- เรื่อง การฝึกอบรม “โครงการสารวัตรเกษตรอาสา” จำนวน ๒ รุ่น
ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม
เปิดโอกาสให้เกษตรกรอาสาเข้ามาทำหน้าที่ในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม
มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน ๔๒ ราย
ผลจากการมีส่วนร่วม
จากการฝึกอบรมฯ หน่วยงานได้สร้างเครือข่ายเกษตรกรในการมีส่วนร่วมแจ้งเบาะแสการกระทำผิด และยังเป็นการสร้างสารวัตรเกษตรอาสาให้เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ด้านปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่เกี่ยวข้องประจำศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)
การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน
การฝึกอบรม โครงการสารวัตรเกษตรอาสา ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในหัวข้อที่ได้รับการอบรมเพิ่มขึ้น สามารถนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับหมู่บ้านต่อไป
- การประชุมผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุผลไม้ภาคตะวันออก ฤดูกาลผลิตปี ๒๕๖๖
วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมบุษราคัม องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี
ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม
เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้เข้ามารับทราบนโยบาย ด้านการส่งออกผลไม้ของกรมวิชาการเกษตรและของจังหวัดจันทบุรี เพื่อสร้างการรับรู้และชี้แจงแนวทางการดำเนินการต่างๆโดยผู้ประกอบการร่วมแลกเปลี่ยนและให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม
มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน ๔๒๗ ราย
ผลจากการมีส่วนร่วม
ผู้ประกอบการมีความเข้าใจในหลักเกณฑ์ กฎระเบียบ และขั้นตอนการดำเนินงาน ของเจ้าหน้าที่ในการตรวจติดตาม เฝ้าระวัง และควบคุมการส่งออกทุเรียนไปจีน
การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน
ผู้ประกอบการ สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบ หลักเกณฑ์ที่ถูกต้องและเป็นไป ในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกด้านการส่งออกผลไม้ได้เป็นอย่างดี
การฝึกอบรม หลักสูตร “การพัฒนาทักษะผู้ควบคุมคุณภาพผลผลิตประจำโรงคัดบรรจุผลไม้ทั้งเปลือก ปี ๒๕๖๖ (ทุเรียน)”
ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม
สวพ.๖ ร่วมกับสมาคมผู้ประกอบการส่งออกทุเรียน มังคุด (DMA) และสมาคมการค้าผลไม้ยุคใหม่ (MAFTA) ซึ่งเป็นภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม
ในการจัดฝึกอบรมฯ โดยภาคเอกชนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ของตนเองสรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม
มีผู้เข้าร่วมรับการฝึกอบรม จำนวน ๑๐๐ ราย
ผลจากการมีส่วนร่วม
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพทุเรียนของโรงคัดบรรจุ มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานตรวจสอบคุณภาพทุเรียนสามารถเฝ้าระวังปัญหาศัตรูพืชติดไปกับผลผลิตส่งออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน
ผู้ประกอบการ มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพประจำโรงคัด สามารถลดความเสี่ยงในการตรวจพบศัตรูพืชและช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกด้านการส่งออกผลไม้ได้เป็นอย่างดี