รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแปลงและติดตามการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และโครงการเกษตรอัจฉริยะ (Smart.Climate.Control) สำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร GAP (มกษ.9001-2564)

                   วันพุธที่ 8 พฤษภาคม 2567 ดร. ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร พร้อมด้วย นายพิทวัฒน์ อ่อนทองหลาง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 นายวุฒิพล จันทร์สระคู ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม นายนพดล แดงพวง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรระยอง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแปลงและติดตามการนำงานวิจัย ไปใช้ประโยชน์และโครงการเกษตรอัจฉริยะ (Smart.Climate.Control).สำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร GAP (มกษ.9001-2564) ที่ได้รับรองจากกรมวิชาการเกษตร ณ แปลงของ นางรัฐอรอัญญ์ ชุ่มบุญยืนยง หมู่ที่ 6 ตำบลป่ายุบใน  อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง

                  ในการนี้ ดร. ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การทำการเกษตรอัจฉริยะ (Smart.Farm) เป็นแนวคิดในการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาผสมผสานกับงานด้านการเกษตรเพื่อช่วยในการดำเนินกิจกรรม โดยใช้เครื่องมือในการตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ และความชื้นดิน รวมถึงค่า VPD ภายในทรงพุ่มทุเรียน เพื่อนำมาคาดการณ์และประเมินสถานการณ์การให้น้ำกับทุเรียน เพื่อเพิ่มอัตราการเติบโต โดยใช้คอมพิวเตอร์ เซ็นเซอร์ เครื่องมือสื่อสาร การรับรู้ระยะไกล หุ่นยนต์ ที่มีความแม่นยำสูงเข้ามาช่วยในการทำงาน ช่วยในเรื่องบันทึกหรือแปลผลข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมหรือแก้ไขปัญหาลดความเสี่ยงให้กับเกษตรกร สร้างการรับรู้ข้อมูลต่างๆ อย่างเป็นระบบ การจัดการข้อมูลด้วยอุปกรณ์ตรวจวัด ซึ่งทำงานกึ่งอัตโนมัติหรืออัตโนมัติเต็มรูปแบบ โดยโครงการนี้ใช้ในแปลงปลูกทุเรียน และจะขยายผลสู่แปลงเกษตรกร  รายอื่นต่อไป