บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๖)

 

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง รายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๓ ให้ยกเลิกรายการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ บัญชี ๑.๑ รายชื่อสารควบคุม ลำดับที่ ๕๓ คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) ลำดับที่ ๕๔ คลอร์ไพริฟอส-เมทิล (chlorpyrifos-methyl) ลำดับที่ ๓๕๒ พาราควอต (paraquat) ลำดับที่ ๓๕๓ พาราควอตไดคลอไรด์ (paraquat dichloride) และลำดับที่ ๓๕๔ พาราควอตไดคลอไรด์ [บิส (เมทิลซัลเฟต)] {paraquat dichloride [bis (methyl sulfate)]} โดยประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๓ เป็นต้นไป

 

EU Regulation 2020/178

       สหภาพยุโรป (European Union: EU) ได้ออกกฎระเบียบ EU Regulation 2020/178 ลงวันที่ 31 January 2020 ให้ผู้โดยสารและผู้ส่งสินค้าทางไปรษณีย์ รวมถึงผู้ให้บริการ Air Courier ไปยังสหภาพยุโรป ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary Certificated) กำกับสินค้าไปพร้อมกับสินค้า ได้แก่ สินค้าประเภทผัก ผลไม้ ไม้ตัดดอก และส่วนขยายพันธุ์ ยกเว้นพืช 5 ชนิด ได้แก่ กล้วย มะพร้าว อินทผาลัม สับปะรด ทุเรียน

      สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และรายละเอียดการขอใบรับรองสุขอนามัยพืช
      กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร โทร 02-940-6466-8

รัฐบาลชวนตรวจคัดกรอง COVID 19

 

        จากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID 19 ในขณะนี้ พวกเราทุกคนใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังกันมากขึ้น แต่เราเองก็ยังไม่รู้ว่าเราได้รับเชื้อไวรัสแล้วหรือยัง ถ้าเราเข้าเกณฑ์เป็นกลุ่มเสี่ยง หรือมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัส COVID 19 และสังเกตอาการแล้วพบว่า มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อย หายใจลำบาก อย่าชะล่าใจไปนะครับ เราควรเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัส COVID 19 เพื่อให้แน่ใจว่าเราไม่ได้รับเชื้อ COVID 19 ได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านท่าน หรือสามารถตรวจสอบรายละเอียดด้านล่าง
“ด้วยความห่วงใย จากพวกเราชาว กมพ.”

 

รายชื่อห้องปฏิบัติการตรวจ COVID 19

 

ที่มา: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

https://www.nhso.go.th/FrontEnd/index.aspx

 

อยู่อย่างไรให้รอดจากไวรัส COVID 19

        ในสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID 19 ณ ขณะนี้ เราทุกคนถือว่ามีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อไวรัสจากคนที่อยู่รอบตัวเราได้ตลอดเวลา ทุกหน่วยงานทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ต่างก็มีนโยบายให้บุคลากรในองค์กรสามารถทำงานที่บ้านได้ เพื่อหยุดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID 19 แต่เราเองก็ยังไม่รู้ว่าเรารับเชื้อมาหรือยัง ขณะที่เราหยุดเพื่อทำงานอยู่ที่บ้านนั้น เราควรจะต้องสังเกตอาการของเราอยู่ตลอดเวลา และอย่าลืมแบ่งพื้นที่ภายในบ้าน เพื่อความปลอดภัยของคนที่ท่านรักด้วยนะครับ ด้วยความห่วงใยจากพวกเราชาว กมพ.


