับการสุ่มตรวจสาร Imidacloprid ในกล้วยนำเข้าจากประเทศไทย

อ่านรายละเอียดได้ที่นี่

ตรวจติดตามแหล่งผลิต GAP มะพร้าว และตรวจประเมินแปลงมะพร้าวตามมาตรการ Monkey free plus

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 นายนพรัตน์  บัวหอม ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตพืช และเจ้าหน้าที่ กมพ. ร่วมตรวจติดตามแหล่งผลิต GAP มะพร้าว และตรวจประเมินแปลงมะพร้าวตามมาตรการ Monkey free plus โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรราชบุรี พร้อมมอบใบรายงานผลการตรวจประเมินแปลงมะพร้าวตามมาตรการ Monkey free plus ให้กับเกษตรกรจำนวน 8 แปลง ที่อำเภอโพธาราม และอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

          

           

          

การประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการแก้ไข้ปัญหาลิงเก็บเกี่ยวมะพร้าวกรมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 1/2565

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2565 นายพิทวัฒน์ อ่อนทองหลาง ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช มอบหมายคณะทำงานดำเนินงานตามมาตรการป้องกันการใช้แรงงานลิงในการเก็บเกี่ยวมะพร้าวเพื่อการส่งออก (Monkey Free Plus) ร่วมกับ ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพร และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรราชบุรี ชี้แจงการดำเนินงานกิจกรรมการตรวจรับรองแห่ลงผลิต GAP มะพร้าว การตรวจรับรองตามมาตรการ Monkey Free Plus ให้กับเกษตร ประธานแปลงใหญ่มะพร้าว เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร ณ บริษัท นิลทองแท้ จำกัด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

          

       

โครงการจัดการแมลงวันผลไม้และเพลี้ยไฟสำหรับการส่งออกผักและผลไม้สดไปยังสหภาพยุโรปและสมาพันธรัฐสวิส

ตามที่สหภาพยุโรปได้กำหนดเงื่อนไขการนำเข้าพืชที่มีความเสี่ยงสูง (Commission Implementing Regulation (EU) 2018/2019) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2562 โดยเงื่อนไขดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการส่งออกมะระ (Momordica charantia L.) ของไทย ต่อมาสหภาพยุโรปได้ปรับปรุงเงื่อนไขการนำเข้าพืชฉบับใหม่ (Commission Implementing Regulation (EU) 2021/2285) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2565 โดยเงื่อนไขดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการส่งออกผลสดของพืช 5 ชนิด ได้แก่ มะเขือ (Solanum) พริก (Capsicum) น้อยหน่า (Annona) มะละกอ (Carica papaya) และฝรั่ง (Psidium guajava) ที่ต้องได้รับการรับรองว่าปลอดจากแมลงวันผลไม้ (Bactocera) จากกรมวิชาการเกษตรก่อนจึงจะสามารถส่งออกไปสหภาพยุโรปได้ โดยกำหนดให้โรงคัดบรรจุส่งแบบคำร้องแสดงความจำนงเข้าร่วม “โครงการจัดการแมลงวันผลไม้และเพลี้ยไฟสำหรับการส่งออกผักและผลไม้สดไปยังสหภาพยุโรปและสมาพันธรัฐสวิส” ได้ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2565 เป็นต้นไป

การทดสอบการใช้แบบบันทึกการตรวจประเมินแหล่งผลิต GAP ปาล์มน้ำมัน ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช

วันที่ 26-27 ตุลาคม 2565 นายพิทวัฒน์ อ่อนทองหลาง ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้า มอบหมายนายเกรียงไกร สุภโตษะ ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานคุณภาพสินค้าเกษตร และเจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาระบบตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตพืช ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครศรีธรรมราช เข้าร่วมทดสอบการใช้แบบบันทึกการตรวจประเมินแหล่งผลิต GAP ปาล์มน้ำมัน ณ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอช้างกลาง และอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช