การประชุมคณะกรรมการวิจัยและพัฒนากองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ครั้งที่ ๖/๒๕๖๖

เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๖ นางพัจนา สุภาสูรย์ รักษาการผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช เป็นประธาน การประชุมคณะกรรมการวิจัยและพัฒนากองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ครั้งที่ ๖/๒๕๖๖ ณ ห้องประชุม เอ ชั้น ๒ อาคาร กวป. และผ่านโปรแกรม Zoom โดยมีผู้เข้าประชุมประกอบด้วย กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เพื่อพิจารณาจัดทำข้อเสนอแผนงานวิจัยและพัฒนาระบบควบคุม กำกับ การตรวจสอบรับรองคุณภาพและความปลอดภัยสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก ของหน่วยงาน ประจำปี ๒๕๖๘ – ๒๕๗๐ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จของทิศทางที่ ๔ : งานวิจัยเพื่อพัฒนาสนับสนุนการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ แผนงานวิจัยฯ ประกอบด้วย ๑๑ โครงการวิจัย โดยมีเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนงานวิจัยบรรลุตามวัตถุประสงค์ คือ ได้กระบวนการใหม่/คู่มือ/แนวทางสนับสนุนการปรับปรุงระบบควบคุม กำกับการตรวจสอบรับรองมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืช ให้มีคุณภาพและความปลอดภัยสอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ มาตรฐานคู่ค้า มาตรฐานสากล และพันธกรณีระหว่างประเทศ รวมถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อปรับปรุงประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับเพื่อควบคุม กำกับ การตรวจสอบรับรองมาตรฐานผลิตสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืช

การประชุมคณะกรรมการวิจัยและพัฒนากองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ครั้งที่ ๕/๒๕๖๖

เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม และ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๖ นางพัจนา สุภาสูรย์ รักษาการผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช เป็นประธาน การประชุมคณะกรรมการวิจัยและพัฒนากองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ครั้งที่ ๕/๒๕๖๖ ณ ห้องประชุม เอ ชั้น ๒ อาคาร กวป. และผ่านโปรแกรม Zoom โดยมีผู้เข้าประชุมประกอบด้วย กมพ. สวพ.๑ สอพ. และ กวป. เพื่อพิจารณาจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย จำนวน ๑๑ โครงการ ภายใต้แผนงานวิจัยและพัฒนาระบบควบคุม กำกับ การตรวจสอบรับรองคุณภาพและความปลอดภัยสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จของทิศทางที่ ๔ : งานวิจัยเพื่อพัฒนาสนับสนุนการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ ประจำปี ๒๕๖๘ – ๒๕๗๐

การประชุมคณะกรรมการวิจัยและพัฒนากองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ครั้งที่ ๔/๒๕๖๖

เมื่อวันที่ ๑๕ – ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๖ นางพัจนา สุภาสูรย์ รักษาการผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช เป็นประธาน การประชุมคณะกรรมการวิจัยและพัฒนากองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ครั้งที่ ๔/๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมเจรจาธุรกิจ ชั้น ๑ อาคาร กวป. และผ่านโปรแกรม Zoom โดยมีผู้เข้าประชุมประกอบด้วย กมพ. สวพ.๑ สอพ. และ กวป. เพื่อพิจารณาจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย จำนวน ๑๐ โครงการ ภายใต้แผนงานวิจัยและพัฒนาระบบควบคุม กำกับ การตรวจสอบรับรองคุณภาพและความปลอดภัยสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จของทิศทางที่ ๔ : งานวิจัยเพื่อพัฒนาสนับสนุนการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ ประจำปี ๒๕๖๘ – ๒๕๗๐

               

การประชุมคณะกรรมการวิจัยและพัฒนากองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖

เมื่อวันที่ ๒ – ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๖ นางพัจนา สุภาสูรย์ รักษาการผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช เป็นประธาน การประชุมคณะกรรมการวิจัยและพัฒนากองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมเจรจาธุรกิจ ชั้น ๑ อาคาร กวป. โดยมีผู้เข้าประชุมประกอบด้วย กมพ. สวพ.๑ และ กผง. เพื่อพิจารณาจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย จำนวน ๘ โครงการ ภายใต้แผนงานวิจัยและพัฒนาระบบควบคุม กำกับ การตรวจสอบรับรองคุณภาพและความปลอดภัยสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จของทิศทางที่ ๔ : งานวิจัยเพื่อพัฒนาสนับสนุนการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ ประจำปี ๒๕๖๘ – ๒๕๗๐

          

การประชุมคณะกรรมการวิจัยและพัฒนากองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ครั้งที่ ๒/๒๕๖๖

เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๖ นางพัจนา สุภาสูรย์ รักษาการผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช มอบหมาย นายเกรียงไกร สุภโตษะ ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานคุณภาพสินค้าเกษตร เป็นประธาน การประชุมคณะกรรมการวิจัยและพัฒนากองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ครั้งที่ ๒/๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมเจรจาธุรกิจ ชั้น ๑ อาคาร กวป. เพื่อพิจารณาจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย ภายใต้แผนงานวิจัยและพัฒนาระบบควบคุม กำกับ การตรวจสอบรับรองคุณภาพและความปลอดภัยสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จของทิศทางที่ ๔ : งานวิจัยเพื่อพัฒนาสนับสนุนการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ ประจำปี ๒๕๖๘ – ๒๕๗๐

