โครงสร้างหน้าที่ฝ่ายบริหารทั่วไป
หน้าที่ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารทั่วไป
1) ปฏิบัติงานด้านงานธุรการ งานสารบรรณรับ – ส่ง บริการ ค้นหา จัดเก็บ รวบรวมข้อมูล ร่าง – พิมพ์หนังสือและเอกสารราชการ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนดในการบริหารสำนักงาน
2) กำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ งานการเงินและบัญชี การจัดทำบัญชี การเบิกจ่ายเงิน การควบคุมงบประมาณ การจัดทำรายงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนด
3) ศึกษา วิเคราะห์ กำกับ ดูแล การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของสำนัก เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง และบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด
4) ศึกษา กำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ งานพัสดุ การจัดซื้อ จัดจ้าง การบริหารสัญญา การจัดทำบัญชีพัสดุ การจัดทำทะเบียน การเบิกจ่าย การจัดหาคลังพัสดุ การจำหน่ายและการบริหารสินทรัพย์ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐาน และถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
5) ศึกษา วิเคราะห์ วางแผน กำกับ ดูแล การบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนัก การวิเคราะห์โครงสร้างและอัตรากำลัง การสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง ย้าย โอน ลาออก บำเหน็จบำนาญ การพิจารณา ความดีความชอบ การพัฒนาบุคลากร การจัดการความรู้ การเสริมสร้างวินัยและระบบคุณธรรม เพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม
6) วางแผน กำกับ ดูแล การปรับปรุงสถานที่ และสิ่งแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน เพื่อให้สถานที่และสิ่งแวดล้อมในการทำงานมีความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะและมีบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
7) กำกับ ดูแล การจัดประชุม งานรับรองและงานพิธีการโดยมีการเตรียมเอกสาร การนำเสนอ การจดบันทึก ตรวจสอบและเรียบเรียงรายงานต่างๆ และติดตามผลการปฏิบัติงาน ตามมติที่ประชุม เพื่อให้การบริหารการประชุมหรืองานพิธีการต่างๆ นั้น บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของหน่วยงาน
9) ให้คำปรึกษา แนะนำ ถ่ายทอดความรู้ การบริหารงานทั่วไปให้แก่บุคลากรในสำนัก เพื่อให้มีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ
10) ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
1. งานธุรการ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
1) ดำเนินการงานสารบรรณ รับ – ส่ง ร่าง จัดพิมพ์หนังสือและเอกสารราชการ บริการ ค้นหา จัดเก็บ รวบรวมข้อมูล เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติและมาตรฐานที่กำหนด สะดวกต่อการค้นหา และเป็นหลักฐานมูลที่ตรวจสอบได้
2) ตรวจสอบ ดูแล การจัดเตรียมเอกสารการประชุม งานรับรอง งานพิธีการ โดยมีการเตรียมเอกสารในการนำเสนอ เรียบเรียงรายงานต่างๆและติดตามผลการปฏิบัติงาน ตามมติที่ประชุม เพื่อให้การจัดประชุมหรืองานพิธีการต่างๆ นั้น เป็นไปด้วยความสะดวก เรียบร้อย บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด
3) จัดเวรยามรักษาการณ์ของสำนักฯ
4) ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
2. งานอัตรากำลัง
หน้าที่ความรับผิดชอบ
1) ศึกษา วิเคราะห์ โครงสร้างและอัตรากำลังของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และลูกจ้างชั่วคราว เพื่อให้มีอัตรากำลังที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจของสำนักฯ
2) ดำเนินการตรวจสอบ กลั่นกรองเบื้องต้นในการขอแต่งตั้ง ย้าย โอน ลาออก บำเหน็จบำนาญของบุคลากร เพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3) ดำเนินการเลือกสรรพนักงานราชการ การจัดทำสัญญาจ้าง คำสั่งจ้าง การเลิกจ้าง และการลาออก เพื่อให้การบริหารพนักงานราชการมีประสิทธิภาพ
4) ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงาน การพิจารณาความดีความชอบในการเลื่อนเงินเดือนและค่าจ้างของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และเลื่อนค่าตอบแทนของพนักงานราชการ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมโปร่งใส
5) จัดทำสรุปใบลาพักผ่อน/ลาป่วย ของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ
3. งานการเงินและบัญชี/งานแผนงานและงบประมาณ
หน้าที่ความรับผิดชอบ
1) ศึกษา วิเคราะห์ กระบวนการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี เพื่อจัดวางระบบการปฏิบัติงาน ให้เป็นมาตรฐาน
