กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร ขอแจ้งมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) และมาตรการที่เป็นอุปสรรคทางการค้า (TBT) ของประเทศต่างๆ ที่สำ คัญที่แจ้งผ่านองค์การการค้าโลก (WTO) เดือนสิงหาคม 2567 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว ดังนี้
ผู้เขียน: กปพ
U.S. FDA แจ้งสิ้นสุดการใช้ “UNK” แทนหมายเลขสถานประกอบการในเอกสารนำเข้าสินค้า
กรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งจาก ฝ่ายเกษตร ประจำกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส เกี่ยวกับระเบียบโปรแกรมการตรวจทวนสอบผู้จัดหาสินค้า
ในต่างประเทศ (Foreign Supplier Verification Program: FSVP) และการยื่นหมายเลขสถานประกอบการในเอกสารนำเข้าอาหาร
สหภาพยุโรปปรับแก้กฎระเบียบด้านการเพิ่มการตรวจสอบควบคุมชั่วคราวและการปรับใช้มาตรการฉุกเฉินกับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่สาม
กรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งจาก สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป เกี่ยวกับ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกประกาศ Commission implementing regulation (EU) 2022/913 ว่าด้วย การปรับแก้ไข Commission Implementing regulation (EU) 2019/1793 ในการเพิ่มการตรวจสอบควบคุมชั่วคราว และการปรับใช้มาตรการฉุกเฉินกับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่สาม ภายใต้ Regulation (EU) 2017/625 และ Regulation (EC) No 178/2002
สาธารณรัฐอุซเบกิสถานแจ้งรายการสิ่งควบคุมการนำเข้า
กรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานกำหนดมาตรฐาน ได้มีหนังสือที่ กษ ๒๒๐๓/๑๑๔๔ ลงวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๕ เรื่องสาธารณรัฐอุซเบกิสถานแจ้งรายการสิ่งควบคุมที่จะนำเข้าสาธารณรัฐอุซเบกิสถาน ว่าองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ (National Plant Protection Organization : NPPO) ของสาธารณรัฐอุซเบกิสถาน แจ้งรายการสิ่งควบคุมที่จะนำเข้าสาธารณรัฐอุซเบกิสถาน โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ https://karantin.uz/en/menu/ozbekiston–respublikasiga–olib–kiriladigan–va–uning–tashqarisiga–olib–chiqiladigan–osimliklar–karantini–nazoratidagi–mahsulotlar–royxati ซึ่งจะต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชในการส่งออกรายการสิ่งควบคุมดังกล่าวด้วย
กรมวิชาการเกษตรจึงขอประชาสัมพันธ์แจ้งให้ผู้ประกอบการ รวมถึงเกษตรกร ผู้ผลิตและผู้ส่งออกในประเทศไทยที่ส่งออกสินค้าไปยังสาธารณรัสอุซเบกิสถาน เพื่อเป็นข้อมูลในการผลิต การส่งออกสินค้าเกษตร และป้องกันการเกิดกรณีสินค้าไม่สอดคล้องกับระเบียบนําเข้าต่อไป
คณะกรรมาธิการยุโรปแก้ไขมาตรการสุ่มตรวจเข้มผักจากไทยที่ส่งไปยังอียู
ตามกฎระเบียบ Regulation (EC) No 2019/1793 ว่าด้วยการเพิ่มการตรวจสอบควบคุมชั่วคราวและการปรับใช้มาตรการฉุกเฉินกับสินค้าอาหารและอาหารสัตว์นำเข้าจากประเทศที่สาม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป โดยคณะกรรมาธิการยุโรปได้มีการปรับปรุงแก้ไขมาตรการตรวจสอบควบคุมชั่วคราวและการปรับใช้มาตรการฉุกเฉินกับสินค้าอาหารและอาหารสัตว์นำเข้าจากประเทศที่สามทุกๆ 6 เดือน
กระทรวงเกษตรอินโดนีเซีย เปลี่ยนแปลงแบบฟอร์มการแจ้งเตือนล่วงหน้าทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งจากฝ่ายเกษตร ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา แจ้งว่า กระทรวงเกษตรอินโดนีเซีย เปลี่ยนแปลงแบบฟอร์มการแจ้งเตือนล่วงหน้าทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้ส่งออกหรือผู้แทนจะต้องแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมผ่านระบบออนไลน์ก่อนที่สินค้าจะมาถึงอินโดนีเซีย ดังนี้
๑.รายละเอียดของผู้นำเข้า
๒.หมายเลข วันที่ และสถานที่ออกใบรับรองปลอดศัตรูพืช (PC)
๓.ชื่อห้องปฏิบัติการตรวจสอบระบบความปลอดภัยทางด้านอาหารที่รับการขึ้นทะเบียน
๔.หมายเลขใบรับรองผลการวิเคราะห์คุณภาพสินค้า (COA) หรือใบรับรองสุขอนามัย (HC)
โดยจะเริ่มใช้แบบฟอร์มใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕
อินโดนีเซียประกาศขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการการตรวจสอบระบบความปลอดภัยทางด้านอาหารของไทย ปี 2565
อินโดนีเซียประกาศขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการการตรวจสอบระบบความปลอดภัยทางด้านอาหารของไทย ทั้งสิ้น 8 ราย และบัญชีรายชื่อสินค้าและสารตกค้างที่ต้องถูกตรวจสอบสำหรับพืชอาหารส่งออกจากไทยไปยังอินโดนีเซียที่ได้รับการปรับปรุงล่าสุด มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป โดยมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 3 ป
ร่างกฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการทำลายป่าของสหภาพยุโรป
ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งจากสำนักการเกษตรต่างประเทศ แจ้งเรื่อง ร่างกฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการทำลายป่าของสหภาพยุโรป โดยร่างกฎหมายฯ ที่คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอมีวัตถุประสงค์เพื่อการห้ามจำหน่ายสินค้าที่มีความเสี่ยงต่อการตัดไม้ทำลายป่าในตลาดสหภาพยุโรป (European Union: EU) โดยครอบคลุมสินค้าควบคุมที่มีความเสี่ยงสูงต่อการตัดไม้ทำลายป่า ๖ ประเภท ได้แก่ ถั่วเหลือง เนื้อวัว น้ำมันปาล์ม ไม้ โกโก้ และกาแฟ รวมทั้งผลิตภัณฑ์บางชนิดที่ผลิตจากสินค้า ๖ ประเภทข้างต้น โดยคาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ในปี ๒๕๖๖ และกำหนดให้มีช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน ๑-๒ ปี ภายหลังวันที่มีผลบังคับใช้