กำหนดการรับพันธุ์ไม้(ทุเรียน) ประจำปี 2564 ครั้งที่ 1

ขอประชาสัมพันธ์การมารับพันธุ์ไม้ ประจำปี 2564 (รอบที่1)
ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ต.ตะปอน อ.ขลุง จ.จันทบุรี โทร 039-397-030 โทรสาร.039-397-236
รายชื่อผู้ที่จองต้นพันธุ์ไม้ รอบวันที่ 8-19 กุมภาพันธ์ 2564 สามารถมารับต้นไม้ได้ในวันและเวลาดังนี้
( สอบถาม/ขอเลื่อนการเข้ารับต้นไม้ได้ ที่เบอร์ 039-397-030 ในวันและเวลาราชการ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

กำหนดการจำหน่ายพันธุ์ไม้ ประจำปี 2564 ครั้งที่ 1

***ประชาสัมพันธ์ การจำหน่ายพันธุ์ไม้ ประจำปี 2564 ครั้งที่ 1 ***
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม โทร 039-397030, 039397146

ขั้นตอน
1. โทรสั่งจอง หมายเลขมือถือ 065-0056802
ระหว่างวันที่ 8-19 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.00-12.00 น. และ 13.00-15.00 น. (ยกเว้น วันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์)
2. แจ้งข้อมูลผู้จอง (สิทธิ์ 25 ต้น/1 ท่าน)
3. รับต้นพันธุ์ 22 กุมภาพันธ์ – 22 มีนาคม 2564
3.1 ในวันที่รับต้นพันธุ์ (ติดต่อที่อาคารอำนวยการ)
3.2 กรอกข้อมูลตามแบบฟอร์ม /แนบบัตรประชาชน
3.3 ชำระเงินที่ห้องการเงิน
      – ทุเรียน ต้นละ 60 บาท
3.4 รับต้นพันธุ์ที่เรือนเพาะชำ
ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี 63 ม.6 ต.ตะปอน อ.ขลุง จ.จันทบุรี 22110

******************************

แจ้งข่าว!!

บุคลากรศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ไม่ใช่ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา-19

กรณี​มีข้าราชการ พนักงานราชการของศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี จำนวน​ 19 คน​ ปฏิบัติงานที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี จำนวน 15 คน และปฏิบัติงานที่ห้วยสะพานหิน จำนวน 4 คน ที่มีความเสี่ยง​และความเสี่ยงน้อยในการสัมผัสกลุ่มเสี่ยง​ต่อโคโรนาไวรัส​ ​ และที่ทางกรมวิชาการเกษตรให้กักตัวเพื่อสังเกตอาการณ์​ 14​ วัน​ ตั้งแต่วันที่​ 24​ มี.ค.63 – 6 เม.ย.63​ ซึ่งครบกำหนดแล้วนั้น ทุกคนได้เข้าตรวจและขอรายงานผลการติดตามอาการ​ = #ทุกคนปกติดี​ และพร้อมปฏิบัติงาน​และสามารถดำรงชีวิตตามปกติ หมอจึงออกหนังสือรับรองกักตัวเองครบ ​14 วัน​ ไปยังหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อรายงานต่อผู้บังคับบัญชา​ของพนักงานทั้ง​​ 19 คน

ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี จึงขอชี้แจงมาเพื่อทราบว่า ​#ผู้กักตัวทั้ง19คนไม่ใช่ผู้ติดเชื้อและไม่ใช่ผู้ป่วยโรคโควิด

จึงเรียนมาเพื่อทราบและสร้างความเข้าใจร่วมกัน

เตือนภัยโรคระบาดของทุเรียนช่วงสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง

การป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน

เนื่องจากการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนยังคงมีการระบาดอยู่อย่างต่อเนื่อง และนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป การที่มีฝนตกชุกติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จนบางครั้งไม่สามารถป้องกันกำจัดโรคได้ แนวทางที่จะบรรเทาความรุนแรง และลดการลุกลามของโรคดังกล่าวได้ คงต้องรีบทำการรักษาทันที หรือเร็วที่สุด เมื่อสำรวจพบอาการของโรครากเน่าโคนเน่า

