การส่งออกผลมังคุดสดไปประเทศไต้หวัน ปี 2566 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการส่งออกผลมังคุดสดไปประเทศไต้หวัน สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ขอประชาสัมพันธ์แจ้งผู้ส่งออกที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครการส่งออกผลมังคุดสดไปไต้หวันในปี 2566 ให้ส่งใบคำร้องแสดงความจำนงเข้าร่วม “โครงการส่งออกผลมังคุดสดไปไต้หวัน” ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2565″

Download : เอกสารประกาศการส่งออกผลมังคุดสดไปไปประเทศไต้หวัน-ปี-2566

Download : ใบคำร้องแสดงความจำนงเข้าร่วม-โครงการส่งออกมังคุดอบไอน้ำไปไต้หวัน

กมพ.คว้ารางวัลคุณภาพการบริการและการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม กรมวิชาการเกษตร (DOA Together Award) ประจำปี 2565 สาขาพัฒนาการบริการ เรื่อง “การพัฒนาการให้บริการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานโรงงานผลิตสินค้าพืช”

กมพ.คว้ารางวัลคุณภาพการบริการและการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม กรมวิชาการเกษตร (DOA Together Award) ประจำปี 2565 สาขาพัฒนาการบริการ เรื่อง “การพัฒนาการให้บริการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานโรงงานผลิตสินค้าพืช”

วันที่ 23 กันยายน 2565 นายพิทวัฒน์ อ่อนทองหลาง ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้า ร่วมแสดงความยินดีกับคณะผู้วิจัยของกลุ่มพัฒนาระบบตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ที่สามารถนำเสนอผลงานวิจัย เรื่อง “การพัฒนาการให้บริการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานโรงงานผลิตสินค้าพืช”และคว้ารางวัลคุณภาพการบริการและการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม กรมวิชาการเกษตร (DOA Together Award) ประจำปี 2565 สาขาพัฒนาการบริการได้ ซึ่งมีการมอบรางวัลโดย นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 ณ โรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์ไซด์ เชียงใหม่ ทั้งนี้ กมพ. จะเสนอผลงานดังกล่าว ส่งประกวดรางวัลเลิศรัฐประจำปี 2566 ต่อไป

       

            

                

       

กำหนดรหัสในการใช้และแสดงเครื่องหมายในการรับรองมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตร ที่เริ่มมีผลบังคับใช้แล้วในปัจจุบัน

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งออกผลไม้ไปจีน ผ่านระบบซูม กับอัครราชทูต ที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) ประจำกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ในการวางแนวปฏิบัติการเปลี่ยนรหัสรับรองรูปแบบใหม่สำหรับสินค้าผลไม้ที่ส่งออกไปจีน ให้สอดคล้องกับประกาศของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เรื่อง กำหนดรหัสในการใช้และแสดงเครื่องหมายในการรับรองมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตร ที่เริ่มมีผลบังคับใช้แล้วในปัจจุบัน

โดยการส่งรายชื่อสวนผลไม้ส่งออกไปจีนรอบต่อไปกำหนดไว้ในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งกรณีแปลงใหม่ที่ยื่นขอรับรองแปลง GAP และแปลงเก่าที่ขอยื่นต่ออายุ GAP ไปแล้วนั้น กรมได้เปลี่ยนรหัสให้เป็นรูปแบบใหม่ทั้งหมดแล้ว ส่วนแปลงเก่าที่ GAP ยังไม่หมดอายุ เกษตรกรสามารถติดต่อมายัง สวพ. ในพื้นที่ใกล้บ้าน เพื่อยื่นขอเปลี่ยนเป็นรหัสรูปแบบใหม่ได้แล้ว ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565
“กรมวิชาการเกษตรจะเดินหน้าปรับรหัสใหม่ตามที่ มกอช. ออกประกาศภายในกรอบเวลาที่กำหนด เนื่องจากกรมเห็นว่าเป็นโอกาสดี ที่จะได้ปรับปรุงระบบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รองรับฤดูส่งออกผลไม้ใหม่ทั้งทุเรียนและลำไยที่จะเริ่ม ก.พ. ปีถัดไป โดยกรมได้วางแผนรับมือไว้แล้ว และจะเร่งประสานกับทูตเกษตรปักกิ่งเพื่อทำความเข้าใจกับฝ่ายจีนโดยเร็วต่อไป เพื่อมิให้เกิดผลกระทบกับการส่งออก
ทั้งนี้ ในโอกาสที่จะปรับรหัสสวนใหม่ ได้มอบนโยบายให้ กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ในการนำเครื่องหมายคิวอาร์โค้ดไปใส่ไว้ในใบรับรองแปลง GAP ใหม่นี้ด้วย เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์ และนอกจากนี้สั่งการให้ทุกด่านตรวจพืชเข้มงวดในการตรวจทุเรียนส่งออก หากพบเจ้าหน้าที่กระทำไม่ถูกต้อง “พิจารณาลงโทษตามกฏระเบียบราชการ” ทันที กรณีเอกชนรายใดมีประวัติว่าเคยพบการเตรียมส่งทุเรียนด้อยคุณภาพ ให้ตรวจสอบ 100% ทั้งต้นทาง และปลายทาง ก่อนออกนอกประเทศ” อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าว

ขอเชิญร่วมประชุมเชิงปฎิบัติการ หัวข้อ “การขนส่งสินค้าทางเรือและโอกาสการค้าผลไม้สดในภาคเหนือของจีน”