               

การประชุมคณะผู้ตรวจประเมินจากกระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นและกรมวิชาการเกษตร

วันที่ 3 มีนาคม 2566 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร มอบหมายให้นางพัจนา สุภาสูรย์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ รักษาการ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช เป็นประธานประชุมสรุปผลการตรวจประเมินจากการลงพื้นที่ตรวจโครงการการจัดการสารเคมีในผักผลไม้ เพื่อการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น และปิดประชุมระหว่างคณะผู้ตรวจประเมินจากกระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นและกรมวิชาการเกษตร โดยมี Mr.SHIRASAKA Nobukazu Deputy Director, Office of Import Food Safety, MHLW เป็นหัวหน้าคณะ ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมวิชาการเกษตร

          

          

การประชุมคณะทำงานดำเนินงานตามมาตรการป้องกันการใช้แรงงานลิง ในการเก็บเกี่ยวมะพร้าวเพื่อการส่งออก (Monkey Free Plus) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕

เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ นายพิทวัฒน์ อ่อนทองหลาง ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช เป็นประธานในการประชุม คณะทำงานดำเนินงานตามมาตรการป้องกันการใช้แรงงานลิงในการเก็บเกี่ยวมะพร้าวเพื่อการส่งออก (Monkey Free Plus) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานตรวจประเมินแปลงมะพร้าวร่วมกันกับหน่วยงานในพื้นที่ สวพ. ๑-๘ และหน่วยงานเครือข่าย การประชุมคณะทำงานฯ ได้ร่วมกันพิจารณาขั้นตอนการปฏิบัติงานตามมาตรการป้องกันการใช้แรงงานลิง ในกระบวนการผลิตมะพร้าวเพื่อการส่งออก (Monkey Free Plus) แบบฟอร์มสรุปผลการดำเนินงานการตรวจประเมิน Monkey Free Plus รวมถึงการหารือร่วมกันในแนวทางการดำเนินงานในพื้นที่ มีผู้เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ๒๐๑ ตึกกสิกรรม กรมวิชาการเกษตร และผ่านระบบ Zoom cloud Meeting จำนวน ๕๑ คน

                

     

การประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานด้านการรับรองมาตรฐานการผลิตพืช

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565 นายพิทวัฒน์ อ่อนทองหลาง ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช เป็นประธานในการประชุม ชี้แจงแนวทางการถ่ายโอนภารกิจการตรวจรับรอง GAP แนวทางการใช้รหัสรับรอง GAP รูปแบบใหม่ การเปลี่ยนมาตรฐาน มกษ.9001-2564 สำหรับใช้ในการตรวจรับรอง GAP พืช การขึ้นทะเบียนโรงงานผลิตสินค้าพืช DOA ระเบียบหมายเลข 248 ของสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) การตรวจประเมินสวนและโรงคัดบรรจุผลไม้ของ GACC โดยมีบุคลากรจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) และบุคลากรกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืชเข้าร่วมบรรยาย และมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8 และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร ผ่านระบบ Zoom cloud Meeting จำนวน 100 คน

         

          

การประชุมหารือแนวทางการเตรียมการรับรองการถ่ายโอนภาระกิจด้านการตรวจสอบรับรอง(ด้านพืช)

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2565 นายพิทวัฒน์ อ่อนทองหลาง ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ร่วมประชุมหารือแนวทางการเตรียมการรับรองการถ่ายโอนภาระกิจด้านการตรวจสอบรับรอง(ด้านพืช) โดยมีนายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และผู้แทนกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกันหารือถึงแนวทางการถ่ายโอนภารกิจการตรวจสอบรับรอง GAP ของกรมวิชาการเกษตร ปี 2566-2569 การขอแหล่งเงินทุนสนับสนุนค่าตรวจสอบรับรองมาตรฐานสำหรับเกษตรกรตามแผนการถ่ายโอนภารกิจ ปี 2567-2569 และแนวทางการกำกับดูแลการใช้เงินทุน แนวทางการใช้รหัส GAP รูปแบบใหม่ของกรมวิชาการเกษตร และการขยายการรับรองGAP ในรูปแบบการรวมกลุ่มเกษตรกร ภายใต้ สหกรณ์ หรือ วิสาหกิจชุมชน ณ ห้องประชุมสำนักงานอธิบดี กรมวิชาการเกษตร

           

           

การประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตรวจประเมินแปลงมะพร้าว GAP Monkey Free Plus

เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๕ นายพิทวัฒน์ อ่อนทองหลาง ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช เป็นประธานในการประชุม ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตรวจประเมินแปลงมะพร้าว GAP Monkey Free Plus เพื่อสร้างการรับรู้ร่วมกับหน่วยงาน และผู้ปฏิบัติงานตรวจประเมินแหล่งผลิต GAP ในพื้นที่ สวพ. ๑-๘ และหน่วยงานเครือข่าย โดยสาระในการประชุมกล่าวถึง ที่มาของการจัดทำ GAP Monkey Free Plus การดำเนินงานที่ผ่านมา และความคาดหวังในผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน GAP Monkey Free Plus รวมถึงการหารือร่วมกันในแนวทางการดำเนินงานในพื้นที่ และการรายงานผลการดำเนินงาน มีผู้เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ๒๐๑ ตึกกสิกรรม กรมวิชาการเกษตร และผ่านระบบ Zoom cloud Meeting จำนวน ๗๖ คน