การมอบนโยบายขับเคลื่อนงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2567 นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบนโยบายขับเคลื่อนงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ ห้องประชุมกรมชลประทาน โดยในโอกาสนี้ นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร พร้อมด้วยผู้บริหารในหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วมรับมอบนโยบาย

การสัมมนาหลักสูตร “จัดทำแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาพืชเศรษฐกิจใหม่และการจัดการก๊าซเรือนกระจกสำหรับภาคเกษตรตามแผนปฏิบัติราชการในระยะ 5 ปี ของยุทธศาสตร์ กรมวิชาการเกษตร”

เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการสัมมนาหลักสูตร “จัดทำแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาพืชเศรษฐกิจใหม่และการจัดการก๊าซเรือนกระจกสำหรับภาคเกษตร ตามแผนปฏิบัติราชการในระยะ 5 ปีของยุทธศาสตร์ กรมวิชาการเกษตร” ณ โรงแรมเอซ ออฟ หัวหิน รีสอร์ท อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรมวิชาการเกษตร ปีงบประมาณ 2567 โดยมี …

ตรวจเยี่ยมห้องปฏิบัติการผลิตชีวภัณฑ์และปุ๋ยชีวภาพ ของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี

เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2567 ดร.วิลาวัณย์ ใคร่ครวญ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ตรวจเยี่ยมห้องปฏิบัติการผลิตชีวภัณฑ์และปุ๋ยชีวภาพ ของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี โดยนายขจรวิทย์ พันธุ์ยางน้อย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 มอบหมายให้นางโสภิตา สมคิด ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการผลิตพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง) และนางสาวมัตติกา ทองรส นักวิชาการเกษตรชำนาญการ …

กรมวิชาการเกษตร เดินหน้าสร้างแปลงเรียนรู้การผลิตทุเรียนคุณภาพ หนุนใช้เทคโนโลยีของกรมสร้างรายได้เกือบ 3 หมื่นบาท/ไร่

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยถึงการขับเคลื่อนการดำเนินงานของ กรมวิชาการเกษตรภายในโครงการพัฒนาแปลงเรียนรู้การผลิตทุเรียนอย่างยั่งยืน ณ ศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งมีเป้าหมายพัฒนาแปลงเรียนรู้การผลิตทุเรียนโดยใช้เทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร ขยายผลองค์ความรู้สู่เกษตรกรในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการผลิต โดยเกษตรกรนำองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง โดยเฉพาะพื้นที่ประสบปัญหาดินขาดความอุดมสมบูรณ์ มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินอยู่ในระดับไม่ถึงเกณฑ์ การจัดการธาตุอาหารที่ไม่เหมาะสม และการใช้สารเคมีไม่ถูกต้อง ทำให้กระบวนการผลิตทุเรียนไม่มีประสิทธิภาพ การระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ต้นทุเรียนยืนต้นตาย ส่งผลให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นทุกปี นายสุภาพ สมบัวคู เจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญงาน สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร (สวพ.6) …

การประชุมหารือด้านสุขอนามัยพืชในการผลักดันการส่งออกผลไม้ฉายรังสีของไทยไปยังสหรัฐอเมริกา และหารือความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม Genome Editing (Ged) และการจัดการก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนเครดิตภาคเกษตร

วันที่ 23 สิงหาคม 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ประชุมเตรียมการร่วมกับ Mr. Marc Gilkey, South Asia-Pacific Regional Manager, USDA, Animal and Plant Health Inspection Service (APHIS), U.S. Embassy-Bangkok, …

พิธีเปิดงานเสวนา “เครือข่ายฟิวเจอร์เอิร์ธประเทศไทย พ.ศ.2567”

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2567 นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้ ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานเสวนา “เครือข่ายฟิวเจอร์เอิร์ธประเทศไทย พ.ศ.2567” จัดโดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหารสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ร่วมกับ Future Earth (Thailand) ภายใต้โครงการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศร่วมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อการจัดการด้านการเกษตรและแก้ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของสำนักงานสภานโยบายการอุดรศึกษา วิทยาศาสตร์ …

ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ชวนบริโภคลำไย ผลไม้ดีเมืองไทยภาคเหนือ” โครงการส่งเสริมตลาดผู้บริโภคผลไม้ไทย ประจำปี 2567

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2567 นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ชวนบริโภคลำไย ผลไม้ดีเมืองไทยภาคเหนือ” โครงการส่งเสริมตลาดผู้บริโภคผลไม้ไทย ประจำปี 2567 เพื่อให้เกษตรกรมีพื้นที่ สัมพันธ์ผลผลิตของตนเองโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ในระหว่างวันที่ 19 – 30 สิงหาคม 2567 เพื่อสร้างช่องทางการจำหน่ายผลไม้ และช่วยกระจายผลผลิตผลไม้ในช่วงผลผลิตออกมากในฤดูกาล ตลอดจนเป็นการประชาสัมพันธ์ผลผลิตลำไยสดและแปรรูปของเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน …

เข้าร่วมพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2567

เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2567 โอกาสนี้ ดร.วิลาวัณย์ ใคร่ครวญ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้รับมอบหมายจาก นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ให้เข้าร่วมพิธี ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง …

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เฝ้าฯ รับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดงาน “สีสรรพรรณไม้ เทิดไท้บรมราชินีนาถ” ครั้งที่ 16 “สืบสาน รักษา และต่อยอด” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 – 14 สิงหาคม 2567

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร พร้อมด้วยผู้บริหารกรมวิชาการเกษตร เฝ้าฯ รับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดงาน “สีสรรพรรณไม้ เทิดไท้บรมราชินีนาถ” ครั้งที่ 16 “สืบสาน รักษา และต่อยอด” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 – 14 สิงหาคม …

กรมวิชาการเกษตรหนุนผลิตฟักบัตเตอร์นัทอินทรีย์ในโรงเรือน รุดถ่ายทอดเทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพผลผลิต ชูเป็นพืชอายุเก็บเกี่ยวสั้น สร้างรายได้ให้เกษตรกรตลอดทั้งปี

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่าปัจจุบันการผลิตพืชผักอินทรีย์ในโรงเรือนได้รับความนิยมมากขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากมีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตลดความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก และตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้นศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปราจีนบุรี  กรมวิชาการเกษตรจึงได้จัดฝึกอบรม “เทคโนโลยีการผลิตฟักบัตเตอร์นัทอินทรีย์ในโรงเรือน” ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชผักอินทรีย์ในโรงเรือนพื้นที่ภาคตะวันออกเพื่อดำเนินการศึกษาการป้องกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชในโรงเรือนฟักบัตเตอร์นัทอินทรีย์ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าปลอดสารเคมีมากขึ้น โดยโครงการนี้เน้นการใช้เทคโนโลยีการเพาะปลูกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการจัดการโรงเรือนที่มีประสิทธิภาพ นางสาวนงนุช ช่างสี นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปราจีนบุรีกล่าวว่า  เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสระแก้วนิยมปลูกเมล่อนแต่ประสบปัญหาทั้งด้านผลผลิตและราคาศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปราจีนบุรี จึงเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา ส่งเสริมและอบรมพัฒนาการผลิตฟักบัตเตอร์นัทอินทรีย์ในโรงเรือนพื้นที่ภาคตะวันออกที่ให้ผลผลิตและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร  โดยฟักบัตเอร์นัท (Butternut Squash) หรือฟักน้ำเต้า เป็นผลไม้กลุ่มสควอช เป็นฟักชนิดหนึ่งที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นรายได้เสริม เป็นผักที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งฟักบัตเตอร์นัทไม่เพียงแต่มีรสชาติหวานนุ่ม และเนื้อสัมผัสที่ละเอียดอ่อนเท่านั้น แต่ยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และเป็นแหล่งของวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ฟักบัตเตอร์นัทเป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น โดยใช้เวลาเพียง 75-100 …