โรคที่พบร่วมกับโรครากเน่าโคนเน่า

เชื้อราที่พบร่วมกับเชื้อราสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่า ได้แก่ เชื้อราฟูซาเรียม (Fusarium spp.) การป้องกันกำจัดที่แนะนำ ได้แก่ หากพบโรคให้ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลายนอกแปลง กรณีโรคเข้าทำลายไม่รุนแรง ให้ใช้ เชื้อราไตรโคเดอร์มา นำหัวเชื้อมาเพิ่มปริมาณในข้าวสุก จากนั้นหว่านส่วนผสมเชื้อสดให้ทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่มจนถึงรอบชายพุ่ม อัตรา 50-100 กรัมต่อตารางเมตร หรือบริเวณโคนต้นพืชที่เกิดโรค อัตรา 10-20 กรัมต่อต้น หรือ เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทีลิส ใช้เข็มฉีดยาใส่สารละลายของเชื้อ อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 มิลลิลิตร ฉีดเข้าในโคนต้นทุเรียน ต้นละ 3 จุด 1 ครั้ง จากนั้นลอกเปลือกต้นทุเรียนบริเวณที่เป็นโรคออกแล้วทาด้วยผงเชื้อ อัตรา 1,000 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร โดยจะต้องผสมสารจับใบ อัตรา 5 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร และรดดินบริเวณโคนต้นด้วยผงเชื้อ อัตรา 200 กรัมต่อน้ำ 2 ลิตรต่อต้น โดยลอกเปลือกและรดดินซ้ำ รวม 4 ครั้ง กรณีโรคเข้าทำลายรุนแรง ให้ถากหรือขูดผิวเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออก ทาแผลด้วย สารฟอสเอทธิล อะลูมินั่ม (fosetyl aluminium) 80 เปอร์เซ็นต์ ดับบลิวพี อัตรา 80-100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ สารเมทาแลกซิล (metalaxyl) 25 เปอร์เซ็นต์ ดับบลิวพี อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ สารเมทาแลกซิล (metalaxyl) 25 เปอร์เซ็นต์ ดับบลิวพี +แมนโคเซบ (mancozeb) 65 เปอร์เซ็นต์ ดับบลิวพี อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทุก 7 วัน จนกว่าแผลจะแห้ง

วิธีการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน

1. จัดการระบายน้ำออกจากแปลง ให้เร็วที่สุด และในระหว่างที่ดินยังมีความชื้นสูงอยู่ หลีกเลี่ยงการเดินบริเวณใต้ทรงพุ่ม เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มช่องทางให้ระบบรากเสียหาย และโรคเข้าทำลายต้นทุเรียนได้มากขึ้น
2. หลังจากน้ำลด และดินเริ่มแห้ง กระตุ้นให้ทุเรียนสร้างรากฝอย และกำจัดเชื้อในดิน ทำได้โดยการใช้วัสดุล่อราก เช่น ดิน เศษหญ้าแห้ง ร่วมกับการใส่ปุ๋ยคอก และรดทับด้วยปุ๋ยเกล็ด ร่วมกับ ฮิวมิค แอซิด + สารเคมีกำจัดเชื้อสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่า หรือเชื้อราไตรโคเดอร์มา จำนวน 3-4 ครั้ง ห่างกัน 7-14 วัน สามารถทำให้ทุเรียนสร้างรากฝอยเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับอาจจะมีการแตกใบอ่อนออกมาได้ในเวลาใกล้เคียงกัน
3. การกระตุ้นให้มีการแตกใบอ่อน และรักษาใบอ่อน สามารถทำได้โดย ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ ร่วมกับปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 1:1 ทางดิน และพ่นด้วยสารสกัดจากสาหร่ายและปุ๋ยเกล็ด 1-2 ครั้ง ร่วมกับอาหารเสริมทางด่วน จะสามารถกระตุ้นให้ทุเรียนแตกใบอ่อนได้
4. การกระตุ้นให้ทุเรียนสร้างภูมิคุ้มกันโรครากเน่าโคนเน่า โดยการฝังเข็มด้วย ฟอสฟอริก แอซิด ผสมกับน้ำสะอาด อัตราส่วน 1:1 ปริมาณ 30 มิลลิลิตรต่อเข็ม จำนวน 2-3 เข็ม ต่อต้น ประมาณ 1-2 ครั้งต่อปี คือหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 ครั้ง และก่อนทุเรียนออกดอก 1 ครั้ง ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นทุเรียน

: มาลัยพร นวก.ชำนาญการ; ศวส.จันทบุรี