ที่มา: โรงพยาบาลวิชัยยุทธ

https://www.vichaiyut.com/th/health/informations/we-will-survive-covid-19/

สรุปมาตรการระยะสั้นของกัมพูชาและเวียดนามที่อาจกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย

ด้วย กลุ่มนโยบายระหว่างประเทศที่ 2 กองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ได้แจ้งเพื่อทราบข้อมูลมาตรการระยะสั้นของกัมพูชาและเวียดนามที่อาจกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย รายละเอียดตามแนบ

 

ประกาศกรุงเทพมหานคร

        นายอัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ออกคำสั่งให้ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว เพื่อลดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโคโรวิด 19 นั่น ด้วยความห่วงใยจากพวกเราชาว กมพ. จึงขอเผยแพร่ประกาศคำสั่งของทาง กทม เพื่อประชาสัมพันธ์ไปยังบุคลากร และประชาชนทั่วไป ให้ติดตามข่าวสารและประกาศ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะมีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาวิด 19 อย่างรวดเร็ว รายละเอียดประกาศดังนี้


Social Distancing

        จากสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID 19 ในประเทศไทยที่มีการเพิ่มจำนวนขึ้น มาตราการที่พวกเราชาว กมพ. และประชาชนผู้ที่จะเข้ามารับบริการกับเรา กมพ. จะสามารถช่วยลดการระบาดของไวรัส COVID 19 ได้นั้น เราต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และสวมหน้ากากป้องกันอย่างถูกต้อง อยู่ห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร เพื่อลดความเสี่ยงการระบาดของ ไวรัส COVID 19 และเพื่อป้องกันกันติดเชื้อไวรัส COVID 19 จากผู้อื่นได้ด้วย ด้วยความห่วงใย จากพวกเราชาว กมพ.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

ประชาสัมพันธ์การรับตัวอย่างทดสอบ ห้องปฏิบัติการ กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช

        ห้องปฏิบัติการทดสอบ กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ขอแจ้งแผนการดำเนินงานไปยังผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะส่งตัวอย่าง ในสถานการณ์การรับมือกับการระบาดของไวรัส COVID 19 เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการที่จะส่งตัวอย่างทดสอบกับทางห้องปฏิบัติการ ขอความกรุณาตรวจสอบแผนการดำเนินงาน ดังรายละเอียด


การให้บริการทดสอบสินค้าเกษตรด้านพืช เพื่อขอใบรับรองสุขอนามัย (สินค้าแปรรูป)


การขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการทดสอบสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืช

แผนการดำเนินงานในภาวะการระบาดของ Covid-19

 

แผนการดำเนินงานในภาวะการระบาดของ Covid-19 เกี่ยวกับการจด/ต่ออายุทะเบียนผู้ส่งออก การขอ/ออกใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) และการขอเข้าร่วมโครงการ Control Measure

 

กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมสนับสนุนการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในอากาศ

        จากงานวิจัยของ ดร. วรารัตน์ ศรีประพัฒน์ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ ผศ. ดร. ชัยรัตน์ ตรีทรัพย์สุนทร และ รศ. ดร. ไพทิพย์ ธีเรเวชญาณ ห้องปฏิบัติการ Remediation มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาเครื่องกรองชีวภาพจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในการบำบัดฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนในอากาศ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) พบว่ามีต้นไม้หลายชนิด ที่สามารถช่วยดูดซับสารพิษจากอากาศ ช่วยฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ได้ ซึ่งในงานวิจัยได้คัดเลือกพืชหลายชนิดที่สามารถปลูกได้ทั้งในบ้านได้และนอกบ้าน และเป็นต้นไม้พื้นถิ่นในเขตร้อนที่สามารถปลูกได้ดี ในเมืองไทย เพื่อนำมาทดสอบประสิทธิภาพการบำบัดฝุ่นละออง PM 2.5 พบว่ามีพืชที่สามารถบำบัดฝุ่นละอองในอากาศได้ดี ได้แก่ พรมกำมะหยี่ เฟินขนนก คล้าแววมยุรา พลูปีกนก พลูอินโด กวักมรกต คล้ากาเหว่าลาย และคล้านกยูง โดยลักษณะพืชที่สามารถบำบัดฝุ่นละอองได้ดีใบจะมีลักษณะขรุขระ มีขน มีใบย่อยขนาดเล็ก และมีลักษณะผิวใบมันเคลือบด้วยแว๊กซ์