ด้วยสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองซิงต่าว ร่วมกับ Shandong Port Group มีกำหนดจัดการประชุมเชิงปฎิบัติการ หัวข้อ “การขนส่งสินค้าทางเรือและโอกาสการค้าผลไม้สดในภาคเหนือของจีน” โดยมีวั๖ถุประสงค์ในการให้ข้อมูลด้านโลจิสติกส์ทางเรือ เพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการไทยในการเข้าถึงตลาดในบริเวณภาคเหนือของจีน โดยเฉพาะบริเวณมณฑลซานตง รวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบาย กฎระเบียบ และแนวทางปฎิบัติของจีนที่จำเป็นในวันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2565 เวลา 13.30 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) ผ่านระบบการปรุชุมออนไลน์ Zoom Meeting ดังปรากฎใน QR Code ดังนั้นจึงขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟังตามวันเวลาดังกล่าว

การประชุมพิจารณาจัดทำแบบบันทึกการตรวจประเมินแหล่งผลิต GAP ปาล์มน้ำมัน

วันที่ 15-16 กันยายน 2565 นายพิทวัฒน์ อ่อนทองหลาง ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้า มอบหมายนายเกรียงไกร สุภโตษะ ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานคุณภาพสินค้าเกษตร และเจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาระบบตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตพืช เข้าร่วมประชุมคณะทำงานพิจารณาจัดทำแบบบันทึกการตรวจประเมินแหล่งผลิต GAP ปาล์มน้ำมัน ณ ห้องประชุมศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันกระบี่ และผ่านระบบ video conference

       

           

การประชุมติดตามและแก้ไขปัญหาการส่งออกผลไม้

วันที่ 14 กันยายน 2565 นายพิทวัฒน์ อ่อนทองหลาง ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ร่วมประชุมกับรองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง และด่านตรวจพืช ของสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร ในการประชุมคณะทำงานติดตามและแก้ไขปัญหาการส่งออกผลไม้ครั้งที่ 2/2565 ณ ห้องประชุม 201 ตึกกสิกรรมและผ่านระบบ Video Conference

           

ประกาศรับฟังความคิดเห็น ต่อร่าง ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง Monkey free plus ที่หน้าเว็บ กมพ. กำหนดปิดรับฟังความคิดเห็น ภายในวัน 24 ส.ค. 65

ประกาศรับฟังความคิดเห็น ต่อร่าง ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง Monkey free plus ที่หน้าเว็บ กมพ. กำหนดปิดรับฟังความคิดเห็น ภายในวัน 24 ส.ค. 65

– ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง มาตรการป้องกันการใช้แรงงานลิง ในกระบวนการผลิตมะพร้าวเพื่อการส่งออก (Monkey Free Plus)

-ร่าง- แบบตรวจประเมินแหล่งผลิตมะพร้าว ตาม มาตรการป้องกันการใช้แรงงานลิงในกระบวนการผลิตมะพร้าวเพื่อการส่งออก (Monkey Free Plus)

– แบบพิจารณาข้อคิดเห็นต่อร่าง ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง มาตรการป้องกันการใช้แรงงานลิงในกระบวนการผลิตมะพร้าวเพื่อการส่งออก (Monkey Free Plus)

การออกใบรับรองสุขอนามัยสำหรับผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในขอบข่ายเป็นสารเจือปนอาหาร (FOOD ADDITIVES) ที่ไม่ได้ผลิตจากพืช หรือมีส่วนประกอบจากพืช

กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ขอแจ้งให้บริษัททราบเกี่ยวผลิตภัณฑ์ ที่อยู่ในขอบข่ายเป็นสารเจือปนอาหาร (FOOD ADDITIVES) ที่ไม่ได้ผลิตจากพืช หรือมีส่วนประกอบจากพืช กรมวิชาการเกษตร ขอสงวนสิทธิ์งดให้บริการออกใบรับรองสุขอนามัย ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕  เป็นต้นไป เนื่องจากได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการออกใบรับรองสุขอนามัยตามคู่มือการให้บริการตรวจสอบและออกใบรับรองคุณภาพสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๓

เอกสารแนบ : Download

การปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตร ยาสัตว์และสารปรุงแต่งอาหารสัตว์ในประเทศญี่ปุ่น (The 248th Conference for Promotion of Food Import Facilitation)

กรมวิชาการเกษตร ได้รับแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตร ยาสัตว์และสารปรุงแต่งอาหารสัตว์ รวม ๙ รายการ รวมทั้งแจ้งกำหนดวันปิดรับข้อมูลเกี่ยวภาชนะบรรจุอาหารที่ทำจากพลาสติกที่มีการผลิต จำหน่าย นำเข้าและใช้มาก่อนวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ และประสงค์จะขึ้นทะเบียนในระบบการควบคุมความปลอดภัยของภาชนะบรรจุอาหาร (Positive List) ตามพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น  รายละเอียดดังที่ปรากฏในเอกสารแนบ ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยสามารถติดต่อขอความร่วมมือกระทรวงสาธารณะสุขฯ ญี่ปุ่น พิจารณาแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างญี่ปุ่นให้สอดคล้องกับปริมาณที่บังคับใช้อยู่ ในประเทศไทย โดยการนำเสนอข้อมูลด้านวิชาการสนับสนุนประกอบการพิจารณาได้ตามความสะดวก (Based on Application) แม้จะประกาศใช้มาตรฐานใหม่ในญี่ปุ่นแล้ว

เอกสารแนบ : The 248th Materials for Promotion of Food Import Facilitation