2) ควบคุม ตรวจสอบ การจัดทำและจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานภายในสำนักฯ เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณตรงกับความจำเป็นและวัตถุประสงค์
3) ควบคุม ดำเนินการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี เพื่อให้การรับจ่ายเงิน มีประสิทธิภาพถูกต้องตามระเบียบ
4) ดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินผล ติดตามผลการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้การใช้จ่ายเงิน มีประสิทธิภาพ เป็นแนวทางในการปรับปรุงและการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ
5) ศึกษา วิเคราะห์ รายงานเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับงานบัญชีการเงิน ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
6) ตรวจสอบและจัดทำใบสำคัญการเบิกเงิน/สัญญายืมเงิน/ใบสำคัญส่งใช้เงินยืม
7) ตรวจสอบการบันทึกรายการงบประมาณ ในระบบการบริหารเงินงบประมาณและเงินไว้เบิกเหลื่อมปี เพื่อให้การใช้เงินเป็นไปตามแผนงาน/โครงการ ไม่เกินกว่าวงเงินที่ได้รับอนุมัติ และใช้เป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหาร ในการติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
8) ควบคุม ตรวจสอบ รายงานการเงินเกี่ยวกับการบริหารงานบัญชีการเงินภาครัฐ ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) เพื่อให้รายงานการเงินและบัญชี มีความถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กรมบัญชีกลางกำหนด
9) ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ถ่ายทอดความรู้และแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้แก่เจ้าหน้าที่ในสายงาน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
4. งานพัสดุ/ครุภัณฑ์
หน้าที่ความรับผิดชอบ
1) ดำเนินการจัดหาพัสดุโดยวิธีต่างๆ เพื่อให้ได้พัสดุเป็นไปตามแผนการจัดซื้อจัดจ้าง และถูกต้องตามระเบียบ กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
2) ดำเนินการจัดทำบัญชีพัสดุ การจัดทำทะเบียนการเบิกจ่าย การควบคุมพัสดุ การจัดทำรายงานประจำปี การตรวจสอบรายงานประจำปี เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการบริหารงานพัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ
3) ดำเนินการจัดการด้านคลังพัสดุ เช่น การลงทะเบียน การรับ – จ่าย การเก็บรักษา เพื่อให้การบริหารงานพัสดุมีประสิทธิภาพ
4) ดำเนินการจัดทำทะเบียนคุมสินทรัพย์ทุกประเภท เพื่อใช้ในการควบคุมและตรวจสอบรายการทรัพย์สิน
5) ดำเนินการบริหารสินทรัพย์ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการคำนวณค่าเสื่อมราคา และต้นทุนผลผลิต
6) ตรวจสอบ จัดทำข้อผูกพันและดำเนินการบริหารสัญญา เพื่อให้การบริหารสัญญาถูกต้อง ครบถ้วนตามระยะเวลาเป็นไปตามข้อกำหนดเงื่อนไขของสัญญาและใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง
7) ดำเนินการจำหน่ายพัสดุที่หมดความจำเป็น หมดอายุการใช้งานและที่เสื่อมสภาพเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบ ลดภาระการใช้จ่ายในการเก็บรักษาและสามารถวางแผนจัดหาพัสดุทดแทน
5. งานยานพาหนะ
หน้าที่ความรับผิดชอบ
1) ควบคุม ดูแล และกำกับการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถยนต์ให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของงานยานพาหนะ
2) จัดรถยนต์ราชการตามใบคำขอใช้รถ และจัดคิวการออกให้บริการของพนักงานขับรถยนต์ในวันทำการ
และวันหยุดราชการ
3) ควบคุม ดูแล ให้พนักงานขับรถยนต์ตรวจเช็คสภาพความพร้อมใช้ของรถยนต์และบำรุงรักษาสภาพรถตามระยะเวลา
4) ให้บริการการรับ-ส่งบุคลากร อย่างปลอดภัยและทันกำหนดเวลา
5) ควบคุม ดูแล และกำกับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานขับรถยนต์ให้มีประสิทธิภาพ
6) บันทึกการใช้รถยนต์ประจำวัน/ประจำเดือน
7) บันทึกการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงประจำวัน/ประจำเดือน
8) ตรวจเช็คสภาพรถยนต์ให้พร้อมใช้งาน
9) ล้างทำความสะอาดรถยนต์
10) นำรถยนต์ไปเติมน้ำมันเชื้อเพลิงที่สถานีบริการน้ำมัน
11) จัดทำรายงานบันทึกการใช้รถยนต์และน้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ราชการทุกคันประจำเดือน
6. งานอาคารและสถานที่
หน้าที่ความรับผิดชอบ
1) ดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบริเวณภายในและภายนอกสำนักฯ
2) ออกแบบและปรับปรุงภูมิทัศน์ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และการใช้ประโยชน์
3) ซ่อมบำรุงอาคารที่มีอยู่เดิมให้อยู่ในสภาพใช้งานได้อย่างปลอดภัย สภาพสวยงาม น่าอยู่ น่าดู น่าใช้
4) ตรวจสอบบำรุงรักษาและซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภคให้สามารถใช้งานได้และงานซ่อมบำรุงทั่วไป